ข้อความต้นฉบับในหน้า
ยังต้องมานั่งหาเงินจากกระเป๋าคนจนที่หวังโชคช่วยอยู่ข้างถนน พวกเจ้าทรงต่าง ๆ ก็ล้วนแต่ต้องปากกัด
ตีนต่อสู้กับความระทมทุกข์ทั้งสิ้น ยังไม่เห็นใครพ้นทุกข์จริงสักคน คนเหล่านี้จะเป็นที่พึ่งให้ผู้อื่นได้อย่างไรกัน
แล้วอะไรคือที่พึ่งที่แท้จริง
ท่านผู้รู้กล่าวไว้ว่า พระรัตนตรัยคือสรณะอันเกษม เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันเป็นเหตุให้พ้นจากปัญหา
ความกลัว และความทุกข์ได้ พระรัตนตรัยเป็นคำสอนหลักของพระพุทธศาสนา เป็นแก่นของพระพุทธศาสนา
พระรัตนตรัยเปรียบประดุจต้นไม้ใหญ่ที่ช่วยปกป้องแสงแดดคือความทุกข์ได้ แต่ทว่าจะเป็นเช่นนี้จริงหรือไม่
เป็นสิ่งที่นักศึกษาและชาวโลกทั้งหลายต้องมาพิสูจน์โดยการศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนด้วยตนเอง การ
บังคับให้เชื่ออย่างงมงาย ไม่ใช่แนวทางของพระพุทธศาสนา พระธรรมคุณที่ว่า “เอหิปัสสิโก เชิญมาพิสูจน์เถิด”
เป็นเครื่องยืนยันสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นได้เป็นอย่างดี
2.2 พระพุทธศาสนาคืออะไร
คำว่า “พระพุทธศาสนา” มาจากคำ 3 คำประกอบกันคือ พระ + พุทธ + ศาสนา คำว่า “พระ”
เป็นคำที่ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง คำว่า “พุทธ” แปลว่า ตรัสรู้เองไม่ใช่ผู้อื่นทำให้รู้" หมาย
ถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง คำว่า “ศาสนา” แปลว่า คำสอน ดังนั้นความหมายโดยรวมของคำว่า พระพุทธ
ศาสนา คือ คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ตรัสรู้เองไม่ใช่ผู้อื่นทำให้รู้ หลักคำสอนสำคัญของ
พระองค์ว่าด้วยเรื่องพระรัตนตรัย ได้แก่ พุทธรัตนะคือพระพุทธ ธรรมรัตนะคือพระธรรม และสังฆรัตนะ
คือพระสงฆ์
พระรัตนตรัยมี 2 ประเภทคือ พระรัตนตรัยภายในซึ่งมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน เป็นสรณะคือที่
พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดที่ช่วยให้พ้นทุกข์ได้และพระรัตนตรัยภายนอกอันเป็นสื่อที่ช่วยให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน
ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมคำสอนของพระองค์ และพระสงฆ์สาวกของพระองค์
โดยสรุปพระพุทธศาสนา คือ คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าด้วยเรื่องพระรัตนตรัยซึ่งเป็น
สรณะคือที่พึ่งอันเกษมที่ทำให้พ้นทุกข์ได้ และในพระธรรมคำสอนอันหลั่งออกมาจากพระรัตนตรัยภายใน
นั้นกล่าวถึง “อริยสัจ” อันเป็นความจริงของชีวิต แนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์สุขของ
มนุษย์แต่ละคนตลอดจนมวลมนุษยชาติ
คำว่า “พุทธศาสนา” ปรากฏครั้งแรกในวันที่พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง
ธรรมเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์แก่พระอรหันต์ 1,250 รูป ที่มาประชุมกันโดยไม่ได้นัดหมายในวันเพ็ญเดือน 3
- ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ, มก. เล่ม 39 หน้า 8.
12 DOU บ ท ที่ 2 ค ว า ม รู้ ทั่วไป ทาง พระ พุ ท ธ ศ า ส น า