ข้อความต้นฉบับในหน้า
การอบรมในที่นี้คือ การทำสมาธินั่นเองดังในอรรถกถาที่ว่า “ธรรมชาติใด อันพระโยคีบุคคล
อบรมอยู่ เจริญอยู่ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ภาวนา, ภาวนาคือสมาธิ ชื่อว่า สมาธิภาวนา”
วิริยบารมี คำว่า “วิริยะ” มาจาก บทว่า “วิริย์” ได้แก่ “ความเพียรทางกายและทางใจ”
ความเพียรในที่นี้คือความเพียรในการสร้างบารมีทุกอย่างได้แก่ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี
เป็นต้น ที่กล่าวว่าความเพียรทั้งทางกายและทางใจนั้นหมายความว่า การสร้างบารมีทุกอย่างเกิดขึ้นได้
โดยอาศัย “ใจ” ในการคิด อาศัย “กาย” ในการปฏิบัติ
คำว่า “วิริยะ” ยังแปลได้อีกหลายนัยดังบทว่า “วิริยพล ได้แก่ ภาวะของคนกล้า ชื่อว่า วิริยะ
หรือกรรมของคนกล้า ชื่อว่า วิริยะ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิริยะ เพราะอรรถว่า จึงให้เคลื่อน, คือให้เป็นไป...
วิริยะนั่นนั้น มีความค้ำจุนเป็นลักษณะ หรือมีความประคองเป็นลักษณะ... มีความสังเวชหรือเรื่องปรารภ
ความเพียรเป็นปทัฏฐาน... ชื่อว่า วิริยพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน”
คำว่า ปทัฏฐาน แปลว่า แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ
โดยสรุปคือ วิริยะ คือกล้าที่จะลงมือทำความดีหรือสร้างบารมีทุกรูปแบบ เมื่อเริ่มต้นสร้างบารมี
แล้วก็จะส่งผลให้บารมีเพิ่มพูนขึ้นคือ มีความก้าวหน้าไป อีกทั้งวิริยะยังช่วยค้ำจุนคุณธรรมความดีที่มีอยู่
ให้คงอยู่ ไม่ให้ตกต่ำลงกว่าเดิม กล่าวคือ ปกติใจมนุษย์จะไหลลงต่ำอยู่เสมอ หากอยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ หรือ
เกียจคร้านไม่ทำอะไร ก็มีแต่จะถูกกระแสกิเลสพัดพาไปให้ทำชั่ว ส่งผลให้ชีวิตตกต่ำ แต่เมื่อมีความเพียร
ในการสร้างบารมีอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยประคองตนเองให้ตั้งมั่นอยู่ในเส้นทางของการสร้างบารมีได้
ขันติบารมี คำว่า “ขันติ” มาจากบทว่า “ขันติ” ในภาษาบาลี ได้แก่ “ความอดทนด้วยความ
อดกลั้น ความไม่ดุร้าย ความไม่ปากร้าย ความแช่มชื่นแห่งจิต”
ความหมายโดยรวมของขันติ คือ การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วย
สิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว
ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย หรือของหอมก็ตาม
มีข้อสังเกตว่าความอดทนในพระพุทธศาสนานั้นประกอบด้วย “ความแช่มชื่นแห่งจิต” กล่าวคือ
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นทั้งดีและไม่ดี จะรุนแรงมากน้อยเพียงใดก็สามารถรักษาจิตให้แช่มชื่นหรือผ่องใสอยู่ได้
ไม่ใช่เป็นความอดทนในลักษณะเก็บกด หน้านิ่วคิ้วขมวด กำหมัดกัดฟันกรอด ๆ อย่างที่เราเข้าใจกัน ความ
อดทนอันประกอบด้วยจิตที่แช่มชื่นนี้ จึงเป็นทางมาแห่งบุญบารมีที่บริสุทธิ์ ส่วนการเก็บกด จิตจะเศร้าหมอง
2
1 สัทธัมมปกาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค, มก. เล่ม 68 หน้า 46.
มโนรถบูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย นวกนิบาต, อรรถกถานิสสยสูตร, มก. เล่ม 37 หน้า 704.
สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส, มก. เล่ม 65 หน้า 126.
* มโนรถบูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, อรรถกถาอาชานิยสูตร, มก. เล่ม 36 หน้า 450.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี, มก. เล่ม 76 ข้อ 860 หน้า 505.
116 DOU
บทที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุทธเจ้า