ข้อความต้นฉบับในหน้า
ใสบริสุทธิ์ยิ่งกว่าพระพุทธรูปบูชาองค์ใด เสียงพระธรรมกายกังวานขึ้นมาในความรู้สึกว่า “ถูกต้องแล้ว” เท่านั้น
แหละ ความปีติสุขก็เกิดขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ท่านถึงกับรำพึงออกมาเบา ๆ ว่า
ๆ
“เออ....มันยากอย่างนี้นี่เอง ถึงได้ไม่บรรลุกัน ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ต้องรวมเป็น
จุดเดียวกัน เมื่อหยุดแล้วจึงดับ เมื่อดับแล้วจึงเกิด”
และท่านยังเคยคำนึงอีกว่า “คัมภีโรจายัง ธรรมเป็นของลึกถึงเพียงนี้ ใครจะไปคิดคาดคะเน
เอาได้ พ้นวิสัยของความตรึกนึกคิด ถ้ายังตรึกนึกคิดอยู่ก็เข้าไม่ถึง ที่จะเข้าถึงได้ ต้องทำให้รู้ตรึก รู้สึก รู้คิด
นั้น หยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วก็เกิด ถ้าไม่ดับแล้วไม่เกิด ตรองดูเถิดท่านทั้งหลาย
นี้เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนดังนี้ ก็ไม่มีไม่เป็นเด็ดขาด”
เมื่อเข้าถึงพระธรรมกายแล้วหลวงปู่วัดปากน้ำก็ได้ฝึกสมาธิอย่างต่อเนื่องจนชำนาญ และได้ใช้
พระธรรมกายในตัวศึกษาวิชชาธรรมกายสืบต่อไป วิชชาธรรมกายคือ ความรู้แจ้งอันเกิดจากการเห็นแจ้ง
ด้วยธรรมจักษุ หรือดวงตาของพระธรรมกาย ด้วยเหตุนี้หลวงปู่วัดปากน้ำจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ค้นพบวิชชา
ธรรมกาย นอกจากนี้ท่านยังสอนให้คนยุคนั้นเข้าถึงพระธรรมกายกันเป็นจำนวนมาก เมื่อได้รับมอบหมาย
ให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำแล้ว ท่านก็ตั้งใจอบรมพระภิกษุสามเณร ให้การสนับสนุนการศึกษาทั้งภาค
ปริยัติและปฏิบัติ ทำให้ในยุคนั้นวัดปากน้ำภาษีเจริญมีพระภิกษุสามเณรมากที่สุดในประเทศไทย
หลวงปู่วัดปากน้ำมีศิษย์เอกอยู่ท่านหนึ่งคือ คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ซึ่ง
เป็นศิษย์ที่มีความเชี่ยวชาญในวิชชาธรรมกายมากที่สุด เมื่อหลวงปู่วัดปากน้ำมรณภาพแล้ว คุณยายก็ได้
มาบุกเบิกสร้างวัดพระธรรมกายโดยมีพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็นกำลังสำคัญ ปัจจุบันวัด
พระธรรมกายได้ทำหน้าที่เผยแผ่วิชชาธรรมกายที่หลวงปู่วัดปากน้ำค้นพบไปทั่วโลก ทั้งนี้ก็เพื่อสนอง
มโนปณิธานที่หลวงปู่ท่านตั้งใจไว้ตั้งแต่ก่อนมรณภาพ และเพื่อให้ชาวโลกเข้าถึงสันติสุขภายในอันเป็น
ทางมาแห่งสันติภาพโลกอย่างแท้จริง
พระธรรมกายและวิชชาธรรมกายที่หลวงปู่วัดปากน้ำค้นพบนั้นเป็นพระพุทธศาสนาดั้งเดิม
มีหลักฐานปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก อรรถกถาและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอื่น ๆ ทั้งฝ่ายเถรวาทและ
มหายาน ซึ่งนักศึกษาจะเรียนรู้ในบทที่ 4 สืบต่อไป
2) ขันธ์ส่วนละเอียดทางธรรมปฏิบัติ
หลวงปู่วัดปากน้ำได้แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องขันธ์ 5 ในส่วนละเอียดเอาไว้หลายกัณฑ์ด้วยกัน เช่น
กัณฑ์ที่ 4 ว่าด้วยอาทิตตปริยายสูตร, กัณฑ์ที่ 9 ว่าด้วยเบญจขันธ์ทั้ง 5, กัณฑ์ที่ 45 ว่าด้วยสติปัฏฐานสูตร
และกัณฑ์ที 42 ว่าด้วยติลักขณาทิคาถา เป็นต้น
ขันธ์ส่วนละเอียดนี้เป็นผลจากธรรมปฏิบัติที่หลวงวัดปากน้ำได้เข้าถึงพระธรรมกายแล้วไป
เห็นแจ้งและรู้แจ้งขันธ์เหล่านี้ด้วยธรรมจักษุและญาณทัสสนะของพระธรรมกาย จากนั้นท่านก็ได้เมตตา
* วโรพร (2543), ตามรอยพระมงคลเทพมุนี, หน้า 9-10.
42 DOU บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า