พระโพธิสัตว์และความตั้งใจสู่การตรัสรู้ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 122
หน้าที่ 122 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ที่เกิดจากการเห็นต้นแบบที่ดีจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยระบุว่าพุทธประเพณีมีผลต่อการสร้างหน่อเนื้อของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การสั่งสมบุญบารมี และการตั้งความปรารถนาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความตระหนักในทุกข์และการปรารถนาพ้นทุกข์เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการมุ่งสู่อุดมการณ์นี้ สะท้อนถึงแนวทางของพระภาวนาวิริยคุณที่พูดถึงการช่วยเหลือผู้อื่นของพระโพธิสัตว์ ซึ่งเกิดจากการเติบโตในสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นต้นว่า การสนับสนุนจากบุคคลและธรรมชาติในสังคมที่มีคุณธรรม

หัวข้อประเด็น

-พระโพธิสัตว์
-การตรัสรู้
-บารมีในพุทธศาสนา
-ความปรารถนาสู่พุทธภูมิ
-การช่วยเหลือผู้อื่น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประเด็นนี้สรุปได้ว่าพระโพธิสัตว์เกิดขึ้นจากการได้เห็นต้นแบบที่ดีจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง พุทธประเพณีเปิดโลกนั้นถือเป็นการสร้างหน่อเนื้อพุทธางกูรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ละพระองค์ก็ว่าได้ พระโพธิสัตว์หรือผู้ตั้งความปรารถนาที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านี้ เมื่อตั้งใจ มั่นแล้วก็เริ่มสั่งสมบารมีเรื่อยไป ถ้าไม่เปลี่ยนเป้าหมายกลางคัน ในที่สุดเมื่อบารมีเต็มเปี่ยมก็จะตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ มีข้อสังเกตว่าผู้ได้ตำแหน่งเอตทัคคะทุกท่านในพระพุทธศาสนาก็มีจุดเริ่มต้นจากการได้เห็น ๆ ต้นแบบด้านนั้น ๆ ในอดีตเช่นกัน กล่าวคือ ในอดีตชาติท่านเหล่านั้นได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่งตั้ง และยกย่องภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งว่า เป็นเอตทัคคะคือมีความรู้ความสามารถเป็นเลิศในด้านนั้น ๆ ท่ามกลางมหาสมาคม เมื่อได้เห็นดังนั้นจึงตั้งความปรารถนาบ้างว่า เราจะต้องเป็นเช่นภิกษุหรือภิกษุณี รูปนี้ในอนาคตเบื้องหน้า ตั้งแต่นั้นมาจึงสั่งสมบุญบารมีและอธิษฐานจิตทุกครั้งว่าขอให้ความปรารถนาที่ ตั้งใจไว้สำเร็จสมประสงค์ เมื่อบุญบารมีเต็มเปี่ยมแล้วจึงได้รับการแต่งตั้งจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ใดพระองค์หนึ่งในที่สุด 2) ตระหนักว่าชีวิตมีทุกข์และปรารถนาจะพ้นทุกข์ ผลจากการที่ท่านเหล่านั้นเวียนว่ายตายเกิดมาหลายชาติ ทำให้เกิดปัญญาสั่งสมขึ้นในใจและ ตระหนักว่า ชีวิตมีทุกข์การเวียนว่ายตายเกิดเป็นทุกข์และต้องการที่จะพ้นทุกข์ ประกอบกับการที่ได้เวียน ว่ายตายเกิดมาหลายชาติจึงมีบางชาติที่ได้พบพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ ได้มีโอกาสพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงบ้าง ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโลกและชีวิตตาม ความเป็นจริง เข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมไม่หลงผิดคิดหาที่พึ่งจากสิ่งอื่นใดที่ไม่ใช่พระรัตนตรัย นั่นคือ มีความเห็น เป็นสัมมาทิฏฐิ และที่สำคัญที่สุดคือ รู้ว่าหากต้องการจะพ้นทุกข์ด้วยตนเองและสามารถช่วยผู้อื่นให้ พ้นทุกข์ได้นั้น จำเป็นต้องตั้งความปรารถนาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อสั่งสมบุญบารมีเรื่อยไป ในที่สุดเมื่อบารมีเต็มเปี่ยมแล้วก็จะได้ตรัสรู้ในที่สุด พระสมณโคดมพุทธเจ้าก็มีจุดเริ่มต้นมาอย่างนี้คือ ในชาติที่ปรารถนาพุทธภูมินั้น พระองค์ตระหนักว่าการเวียนว่ายตายเกิดเป็นทุกข์ จึงปรารถนาจะพ้นทุกข์ ด้วยตนเองและพามหาชนให้พ้นทุกข์ด้วย ในประเด็นนี้พระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว) ได้กล่าวไว้ว่า พระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้นเป็น ผู้ที่มีใจกว้างและมีความมั่นใจในความดีกว่าคนทั่วไปคือ ไม่คิดเอาตัวรอดเพียงลำพัง เมื่อตนรอดแล้วก็หวัง ช่วยผู้อื่นให้รอดตามด้วย ไม่ว่าการช่วยผู้อื่นนั้นจะทำให้ตนต้องเสียเวลาไปมากกว่าเดิมอย่างมากก็ตาม ความใจกว้างและความมั่นใจนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพระโพธิสัตว์เหล่านั้นได้เกิดอยู่ในสิ่งแวดล้อมดี ที่บ่มเพาะสิ่งเหล่านี้มาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากคนเราที่เกิดมาในแต่ละชาติก็เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้สิ่งแวดล้อม ที่ตนไปเกิดจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดนิสัยและความเข้าใจถูกเกี่ยวกับโลกและชีวิตของคนเรา ซึ่ง สิ่งแวดล้อมมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ บุคคล และ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่เป็นบุคคลคือ ต้องเป็นผู้ที่ได้เกิดอยู่ในสังคมที่มีคนดีอยู่มากมาย เมื่อถึงคราวที่ตน 112 DOU บ ท ที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More