ความทุกข์และความสุขในชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 73
หน้าที่ 73 / 270

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความทุกข์ในชีวิตและความสุขที่แท้จริงตามหลักพระพุทธศาสนา โดยชี้ให้เห็นว่าทุกข์เป็นสภาพที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ซึ่งแม้จะมีความสุขชั่วคราว แต่ท้ายที่สุดแล้วทุกคนต้องกลับมาประสบกับความทุกข์อีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบความทุกข์ในชีวิตประจำวันกับความทุกข์ในอบายภูมิ รวมถึงการเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์เข้ากับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-ความทุกข์ในชีวิต
-ความสุขที่แท้จริง
-วิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนา
-ทฤษฎีสัมพัทธภาพ
-ผลงานของไอน์สไตน์
-นรกและอบายภูมิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คนสามัญ บอกว่า น้ำประกอบด้วย HO คือ ก๊าซไฮโดรเจน 2 และ ก๊าซออกซิเจน 1 เด็กนักเรียนระดับมัธยมท่อง จำกันได้ทุกคนและเชื่อตามทั้งๆ ที่โดยส่วนใหญ่แล้วไม่เคยเห็นเลยว่า H O นั้นมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร นอกจากนี้การพิสูจน์ความจริงของวิทยาศาสตร์กลายเป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จะพิสูจน์ได้ เช่น ไม่สามารถเข้าถึงคณิตศาสตร์ชั้นสูง เป็นต้น แม้ แต่ไอน์สไตน์เองก็ยังเหนื่อยกับการศึกษาคณิตศาสตร์ชั้นสูงเพื่อนำมาอธิบายทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไอน์สไตน์เคยกล่าวไว้เมื่อครั้งที่เขาประกาศทฤษฎีสัมพัทธภาพออกมาไม่นานว่า โลกมีคนเพียง 12 คนเท่านั้นที่เข้าใจทฤษฎีสัมพัทธภาพของเขา ในปัจจุบันแม้ทฤษฎีนี้จะมีอายุเกือบ 100 ปี แล้ว แต่ก็ยังเป็นเพียงความเชื่อของชาวโลกโดยมากอยู่นั่นเอง ทั่วทั้ง ด้วยเหตุนี้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เรื่องเชื้อโรคก็ดี น้ำประกอบด้วย HO ก็ดี และ ทฤษฎีสัม พัทธภาพก็ดี จึงอยู่ในฐานะเดียวกับเรื่องนรกสวรรค์ในพระพุทธศาสนาคือ แม้จะเป็นความจริงที่สามารถ พิสูจน์ได้ แต่มีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้ทดลองพิสูจน์ด้วยวิธีการที่ถูกต้องจนประจักษ์ด้วยตนเองว่าสิ่งเหล่า นี้มีอยู่จริง 3.3.6 ทุกข์ในสังสารวัฏและสรณะที่ช่วยให้พ้นทุกข์ ได้กล่าวมาพอสมควรแล้วว่าการเวียนว่ายตายเกิดนั้นเป็นทุกข์ บางท่านที่มองโลกในแง่ดีอาจจะ บอกว่าชีวิตของตนเป็นสุข จริงๆ แล้วความสุขที่แท้จริงของปุถุชนไม่มี มีแต่ความรู้สึกสบายขึ้นบ้าง ในเมื่อ ความทุกข์ได้รับการบรรเทาลงชั่วคราว เช่น เราพูดกันว่าได้รับประทานอาหารอร่อย ๆ เป็นความสุข ความ จริงแล้วเป็นเพียงแค่ความสบายที่เกิดขึ้น ในเมื่อความหิวได้รับการบรรเทาลงชั่วคราวเท่านั้น แต่ในไม่ช้า ความหิวก็กลับมาทรมานเราอีก ต้องกินอาหารแก้กันอีก และต้องแก้กันตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่เคยมีใคร เอาชนะความหิวได้เลยแม้จะร่ำรวยก็ตาม ทุกสิ่งที่เรามีไว้นั้นไม่ใช่เพื่อบำรุงความสุขแต่เพื่อแก้ทุกข์ ทุกอย่างที่เราทำนั้นไม่ใช่เพื่อสุขแต่เพื่อ แก้ทุกข์ มนุษย์ทั้งโลกจึงเป็นคนป่วยด้วยโรคทุกข์ โลกทั้งโลกเป็นโรงพยาบาลใหญ่ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็น สมบัติของมนุษย์เป็นยาแก้โรคทุกข์ และหากเรายังไม่หมดกิเลสก็ยังต้องทนทุกข์อยู่กับเวียนว่ายตายเกิด อย่างนี้อยู่ร่ำไป พุทธพจน์ในหัวข้อ 3.2.1 สังสารวัฏวงจรการเวียนว่ายตายเกิดเป็นเครื่องยืนยันได้เป็น อย่างดีว่าชีวิตมีทุกข์ ความทุกข์ในโลกมนุษย์แม้จะมากน้อยเพียงไรก็พอทนได้ แต่ทุกข์ในอบายภูมิ ได้แก่ นรก เป็นต้น นั้น มีมากมายเหลือพรรณนาทีเดียว ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “คนพาลผู้ประพฤติกายทุจริต ประพฤติ วจีทุจริตประพฤติมโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต และนรก ความทุกข์ในโลกนี้ กับทุกข์ในนรกนั้นเปรียบเทียบกันไม่ได้” แสง จันทร์งาม (2544), ประทีปธรรม, หน้า บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า 3 DOU 63
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More