ข้อความต้นฉบับในหน้า
อสงไขย แปลว่า นับไม่ได้ ดังบทว่า “อสงเขยุยา ได้แก่ ชื่อว่าอสงไขย เพราะใคร ๆ ไม่อาจนับได้
อธิบายว่า เกินที่จะนับ
หากเรานับจำนวนไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่หนึ่งไปจนถึงอสงไขยจะเป็นดังนี้คือ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9,
10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21
อสงไขย
ดังนั้นอสงไขยจึงเป็นตัวเลขที่นับไม่ได้ หรือ จำนวนที่นับไม่ได้ นั่นเอง
แต่ทั้งนี้ในไตรภูมิโลกวินิจฉัยกถาระบุว่า 1 อสงไขย = โกฏิยกกำลัง 20 = 10,000,000 หรือ มี
ค่าเท่ากับ “เลข 1 ตามด้วยเลข 0 จํานวน 140 ตัว”
=
หากถือเอานัยนี้แล้ว “อสงไขยแสนกัป” จะหมายถึง 10,000,000 กัป + 100,000 กัป
20 อสงไขยแสนกัป จะหมายถึง 20 X 10,000,0000 กัป + 100,000 กัป
40 อสงไขยแสนกัป จะหมายถึง 40 X 10,000,000 กัป + 100,000 กัป
80 อสงไขยแสนกัป จะหมายถึง 80 X 10,000,000 กัป + 100,000 กัป
นอกจากอสงไขยจะใช้นับจำนวนกัปแล้ว คำนี้ยังใช้นับจำนวนอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น อสงไขยปี หาก
ถือเอานัยของไตรภูมิโลกวินิจฉัยกถา อสงไขยปี = 10,000,00020
2) การสร้างบารมีก่อนได้รับพุทธพยากรณ์
พระสมณโคดมพุทธเจ้าจัดอยู่ในประเภทปัญญาธิกพุทธเจ้าคือยิ่งด้วยปัญญา จึงใช้เวลาในการ
สร้างบารมีน้อยกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเภทอื่น นั่นคือ ใช้เวลา 20 อสงไขยแสนกัป ในเวลาดังกล่าว
นี้แบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ
ช่วงแรก คือดำริในใจว่าปรารถนาพุทธภูมิ 7 อสงไขยกัป
ช่วงที่สอง คือเปล่งวาจาให้คนอื่นรับรู้ว่าปรารถนาพุทธภูมิ 9 อสงไขยกัป
ช่วงที่สาม คือหลังจากได้รับพุทธพยากรณ์แล้วอีก 4 อสงไขยแสนกัป
ดังนั้นระยะเวลาการสร้างบารมีก่อนได้รับพุทธพยากรณ์จึงมีทั้งหมด 16 อสงไขยกัป ซึ่งเป็น
ระยะเวลาที่ยาวนานมากทีเดียว แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียง 2 ชาติคือ พระปฐมชาติที่ตั้งความปรารถนา
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระปฐมชาติที่เปล่งวาจาว่าปรารถนาพุทธภูมิ
2.1) พระปฐมชาติที่ตั้งความปรารถนาพุทธภูมิ
2
3
ชินกาลมาลีปกรณ์ บันทึกเรื่องนี้เอาไว้ซึ่งสรุปความได้ว่า ในครั้งอดีตกาล ท่านเกิดเป็นคนยากจน
1 มธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย พุทธวงศ์, มก. เล่ม 73 หน้า 140.
- พระธรรมกิตติวงศ์ (2548), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ ชุดคำวัด, หน้า 1285.
* พระรัตนปัญญาเถระ (2540), ชินกาลมาลีปกรณ์, แปลโดย ศาสตราจารย์ ร.ต.ท.แสง มนวิทูร หน้า 156-157
ชินกาลมาลี แปลความว่า พวงมาลัยที่เป็นระเบียบกาลเวลาแห่งพระพุทธ, ปกรณ์ แปลว่า คัมภีร์ ชินกาลมาลี
ปกรณ์นี้ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาบาลี รจนาโดย พระรัตนปัญญาเถระ เป็นชาวเชียงราย ท่านรจนาคัมภีร์นี้จบใน พ.ศ. 2060 ข้อมูล
ที่ใช้เรียบเรียงได้มาจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถาต่าง ๆ
124 DOU บทที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุทธเจ้า