การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 142
หน้าที่ 142 / 270

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ใน 24 ชาติ ที่ได้ออกบวชในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมถึงการทำทาน การรักษาศีลและการบำเพ็ญบารมีตามหลักของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะบารมีที่สำคัญ 10 ประการ และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในแต่ละชาติ พร้อมทั้งการกล่าวถึงอภัพพฐานะ 18 ข้อและผลของการทำผิดศีลในเส้นทางการสร้างบารมี

หัวข้อประเด็น

-การสร้างบารมี
-พระโพธิสัตว์
-การบวชในศาสนาพุทธ
-ทานบารมี
-การศึกษาพุทธพจน์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สรุปใน 24 พุทธวงศ์สุดท้ายแห่งการสร้างบารมีนั้นพระโพธิสัตว์ได้ออกบวชในศาสนาของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 8 ชาติ เป็นนักบวชนอกพระพุทธศาสนา 6 ชาติ คือ เป็นชฎิลบ้าง เป็นดาบสบ้าง เป็นพญานาคราช 2 ชาติ เป็นราชสีห์ 1 ชาติ เป็นท้าวสักกเทวราช 1 ชาติ เป็นยักษ์ 1 ชาติ ที่เหลือเป็น โยมอุปัฏฐากในพระพุทธศาสนา 5 ชาติ ในแต่ละชาติก็ได้สร้างบารมีทั้ง 10 ทัศอย่างยิ่งยวดดังนี้คือ (1) ทานบารมี คือ ได้สละราชทรัพย์ออกบวช หรือ ได้ถวายทานในฐานะเป็นโยมอุปัฏฐาก ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ (2) ศีลบารมี คือ ชาติที่ออกบวชก็รักษาศีลของนักบวช ชาติที่ไม่ได้ออกบวชก็รักษาศีล ของคฤหัสถ์ ได้แก่ เบญจศีล หรือ ศีล 5 เป็นต้น (3) เนกขัมมบารมี คือ ได้ออกบวชในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง ออกบวชเป็น ดาบสบ้าง เป็นฤๅษีบ้าง เป็นชฎิลบ้าง (4) ปัญญาบารมี คือ ได้ศึกษาพุทธพจน์คือพระสูตรและพระวินัยทั้งปวงในศาสนาของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่าง ๆ ได้เจริญสมาธิอันเป็นภาวนามยปัญญาจนสำเร็จอภิญญามาหลายชาติ รวมทั้งได้เรียนศาสตร์อื่น ๆ จนเจนจบอีกด้วย ส่วนบารมีที่เหลือคือ วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขา บารมี เป็นบารมีที่ได้บำเพ็ญไปพร้อม ๆ กับบารมี 4 ประการข้างต้นคือ การจะให้ทาน รักษาศีล ออกบวช ศึกษาเล่าเรียน และเจริญสมาธิภาวนาให้สำเร็จสมบูรณ์ ก็ต้องอาศัยวิริยะคือความเพียร ขันติคือความ อดทน สัจจะคือความเอาจริงเอาจัง อาศัยการอธิษฐานเพื่อตอกย้ำเป้าหมายให้มั่นคง และในแต่ละชาติ พระโพธิสัตว์ก็ได้อธิษฐานเพื่อบำเพ็ญบารมีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปดังพระดำรัสว่า “พระมุนีกุกกุสันธะผู้เป็นนายก ชั้นพิเศษพระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์เราว่า ในภัทรกัปนี้ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก..... เราก็ยังจิตให้ เลื่อมใสอย่างยิ่ง... เราอธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี 10 ประการยิ่งขึ้น” สำหรับเมตตาบารมีและ อุเบกขาบารมีนั้น สังเกตเห็นว่าพระโพธิสัตว์มักสำเร็จอภิญญาแล้วไปเกิดพรหมโลกด้วย “การเจริญพรหม วิหารภาวนา” คือเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา จึงเป็นการบำเพ็ญเมตตาบารมีและอุเบกขาบารมีโดยตรง และการให้ทานในชาติต่าง ๆ นั้นก็เป็นการบำเพ็ญเมตตาบารมีไปในตัวด้วย 5) ความผิดพลาดในเส้นทางการสร้างบารมี ในเส้นทางการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ท่านได้ทำผิดพลาดมาไม่น้อยเหมือนกัน เพราะ ท่านก็ยังไม่หมดกิเลส ถึงแม้จะได้รับพุทธพยากรณ์แล้วก็ยังมีโอกาสทำผิดได้ จะเห็นได้จากอภัพพฐานะ 18 ข้อที่จะไม่เกิดขึ้นกับพระโพธิสัตว์ผู้ได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว มีอยู่ 5 ข้อที่น่าสนใจคือ หากท่านทำผิดศีลจน ต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน ก็จะเป็นสัตว์ประเภทที่มีร่างกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ แต่จะไม่โตกว่าช้าง, 1 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 2 ฉบับสยามรัฐ เล่ม 33 ข้อ 23 หน้า 357-358. อภัพพฐานะ หมายถึง ฐานะที่อาภัพ 132 DOU บ ท ที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More