นิสัย 4 ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 208
หน้าที่ 208 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงวิถีชีวิตนักบวชในพระพุทธศาสนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางแบบแผนไว้อย่างต่ำและมีพลังในการสืบทอดพระพุทธศาสนา นักบวชใช้ทรัพยากรน้อยเพียง 4 อย่างในการดำนงชีพ และการอาศัยศรัทธาสาธุชนในการดำรงอยู่ เป็นการเปรียบเทียบถึงบารมีที่ต้องใช้สำหรับการเจริญเติบโตของศาสนา แม้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพานไปแล้ว ศรัทธายังคงมีอยู่

หัวข้อประเด็น

-วิถีชีวิตนักบวช
-ทุนชีวิตของบรรพชิต
-การใช้ทรัพยากรในการดำรงชีพ
-ศรัทธาและการสืบทอดพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

7.5.6 นิสสัย 4 ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต วิถีชีวิตนักบวชในพระพุทธศาสนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางเป็นแบบแผนไว้นั้นใช้ต้นทุนน้อย แต่เกิดผลมาก นักบวชดำรงชีพอยู่ด้วยนิสสัย 4 คือ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร นุ่งห่มผ้าบังสุกุล อยู่โคนไม้ และฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า มีเพียง 4 อย่างนี้เท่านั้นก็สามารถสืบทอดพระพุทธศาสนาไปได้แล้ว นักบวชไม่ต้องทำมาหากินมีเพียงบาตรใบเดียวก็สามารถจาริกเผยแผ่พระศาสนาได้ทั่วหล้า ค่ำไหน นอนนั่นคืออยู่โคนไม้เป็นวัตร เครื่องนุ่งห่มก็เที่ยวหาเอาจากกองขยะที่เขาทิ้งแล้ว ขอเพียงมีผ้าช่วยปกปิด ร่างกายและให้ความอบอุ่นได้ก็พอแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างคือ “ทรงถือเอา ผ้าที่เขาคลุมร่างนางปุณณทาสีซึ่งทิ้งแล้วเป็นผ้าบังสุกุล ทรงสลัดสัตว์เล็ก ๆ คือหมู่หนอนต่าง ๆ ประมาณ ดุมพะหนึ่ง คือ 4 ทะนาน” ทรงนำผ้านั้นมาทำจีวรนุ่งห่มพระวรกาย พระอนุรุทธะผู้ออกบวชจากตระกูลกษัตริย์ เป็นสุขุมาลชาติ สมบูรณ์พร้อมทุกอย่างไม่เคยได้ยิน แม้คำว่า “ไม่มี” ท่านก็ยังไม่รังเกียจในการ “หาผ้าบังสุกุลมาใช้ ครั้นได้มาแล้วก็มาซักย้อมเอาเองแล้ว นุ่งห่ม ยามเจ็บป่วยก็ฉันยาธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวคือ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า แม้ไม่มีเงินทองก็มียาฉัน ซึ่งการแพทย์ปัจจุบันก็ยืนยันว่าน้ำมูตรเน่าหรือน้ำปัสสาวะสามารถรักษาโรคได้หลายชนิด จะเห็นว่า การเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนานั้นใช้ทุนน้อยแต่สามารถสืบอายุพระศาสนาไปได้ จนตลอดชีวิต หมู่สงฆ์จึงเปรียบเสมือนต้นกระบองเพชรคือ ในภาวะที่แห้งแล้งที่สุดก็ยังอยู่ได้แม้ต้นไม้อื่น ๆ จะล้มตายหมดแล้ว มีข้อสังเกตว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวกหลายรูปสละสมบัติอันมากเพื่อออกบวช เมื่อ บวชแล้วก็ยอมลำบากด้วยปัจจัย 4 แม้ทางบ้านจะมีอันจะกินก็ไม่ยอมนำทรัพย์ในอดีตมาใช้เพราะผิดวิสัย ของบรรพชิต แต่อาศัยการเลี้ยงชีพด้วยศรัทธาสาธุชน การเลี้ยงชีพด้วยศรัทธานี้เป็นประเพณีสำคัญที่ ทำให้พระพุทธศาสนามีอายุยืนนาน เพราะศรัทธาเป็นอริยทรัพย์เป็นทรัพย์ที่ไม่หมดไปเพราะการใช้ มีแต่ ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่มและประเสริฐกว่าสมบัติจักรพรรดิมาก เพราะสมบัติจักรพรรดิแม้ตักไม่พร่องก็จริง แต่จะคงอยู่ เฉพาะในยุคที่เจ้าของทรัพย์ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น หากยุคต่อไปไม่มีคนที่มีบุญมากพอที่จะรองรับได้สมบัติ จักรพรรดิก็จะหายไป แต่ศรัทธาเมื่อเกิดขึ้นแก่มหาชนแล้ว สามารถปลูกฝังสืบต่อไปสู่ลูกหลานได้ไม่มีที่สิ้นสุด จะเป็น ใครก็ได้ขอเพียงเขาไม่ถึงกับเป็นมิจฉาทิฏฐิก็สามารถปลูกศรัทธาได้ทั้งนั้น และศรัทธานี้แหละที่จะหล่อเลี้ยง รักษาพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ได้ยาวนาน แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสาวกทั้งหลายจะ ปรินิพพานไปแล้วก็ตาม 2 มโนรถบูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต, มก. เล่ม 35 หน้า 93. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา, มก. เล่ม 53 ข้อ 393 หน้า 155. 3 ผู้จัดการ (2548), สรรพคุณ “ดื่มน้ำปัสสาวะ” ทางเลือกบำบัดโรค, (ออนไลน์) 198 DOU บ ท ที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More