กิเลสและกรรมในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 63
หน้าที่ 63 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจลักษณะและอำนาจของกิเลสสามประเภท ได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อจิตใจและการกระทำของบุคคล โลภะเป็นความปรารถนาที่ไม่มีที่สิ้นสุด โทสะเป็นความโกรธและความเกลียดชัง ขณะที่โมหะเป็นความหลงลืมต่อความจริง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงกรรมที่มีเจตนาซึ่งเป็นการกระทำที่เกิดจากความคิด ยังรวมถึงหลักธรรมที่ช่วยให้บุคคลหลุดพ้นจากกิเลสเหล่านี้เพื่อเข้าสู่เส้นทางการดับทุกข์ได้

หัวข้อประเด็น

-กิเลสตระกูลโลภะ
-กิเลสตระกูลโทสะ
-กิเลสตระกูลโมหะ
-ความหมายของกรรม
-เจตนาและการกระทำ
-หลักธรรมในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(1) กิเลสตระกูลโลภะ คำว่า โลภะ แปลว่า ปรารถนา ความอยาก และความต้องการ ได้แก่ กิเลสจำพวกที่ ทำให้จิตหิว อยากได้ของคนอื่น ผู้ที่ถูกโลภะครอบงำ แม้จะเป็นคนมั่งมีอยู่ดีกินดี ก็ยังรู้สึกว่าหิว ไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักเต็ม เปรียบเหมือนไฟไม่อิ่มด้วยเชื้อ มหาสมุทรไม่เต็มด้วยน้ำฉันนั้น โลภะมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกคือ “โลภะนั้นเรียกว่า “ราคะ” ด้วยอำนาจความยินดี เรียกว่า “นันท์” ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เรียกว่า “ตัณหา” ด้วยอำนาจความอยาก” (2) กิเลสตระกูลโทสะ คำว่า โทสะ แปลว่า ความโกรธ ความขัดเคือง ความขุ่นเคือง ความแค้น ความพลุ่งพล่าน ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย ความดุร้าย ความอาฆาต ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต โทสะเป็นกิเลสที่ทำให้จิตร้อน อยากล้างผลาญ อยากทำความพินาศให้แก่คนอื่น สิ่งอื่น กิเลสพวกนี้เมื่อ เกิดขึ้นแล้วทำให้จิตเดือดพล่าน (3) กิเลสตระกูลโมหะ คำว่า โมหะ แปลว่า ความไม่รู้ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งความหลงและความงมงาย ได้แก่ ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่พิจารณา ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความลุ่มหลง ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในหนทางดับทุกข์ อวิชชา ดังนั้น “โมหะ” จึงหมายถึง “อวิชชา” ด้วย โดยอวิชชานั้นเป็นมูลรากของกิเลสทั้งปวงดังที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลตัดความผูกโกรธด้วย... และความโลภอันชั่วช้าด้วย ถอนตัณหา พร้อมทั้งอวิชชาอันเป็นมูลรากเสียได้ อย่างนี้จึงออกไปจากทุกข์ได้” 2) ความหมายและประเภทของกรรม กรรม หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดังพุทธพจน์ที่ว่า “เจตนาห์ ภิกขเว กมฺม วทามิ เจตยิตฺวา กมฺม กโรติ กาเยน วาจาย มนสา” หมายความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็น กรรม บุคคลคิดแล้ว จึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ 7 เจตนา หมายถึง สภาพความนึกคิดที่มีความจงใจเป็นสิ่งประกอบสำคัญ คือ ต้องคิดไว้ก่อน - สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย สคาถวรรค, อรรถกถาจตุจักกสูตร, มก. เล่ม 24 หน้า 147. สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย นิทานวรรค, อรรถกถาอัตถิราคสูตร, มก. เล่ม 26 หน้า 330. * พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี มก. เล่ม 76 ข้อ 691 หน้า 385-386. สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค มก. เล่ม 28 หน้า 488. *พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี มก. เล่ม 76 ข้อ 691 หน้า 385-386. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, นันทิวิสาลสูตร, มก. เล่ม 24 ข้อ 302 หน้า 386. สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกายสฺส ปญฺจกนิปาโต ภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ, เล่ม 22 ข้อ 334 หน้า 464. บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 53
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More