มหาธรรมกายเจดีย์และอานิสงส์การบูชาพระรัตนตรัย GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 102
หน้าที่ 102 / 270

สรุปเนื้อหา

มหาธรรมกายเจดีย์นั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติบูชาของชาวโลกนับล้านคน รอบองค์เจดีย์มีสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมและนั่งสมาธิเจริญภาวนา การบูชาพระรัตนตรัยจะนำมาซึ่งอานิสงส์สูงสุดในการเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวและการกำจัดกิเลส การบูชาอามิสจะนำพาไปสู่การเสวยสุขในสรวงสวรรค์ และในปัจจุบันพระธรรมคำสอนที่ได้แก่การบูชาได้กลายเป็นแสงสว่างนำทางชีวิตของชาวพุทธ

หัวข้อประเด็น

-มหาธรรมกายเจดีย์
-อานิสงส์การบูชาพระรัตนตรัย
-การปฏิบัติบูชา
-การทำพิธีกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

มหาธรรมกายเจดีย์นั้นนอกจากสร้างเพื่อเป็นอามิสบูชาแล้ว ยังสร้างไว้สำหรับการปฏิบัติบูชา ของชาวโลกนับล้านคนอีกด้วย เพราะรอบองค์เจดีย์นั้นได้สร้างมหารัตนวิคดไว้เป็นสถานที่ประกอบ พิธีกรรมและนั่งสมาธิเจริญภาวนาของพุทธบริษัททั่วโลก มหาธรรมกายเจดีย์จึงไม่ได้สร้างเอาไว้โชว์แต่ สร้างไว้ใช้งานพระศาสนาและสร้างเพื่อมวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง 4.10.7 อานิสงส์การบูชาพระรัตนตรัย อานิสงส์สูงสุดของการปฏิบัติบูชาคือ การได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวและสามารถกำจัดกิเลสให้ หมดสิ้นไปจากใจ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกต่อไป เมื่อดับขันธ์แล้วก็จะได้ไปเสวยสุขอยู่ใน อายตนนิพพาน ส่วนอานิสงส์ของอามิสบูชานั้นจะทำให้ได้เสวยทิพยสมบัติอันโอฬารบนสรวงสวรรค์ เมื่อได้มา เกิดยังโลกมนุษย์ก็จะเป็นที่เคารพของชนทั้งหลาย ได้เกิดในตระกูลสูง ถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ และเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้ปฏิบัติบูชาได้อย่างสะดวก ในพระไตรปิฎกบันทึกตัวอย่างอานิสงส์ ของอามิสบูชาไว้จำนวนมาก ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงหนึ่งตัวอย่างคือ เรื่องของพระกัสสปเถระ พระกัสสปเถระเล่าไว้ว่า หลังจากพระปทุมุตรพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านได้ประชุมญาติและ มิตรแล้วกล่าวว่า “พระมหาวีรเจ้าปรินิพพานแล้ว เชิญเรามาทำการบูชากันเถิด” พวกเขารับคำว่า “สาธุ” จากนั้น ก็ได้บูชาพระพุทธองค์ด้วยการสร้างเจดีย์สูง 100 ศอกเพื่อเก็บพระบรมสารีริกธาตุ และได้สร้างกุศล อื่น ๆ เป็นอันมาก ละโลกแล้วก็ได้ไปเสวยทิพยสมบัติอันโอฬารในเทวโลก เมื่อจุติมาเกิดในโลกมนุษย์ได้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 33 ครั้ง ภพชาติสุดท้ายนี้ได้มาเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลมีทรัพย์ 80 โกฏิ ต่อมาท่านได้สละทรัพย์ เหล่านั้นออกบวชแล้วปฏิบัติบูชาจนได้คุณวิเศษ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และอภิญญา 6 ได้เป็น พระอรหันตสาวกองค์สำคัญในพระพุทธศาสนา ได้เป็นประธานการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกหลัง พุทธปรินิพพานได้ 3 เดือน ส่งผลให้ชาวพุทธมีพระธรรมคำสอนที่เป็นหมวดหมู่ได้ศึกษาเพื่อเป็นแสงสว่าง นำทางชีวิตตราบกระทั่งปัจจุบัน กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 4 พระรัตนตรัย : แก่นพระพุทธศาสนา จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 4 ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 4 แล้วจึงศึกษาบทที่ 5 ต่อไป 1 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 1, มหากัสสปเถราปทาน, ฉบับสยามรัฐ เล่ม 32 ข้อ 5 หน้า 30-31. 92 DOU บ ท ที่ 4 พระรัตนตรัย : แ ก่ น ข อ ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More