พระรัตนตรัยและธรรมกาย GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 89
หน้าที่ 89 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจลักษณะและขนาดของพระรัตนตรัยภายในตามคำสอนของหลวงปู่วัดปากน้ำ โดยแบ่งเป็นชั้นต่างๆ ของพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ในการเจริญภาวนาและธรรมกายแต่ละระดับ ซึ่งถูกเปรียบเทียบกับลักษณะของมหาบุรุษและการถ่ายทอดความเข้าใจในธรรมที่มีรูปแบบที่ชัดเจนและลึกซึ้งในพุทธศาสนา โดยมีพระมงคลเทพมุนีเป็นผู้ถ่ายทอดคำเทศนาเกี่ยวกับธรรมกายและพระรัตนตรัยอย่างละเอียด.

หัวข้อประเด็น

- พุทธรัตนะ
- ธรรมรัตนะ
- สังฆรัตนะ
- ลักษณะและขนาดของพระรัตนตรัย
- หลวงปู่วัดปากน้ำ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ชั้นที่ 1 พุทธรัตนะ คือธรรมกายโคตรภูหยาบ ธรรมรัตนะ คือดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายซึ่งอยู่ศูนย์กลางธรรมกายโคตรภู สังฆรัตนะ คือธรรมกายโคตรภูละเอียดซึ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมรัตนะนั้น ชั้นที่ 2 พุทธรัตนะ คือธรรมกายพระโสดาบันหยาบ ธรรมรัตนะ คือดวงธรรม ฯ ซึ่งอยู่ศูนย์กลางธรรมกายพระโสดาบันหยาบนั้น สังฆรัตนะ คือธรรมกายพระโสดาบันละเอียดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมรัตนะนั้น ชั้นที่ 3 พุทธรัตนะ คือธรรมกายพระสกทาคามีหยาบ ธรรมรัตนะ คือดวงธรรม ฯ ซึ่งอยู่ศูนย์กลางธรรมกายพระสกทาคามีหยาบนั้น สังฆรัตนะ คือธรรมกายพระสกทาคามีละเอียดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมรัตนะนั้น ชั้นที่ 4 พุทธรัตนะ คือธรรมกายพระอนาคามีหยาบ ธรรมรัตนะ คือดวงธรรม ฯ ซึ่งอยู่ศูนย์กลางธรรมกายพระอนาคามีหยาบนั้น สังฆรัตนะ คือธรรมกายพระอนาคามีละเอียดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมรัตนะนั้น ชั้นที่ 5 พุทธรัตนะ คือธรรมกายพระอรหัตหยาบ ธรรมรัตนะ คือดวงธรรม ฯ ซึ่งอยู่ศูนย์กลางธรรมกายพระอรหัตหยาบนั้น สังฆรัตนะ คือธรรมกายพระอรหัตละเอียดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมรัตนะนั้น นอกจากนี้หลวงปู่วัดปากน้ำยังกล่าวไว้ว่า ในธรรมกายพระอรหัตละเอียดยังมีพระรัตนตรัยคือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ อีกมากมายจนนับอสงไขยชั้นไปไม่ถ้วน 4.6 ลักษณะและขนาดของพระรัตนตรัยภายใน หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญได้แสดงพระธรรมเทศนาในกัณฑ์ที่ 1 ว่าด้วยการเจริญภาวนาสมถ วิปัสสนากรรมฐาน โดยได้กล่าวถึงลักษณะและขนาดของพระรัตนตรัยภายในแต่ละระดับไว้ดังนี้ ธรรมกายแต่ละระดับนั้นมีรูปเหมือนพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องดู เงาหน้า ได้ลักษณะมหาบุรุษครบทั้ง 32 ประการ งดงามไม่มีที่ติ ธรรมกายโคตรภูหยาบอันเป็นพุทธรัตนะนั้นมีขนาดของหน้าตักหย่อนกว่า 5 วา และสูงหย่อนกว่า 5 วา ขนาดของหน้าตัก หมายถึง ระยะห่างจากเข่าด้านหนึ่งถึงอีกด้านหนึ่งของธรรมกายซึ่งอยู่ในท่าขัด สมาธิเท้าขวาทับเท้าซ้าย ธรรมรัตนะของธรรมกายโคตรภูมีลักษณะกลมรอบตัว ใสบริสุทธิ์ มีขนาดเท่าหน้าตักธรรมกาย โคตรภูคือ หย่อนกว่า 5 วาเหมือนกัน ส่วนสังฆรัตนะคือธรรมกายโคตรภูละเอียดนั้นโตกว่าธรรมกาย โคตรภูหยาบ 5 เท่า พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)(2538), พระธรรมเทศนา 69 กัณฑ์, กัณฑ์ 36 ขันธปริตร หน้า 446. บ ท ที่ 4 4 พ ร ะ รั ต น ต ร ย : แ ก่ น ข อ ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 79
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More