ชีวิตและการศึกษาเจ้าชายสิทธัตถะ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 118
หน้าที่ 118 / 270

สรุปเนื้อหา

เจ้าชายสิทธัตถะผู้มีการศึกษาที่หลากหลายได้รับการสั่งสอนจากอาจารย์ชื่อดังและได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อได้เห็นทุกข์ในชีวิต จึงตั้งใจออกบวชและบำเพ็ญเพียร จนบรรลุอริยสัจ 4 ในวันเพ็ญเดือน 6 ส่งผลให้เขาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและแสดงธรรมต่อผู้คนทุกหมู่เหล่า จนเป็นที่ยอมรับและมีสาวกมากมาย ทั้งยังเป็นที่มาของวันวิสาขบูชา

หัวข้อประเด็น

-ชีวิตเจ้าชายสิทธัตถะ
-การออกบวช
-การตรัสรู้
-อริยสัจ 4
-วันวิสาขบูชา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ของพระเจ้าอมิโตทนะ และเจ้าเทวทัต โอรสของอาหญิงอมิตาศากยะ กุมารที่มีอายุมากกว่าเจ้าชาย สิทธัตถะ มีเพียงองค์เดียวคือ เจ้ามหานามะ ครั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชันษาได้ 7 พรรษา ก็ได้รับ การศึกษาวิชาศิลปศาสตร์จากพราหมณ์ในราชสำนัก จากนั้นพระชนกทรงเห็นว่ากุมารฉลาดปราดเปรื่อง จึงส่งไปศึกษาต่อยังสำนักอาจารย์วิศวามิตร ผู้เป็นปราชญ์ที่ไม่มีใครทัดเทียมในสมัยนั้น เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ศึกษาจนแตกฉานเชี่ยวชาญในวิชาต่าง ๆ อย่างรวดเร็วกระทั่งสิ้นความรู้ของอาจารย์ มีความรู้พรั่งพร้อม ที่จะได้รับตำแหน่งเป็นราชาและเป็นจักรพรรดิปกครองชมพูทวีปในอนาคต เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชันษาได้ 16 พรรษา พระชนกเห็นว่าสมควรจะมีชายาได้แล้ว จึงไป สู่ขอเจ้าหญิง ยโสธรา หรือ พิมพา พระธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ ที่ประสูติจากพระนางอมิตามาอภิเษก เป็นชายาและต่อมาได้มีพระโอรสด้วยกันพระองค์หนึ่งนามว่า ราหุล ชีวิตการครองเรือนของเจ้าชาย สิทธัตถะได้รับการปรนเปรอจากพระชนกและพระประยูรญาติอย่างดีที่สุด สิ่งใดที่คิดว่าจะทำให้สิทธัตถะพอใจ พระชนกจะต้องรีบจัดหามาให้โดยหวังว่าจะให้เจ้าชายอยู่ครองเรือนไปตลอดชีวิต และหมายมั่นจะให้ได้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคต แต่ด้วยบุญบารมีที่ทรงสั่งสมมาอย่างดีแล้วบันดาลให้ทรงพบเทวทูตทั้ง 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต เป็นเหตุให้พระองค์ทรงเห็นว่า ชีวิตมีทุกข์และปรารถนาจะหาทางพ้นทุกข์ด้วยการ ออกบรรพชา ในที่สุดคืนหนึ่งเมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 29 พรรษา ก็ได้เสด็จออกผนวชโดยทรงม้า กัณฐกะและมีมหาดเล็กชื่อฉันนะตามเสด็จ เมื่อไปถึงฝั่งแม่น้ำอโนมาทรงตัดพระเกศาสละเพศฆราวาส ผนวชเป็นบรรพชิต เมื่อออกผนวชแล้วพระองค์เสด็จไปยังสำนัก อาฬารดาบส และ อุทกดาบส ได้ศึกษาวิชาความรู้ จนเจนจบทุกอย่างเท่าที่อาจารย์ทั้งสองสามารถสอนได้ แต่พระองค์ทรงเห็นว่าความรู้เท่านี้ไม่สามารถตรัสรู้ได้ จึงปลีกตัวไปบำเพ็ญเพียรตามลำพังด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เชื่อกันในยุคนั้นว่าจะเป็นทางแห่งการตรัสรู้ เช่น การทรมานพระวรกาย เป็นต้น แม้ปฏิบัติอยู่ถึง 6 ปีด้วยความวิริยอุตสาหะอย่างยิ่งยวด เมื่อทำจนถึงที่สุด แล้วแต่ก็ไม่นำไปสู่การตรัสรู้ธรรม พระองค์จึงหันมาบำเพ็ญเพียรด้วยการทำสมาธิดำเนินจิตไปตามหนทาง สายกลาง ในที่สุดก็ได้บรรลุพระธรรมกาย แล้วตรัสรู้อริยสัจ 4 ประการ สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี วันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธองค์นั้นตรงกันเป็นอัศจรรย์คือ วันเพ็ญเดือน 6 ซึ่ง ชาวพุทธรู้จักกันในนาม “วันวิสาขบูชา” อันเป็นวันพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง และหมู่ชน เมื่อตรัสรู้แล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ตลอดจนพวกนอกวรรณะให้ตรัสรู้ธรรมตามพระองค์แล้วได้อุปสมบทเป็นพุทธสาวกมากมาย จำนวนมากก็ได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะขอถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่ง พุทธวิธีการสอนของพระองค์มี หลากหลาย ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับความรู้และอุปนิสัยของแต่ละบุคคล จึงทำให้ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจ และตรัสรู้ตามได้โดยง่าย พระองค์ทรงใช้เวลา 45 ปี เผยแผ่พุทธธรรมปักหลักพระศาสนาในชมพูทวีป 5 108 DOU บ ท ที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More