ข้อความต้นฉบับในหน้า
วันเข้าพรรษาจึงมี 2 วัน คือ วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 อันเป็นปุริมพรรษา และ วันแรม 1 ค่ำเดือน 9
อันเป็นปัจฉิมพรรษา
ออกพรรษา
7.8.5 วันออกพรรษา
ออกพรรษา หมายถึง การพ้นกำหนดระยะเวลาการเข้าพรรษา คือ ครบ 3 เดือนแล้ว
ออกพรรษาไม่ต้องกล่าวคำอธิษฐานเหมือนเข้าพรรษา เมื่อครบกำหนด 3 เดือนแล้วก็เป็นอัน
ออกพรรษามีระยะกาลออก 2 ครั้ง เหมือนเข้าพรรษา คือ ถ้าเข้าปุริมพรรษาวันแรม 1 ค่ำเดือน
8 ออกพรรษาก็เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ถ้าเข้าปัจฉิมพรรษา ออกพรรษาก็เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12
ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง
ในวันออกพรรษาพระวินัยกำหนดให้พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาทำปวารณาก่อนที่จะแยกย้ายกันไป
อันเป็นพิธีเกี่ยวกับการยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน วันออกพรรษาจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
วันปวารณา
7.8.6 วันทอดกฐิน
กฐิน เป็นภาษาพระวินัย เป็นชื่อเรียกผ้าพิเศษที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่
จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้วรับมานุ่งห่มได้
กฐิน แปลตามศัพท์ว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้หรือไม้แบบสำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร ผ้าที่เย็บ
สำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน การเย็บจีวรด้วยไม้สะดึงนี้เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์
ในสมัยพุทธกาล ซึ่งภิกษุหลายรูปจะต้องช่วยกันเย็บจีวรของกันและกัน
ทอดกฐิน คือ การทำพิธีถวายผ้ากฐินแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาครบ 3 เดือน ณ วัดใดวัดหนึ่ง
กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นไม่ได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน
คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือ ระยะ
เวลาทอดกฐินหรือเทศกาลทอดกฐิน
ส่วนวัดไหนจะกำหนดให้มีพิธีทอดกฐินวันไหนก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายในระยะเวลาดังกล่าว
วันสำคัญของพระสงฆ์ที่กล่าวมานี้อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือ “คำวัด พจนานุกรมเพื่อการศึกษา
พุทธศาสน์” เรียบเรียงโดยพระธรรมกิตติวงศ์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พุทธศักราช 2548
กิจกรรม
หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 7 พระสงฆ์ : สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จบโดยสมบูรณ์แล้ว
โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 7 ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 7
แล้วจึงศึกษาบทที่ 8 ต่อไป
216 DOU บ ท ที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า