ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 2
ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา
2.1 พื้นฐานชีวิตของมนุษย์
..
หากนักศึกษาลองทบทวนชีวิตตนเองและชาวโลกดูจะพบความจริงหลายอย่างที่ตรงกันคือ
วันแรกที่เราและคนทั้งหลายลืมตามาดูโลก เราเห็นหน้าแม่พ่อและญาติ ๆ นับจากวันนั้นพ่อแม่ได้เลี้ยงดูอบรม
สั่งสอนเรามา ให้ดื่มนม สอนให้คลาน เดิน และพูด เราก็ค่อย ๆ ทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างที่คนอื่นเขาทำกัน
เมื่อโตขึ้นพ่อแม่ก็ส่งเราไปเรียนหนังสือ ครูได้สอนให้อ่านเขียนจนเราจบหลักสูตรการศึกษาใน
ระดับต่าง ๆ จากนั้นก็หางานทำ หาสามี หาภรรยามาเป็นคู่ชีวิต ไม่นานแต่ละคนก็มีลูกเป็นของตัวเอง เมื่อ
มีลูกแล้วก็ได้อบรมเลี้ยงดูตามแบบอย่างที่พ่อแม่ได้เลี้ยงตนมา ถึงตอนนี้พ่อแม่ของบางคนก็เริ่มทยอย
ลาลับจากโลกนี้ไปแล้ว บางท่านก็เป็นไม้ที่ใกล้ฝั่งเต็มที่ แม้ตัวเราเองก็ต้องตายเหมือนกัน ลูกน้อยของเรา
และของใคร ๆ ในโลกก็หนีไม่พ้น
ในระหว่างที่แต่ละคนมีชีวิตอยู่ต่างก็ได้ประสบสิ่งต่างๆ มากมายทั้งที่ดีและไม่ดี เป็นเหตุให้ดีใจ เสียใจ
เป็นสุข เป็นทุกข์ เครียด กลัว สับสน เมื่อเครียดมาก กลัวมาก ทุกข์มากก็รนหาที่พึ่ง บางคนก็พึ่งเจ้าพ่อ
เจ้าแม่ เจ้าป่าเจ้าเขา ผีสางนางไม้ต่าง ๆ หลายคนเห็นอะไรแปลก ๆ เข้าหน่อยก็ไปกราบไปไหว้กัน ไม่ว่า
จะเป็นสัตว์ 2 หัว วัว 5 ขา ต้นไม้ประหลาด ๆ ฯลฯ บางคนดีหน่อยก็หาที่พึ่งทางศาสนา มนุษย์ทุกคน
พยายามต่อสู้กับปัญหาที่ผ่านเข้ามาในชีวิตจนกว่าจะลาลับจากโลกไป นี้คือวัฏจักรชีวิตของคนในโลกอัน
แสนจะวุ่นวายใบนี้
มีคนตั้งข้อสังเกตเรื่องชีวิตของมนุษย์ไว้น่าสนใจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิตโดยรวมของ
คนในโลกนี้ได้เป็นอย่างดี
ท่านแรกตั้งข้อสังเกตไว้ว่า เราได้แต่ทำตาม ๆ กันไป ทำอย่างรีบเร่งโดยไม่มีโอกาสหยุดคิด
แข่งกันเรียน แข่งกันทำงาน แข่งกันหาเงิน พอมีเงินก็รีบแต่งงาน รีบมีลูกให้ทันใช้ แต่ไม่รีบแก่ รีบเจ็บป่วย
หรือรีบตาย ไม่ทันฉุกคิดว่าเราต้องแก่ ต้องป่วย และอีกไม่นานนับจากวันนี้ ก็จะไม่มีเราบนโลกนี้อีกต่อไป
แล้วชีวิตคนคนหนึ่งเร่งรีบเสียจนกระทั่งไม่มีโอกาสหยุดเพื่อถามตัวเองเลยหรือว่า ชีวิตนี้มีอะไรที่มากไป
กว่าการหาเงิน การมีครอบครัว ทำชั่วบ้าง ดีบ้าง หัวเราะบ้าง ร้องไห้บ้าง มีสุขบ้าง ทุกข์บ้าง แล้วก็จาก
โลกนี้ไป การที่เราวิ่งเป็นเหมือนหนูถีบจักร เพียงเพราะเป็นสิ่งที่ทุกคนทำกัน มันถูกต้องพอเพียงและเป็น
เส้นทางที่จะพาเราไปสู่ความสุข ความสบายกาย ความสบายใจอย่างที่ใฝ่ฝันไขว่คว้าได้จริงหรือ
ฐิตินารถ ณ พัทลุง (2530), เข็มทิศชีวิต, หน้า 30-31.
10 DOU บ ท ที่ 2 ความ
ท มรู้ทั่วไป ทาง พระ พุ ท ธ ศ า ส น า