บารมีและการกตัญญูกตเวทีในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 123
หน้าที่ 123 / 270

สรุปเนื้อหา

บาร์มีเป็นบุญที่ปฏิบัติอย่างจริงจัง คือการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ทำด้วยความตั้งใจและคุณภาพสูง เพื่อให้ได้บรรลุจะต้องกลั่นกรองจากบุญต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง การช่วยเหลือผู้อื่นสร้างน้ำใจในภาวะยากลำบากและบ่มเพาะกตัญญูกตเวที ขาดการพัฒนาความเชื่อในตนเอง ล้วนสำคัญเพื่อไปสู่ตำแหน่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ จำเป็นต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพันและต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ วันหนึ่งเราจะได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของบารมี
-นิสัยกตัญญูกตเวที
-การให้ทานและการรักษาศีล
-การเจริญภาวนา
-ความสำคัญของการช่วยเหลือผู้อื่น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประสบทุกข์ ก็ได้รับการช่วยเหลือจากผู้อื่น ความรู้สึกซาบซึ้งในคุณนี้ทำให้ตนคิดหาทางตอบแทนคุณให้สม กับที่เขาเหล่านั้นทำดีกับตน พูดง่ายคือ น้ำใจในยามยากที่เขาได้รับจากผู้คนรอบตัว คือ สิ่งบ่มเพาะความ กตัญญูกตเวทีให้เกิดในตัวของเขา ทำให้เขาคอยหาโอกาสตอบแทนคุณ ดังนั้น นิสัยกตัญญูกตเวที คือ ที่มา ของความมีน้ำใจกรุณาต่อคนทั้งโลก ส่วนสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาตินั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านเหล่านั้นจะต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่ไม่ทำลายความมั่นใจในตนเอง คือ ไม่เกิดอยู่ในถิ่นที่เต็มไปด้วยความแร้นแค้นจนสิ้นไร้หนทาง เช่น ถิ่นที่ ฝนฟ้าไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล แม้ขยันมากแต่ผลตอบแทนที่ได้รับ กลับไม่ขึ้นอยู่กับความขยันและความดี ที่ทุ่มเททำไป แต่ดูเหมือนว่าจะขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ เมื่อเป็นเช่นนี้ความมั่นใจใน ตนเองก็จะหย่อนลงไป ความเชื่อที่เป็นเหตุเป็นผลก็จะเลือนลางไปด้วย และจะถูกแทนที่ด้วยการดูดวง ชะตาราศี เซ่นไหว้เจ้าที่บนบานต่อสิ่งอื่นใดที่ไม่อาจช่วยให้พ้นทุกข์ได้เฉกเช่นชาวโลกทั่วไป เมื่อพระโพธิสัตว์ท่านนั้น ๆ ตั้งใจมั่นที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตแล้ว ธรรมสำคัญที่ต้องประพฤติเพื่อเป็นบันไดไปสู่ตำแหน่งอันเลิศนั้นคือ พุทธการกธรรม คือ ธรรมที่จะทำให้ ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “บารมี” ซึ่งคำนี้เป็นคำที่ชาวพุทธผู้ศึกษาพระพุทธ ศาสนาอย่างจริงจังรู้จักกันดี 5.4.3 ความหมายประเภทและระดับของบารมี 1) ความหมายของบารมี จากที่กล่าวแล้วในบทที่ 3 ว่า คำว่า “บารมี” มาจากคำว่า “ปรม” แปลว่า “อย่างยิ่ง” หมายความ ว่าดำเนินไปในทางที่ดียิ่งขึ้นไป บารมีนั้นก็คือบุญ แต่เป็นบุญที่เข้มข้นมาก เป็นบุญที่ควบแน่น กล่าวคือ บุญ ที่เราทำในแต่ละวัน ได้แก่ การให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เป็นต้น จะค่อย ๆ รวมตัวกันมากขึ้น เรื่อย ๆ และจะกลั่นตัวเป็นบารมี ซึ่งลักษณะของบารมีในทางธรรมปฏิบัตินั้น หลวงปู่วัดปากน้ำกล่าวไว้ ว่า “บารมีก็มีลักษณะเป็นดวงกลมรอบตัว ดวงบุญขนาด 1 คืบ เมื่อกลั่นเป็นดวงบารมีแล้ว จะเหลือขนาด 1 นิ้ว” การสร้างบุญเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดีหรือเพื่อเป็นพระอรหันตสาวกต่าง ๆ ก็ดีจะต้อง ทำกันอย่างเอาจริงเอาจัง หรือที่เรียกว่าทำโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันกันทีเดียว และจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง จนติดเป็นนิสัย เป็นเสมือนโปรแกรมที่ฝังแน่นอยู่ในใจ และจะติดไปข้ามภพข้ามชาติจนกว่าจะได้ตรัสรู้ สัมมาสัมโพธิญาณ หรือ จนกว่าจะได้เป็นพระอรหันต์ หากสร้างบุญแบบเช้าชามเย็นชาม ทำแบบไม่เต็ม กำลังแล้ว ไม่มีทางที่จะไปถึงจุดหมายปลายทางได้ เพราะกระแสกิเลสนั้นเชี่ยวกรากยิ่งนัก มีหวังถูกพัดพา ไปสู่อบายภูมิเสียก่อน การสร้างบุญโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันนี้ ส่งผลให้บุญที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งเป็นบุญที่มีคุณภาพสูง *พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว) (2551), ศรัทธารุ่งอรุณแห่งสันติภาพโลก, หน้า บ า ที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 113
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More