ข้อความต้นฉบับในหน้า
ปริณายกของสงฆ์ ไม่ยอมรับการสังคายนานั้น
เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นให้ภายหลังสงฆ์แตกออกเป็นนิกายเถรวาทและนิกายมหายาน หาก
ครั้งนั้นพระปุราณะตระหนักถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ให้เคารพในปริณายกสงฆ์แล้วสงฆ์อาจจะไม่แตกออก
เป็นนิกายต่าง ๆ อย่างปัจจุบัน จะเห็นว่าแม้พระองค์ตรัสสอนไว้แล้วยังเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นได้ ถ้าหากพระองค์
ไม่ตรัสไว้ คงจะมีปัญหาเกิดขึ้นมากกว่านี้เป็นแน่
ในยุคปัจจุบันภิกษุก็ต้องเคารพผู้นำสงฆ์หรือเจ้าอาวาสในแต่ละวัด รวมทั้งเคารพผู้นำสงฆ์ซึ่งเป็น
ผู้ปกครองในระดับสูงขึ้นไปด้วย
นอกจากนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังให้ภิกษุเคารพกันตาม “ภันเต” หรือ “ผู้บวชก่อน” แม้ภันเต
บางท่านจะมีอายุน้อย แต่ก็ถือว่าเป็นพี่ในพระธรรมวินัย น้องที่มาใหม่ก็ต้องอาศัยพี่เหล่านั้นช่วยแนะนำ
ความรู้และแนวทางการดำรงชีพในเพศสมณะให้ แม้ก่อนบวชบางรูปจะเคยมีฐานะทางสังคมสูง แต่เมื่อ
บวชแล้วก็ต้องปฏิบัติตามพระวินัย ต้องกราบไหว้ภิกษุที่บวชก่อน จะขัดขืนไม่ได้ เพราะจะไม่เจริญก้าวหน้า
ในพระศาสนา
แต่ใน “เรื่องงาน” พระองค์ให้เคารพกันตามคุณธรรมและความสามารถ กล่าวคือ ใครเป็นเลิศ
ในด้านใดก็ให้เป็นหัวหน้างานในด้านนั้น ๆ โดยสังเกตได้จากการแต่งตั้งตำแหน่งเอตทัคคะคือความเป็น
เลิศด้านต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งพระอัครสาวก เป็นต้น แม้พระสารีบุตรจะบวชหลังพระมหาเถระหลายรูป แต่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็แต่งตั้งให้ท่านเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระองค์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สูงกว่า
ภิกษุสงฆ์ทั้งปวง เพราะท่านเป็นเลิศด้านปัญญา เนื่องจากได้สั่งสมบารมีด้านนี้มานับภพนับชาติไม่ถ้วน
7.7.5 ไม่ลุอำนาจของตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลายยังจักไม่ลุอำนาจของตัณหา อันมีปกติให้เกิดในภพ
ใหม่ที่เกิดขึ้น ตลอดกาลเพียงไร พึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้”
การไม่ลุอำนาจของตัณหาอันมีปกติให้เกิดในภพใหม่ที่เกิดขึ้นนั้นจัดอยู่ในหลักศีลสิกขา สำหรับให้
ภิกษุแต่ละรูปควบคุมกายและวาจาของตนเอง ไม่สร้างความเดือนร้อนให้ตนเองและหมู่คณะ ทำให้ตนเอง
และหมู่คณะมีความสงบสุข ส่งผลให้ภิกษุแต่ละรูปมีความเจริญก้าวหน้าในการเจริญสมาธิภาวนา เพราะ
เมื่อศีลบริสุทธิ์บริบูรณ์ย่อมส่งผลให้ใจเป็นสมาธิได้ง่าย และจะทำให้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุด
7.7.6 มีความห่วงใยในเสนาสนะตามราวป่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายยังเป็นผู้มีความห่วงใยในเสนาสนะตามราวป่า ตลอด
กาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้
การมีความห่วงใยในเสนาสนะตามราวป่านั้น เป็นการห่วงใยเพื่อเจริญสมาธิภาวนา เนื่องจาก
ราวป่าเป็นสถานที่สงบเงียบส่งผลให้ใจสงบได้ง่ายดังกล่าวแล้วในคณกโมคัลลานสูตร เสนาสนะป่าถือได้ว่า
เป็นชัยภูมิของภิกษุสงฆ์ เพราะแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานในป่า
บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 213