ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในชาติหลังสุดนี้ได้เกิดเป็นธิดาของธนญชัยเศรษฐี ผู้เป็นบุตรแห่งเมณฑกเศรษฐี ในภัททิยนคร
แคว้นอังคะ ซึ่งเป็นแคว้นที่อยู่ในการปกครองของพระเจ้าพิมพิสารมหาราชแห่งแคว้นมคธ บิดามารดาได้
ตั้งชื่อนางว่า “วิสาขา” เมื่อนางมีอายุได้ 7 ขวบ พระทศพลทรงเห็นอุปนิสัยของผู้จะตรัสรู้ในนครนี้จึง
เสด็จจาริกไปโปรด จากการได้ฟังธรรมครั้งนั้นนางวิสาขาผู้มีอายุเพียง 7 ขวบ ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน
ลักษณะเบญจกัลยาณี
นางวิสาขาเป็นหญิงที่สั่งสมบุญมามากจึงถึงพร้อมด้วยความงาม 5 ประการ เรียกว่า เบญจกัล
ยาณี คือ ผมงาม, ริมฝีปากงาม, ฟันงาม, ผิวงาม, และ วัยงาม
ผมงาม คือ ผมมีลักษณะเหมือนกับกำหางนกยูง เมื่อแก้ผมปล่อยระชายผ้านุ่งแล้ว ปลายผมก็จะ
งอนขึ้นตั้งอยู่อย่างสวยงาม แม้ภายหลังนางวิสาขาจะมีอายุ 120 ปีแล้ว แต่ผมหงอกบนศีรษะแม้เส้นหนึ่ง
ก็ไม่มี
ริมฝีปากงาม คือ ริมฝีปากเป็นเหมือนกับผลตำลึงสุกเรียบชิดสนิทดี
ฟันงาม คือ ฟันขาวเรียบไม่ห่างกัน งามดุจระเบียบแห่งเพชรและสังข์ที่ขัดสีแล้ว
ผิวงาม ลักษณะของผิวงามมี 2 แบบคือ หากผิวขาวก็ขาวประดุจพวงดอกกรรณิการ์ หากผิวดำ
ก็ดำสนิทเหมือนพวงอุบลเขียว โดยไม่ต้องลูบไล้ด้วยเครื่องประเทืองผิวใด ๆ ในอรรถกถาไม่ได้ระบุว่าผิว
ของนางวิสาขาเป็นแบบใด
วัยงาม คือ แม้คลอดแล้วตั้ง 10 ครั้ง ก็เหมือนคลอดครั้งเดียวยังสาวพริ้งอยู่ทีเดียว เป็นประหนึ่ง
เด็กหญิงรุ่นอายุราว 16 ปีเป็นนิตย์
แต่งงานกับปุณณวัฒนกุมาร
เมื่อนางวิสาขาอายุได้ 15-16 ปี ก็ได้แต่งงานกับบุตรของมิคารเศรษฐี ชื่อว่าปุณณวัฒนกุมาร ใน
กรุงสาวัตถี ในวันส่งธิดาไปธนญชัยเศรษฐีได้ให้ทรัพย์แก่นางถึง 54 โกฏิ และให้เครื่องประดับชื่อ
มหาลดาประสาธน์อันมีค่า 9 โกฏิด้วย ซึ่งเป็นเครื่องประดับที่ทำจากรัตนะต่าง ๆ ได้แก่ เพชร 4 ทะนาน
แก้วมุกดา 11 ทะนาน, แก้วประพาฬ 20 ทะนาน, แก้วมณี 33 ทะนาน เป็นต้น เครื่องประดับนี้เป็นผล
บุญที่เกิดจากการถวายจีวรเป็นทาน ได้แก่ การถวายจีวรเนื่องในโอกาสงานทอดกฐิน เป็นต้น อรรถกถา
บันทึกไว้ว่า “จีวรทานของหญิงทั้งหลาย ย่อมถึงที่สุดด้วยเครื่องประดับชื่อมหาลดาประสาธน์ จีวรทาน
ของบุรุษทั้งหลาย ย่อมถึงที่สุดด้วยบาตรและจีวรอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์” ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมา
สัมพุทธเจ้า นางวิสาขาได้ถวายจีวรแก่ภิกษุ 2 หมื่นรูป ผลแห่งจีวรทานนั้นทำให้นางได้เครื่องประดับดังกล่าว
และก่อนส่งตัวนางวิสาขาไปยังตระกูลของสามี ธนญชัยเศรษฐีได้ให้โอวาทนางว่า “แม่ ธรรมดา
หญิงผู้อยู่ในสกุลผัว รักษามรรยาทนี้และนี้จึงจะควร” คือ
(1) ไม่ควรนำไฟภายในออกไปภายนอก คือ อย่านำเรื่องไม่ดีภายในเรือนเกี่ยวกับพ่อผัวแม่ผัว
และสามีไปเล่าให้คนภายนอกฟัง
ที่
บทที่ 8 อุ บ า ส ก อุบาสิกา : ผู้นั่งใกล้ พระรัตนตรัย DOU 235