สภาพสังคมอินเดียก่อนการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 240
หน้าที่ 240 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เน้นเกี่ยวกับสภาพสังคมอินเดียในช่วงก่อนการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในสถานะของพราหมณ์มากมายที่หันมาเป็นอุบาสกและอุบาสิกา รวมถึงความสำคัญของชนชั้นสามัญและเศรษฐีในพระพุทธศาสนาที่มีบทบาทในการสนับสนุนปัจจัย 4 ให้กับพระภิกษุสามเณร ในสายตาของผู้รู้กลุ่มนี้ เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี ซึ่งต่อมามีชื่อเสียงในด้านการถวายทานที่เลิศกว่าอุบาสกทั่วไป

หัวข้อประเด็น

-อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์
-บทบาทของอุบาสกและอุบาสิกา
-ความสำคัญของชนชั้นในสังคมอินเดีย
-ประวัติของอนาถบิณฑิกเศรษฐี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สภาพสังคมอินเดียก่อนการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ตกอยู่ในอิทธิพลทางความเชื่อ ของศาสนาพราหมณ์ แต่เมื่อพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นแล้ว เหล่าพราหมณ์ผู้นำลัทธิและผู้ปกครองหันมา ปฏิญาณตนเป็นอุบาสก อุบาสิกากันจำนวนมาก ได้แก่ โปกขรสาติพราหมณ์ผู้ปกครองนครอุกกัฏฐะ โสณทัณฑะผู้ปกครองนครจำปา กูฏทันต พราหมณ์ผู้ปกครองบ้านขานุมัตตะ จังกีพราหมณ์ผู้ปกครองบ้านโอปาสาทะ โลหิจจะผู้ปกครองบ้าน สาลวติกา พราหมณ์พาวรีและลูกศิษย์ผู้เป็นเจ้าลัทธิ 16 ท่านแห่งเมืองอัสสกะ นอกจากนี้ยังมีพราหมณ์ ผู้มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน เช่น ชานุโสนี พรหมายุ สุภมาณพ กาปทุกมาณพ อุคคตสรีระ เป็นต้น หลายคน เป็นนักบวชผู้ทรงภูมิรู้ ต้องการมาต่อกรกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เมื่อได้ฟังธรรมจากพระองค์แล้วก็หัน มาเลื่อมใส เช่น สัจจกนิครนถ์ เป็นต้น 3) วรรณะแพศย์ เป็นพลเมืองทั่วไป มีอาชีพทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ช่างฝีมือ ค้าขาย ซึ่งจัด เป็นชนชั้นสามัญ เศรษฐีสำคัญ ๆ ที่เป็นอุบาสก อุบาสิกาในพระพุทธศาสนาก็จัดอยู่ในวรรณะนี้ ได้แก่ โชติก เศรษฐี ชฎิลเศรษฐี เมณฑกเศรษฐี อนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาอุบาสิกาวิสาขา เป็นต้น เศรษฐี 3 ท่านแรก ร่ำรวยมากถึงระดับที่มีสมบัติตักไม่พร่อง สามารถเลี้ยงคนได้ทั้งโลก คนในวรรณะแพศย์โดยเฉพาะมหาเศรษฐี ทั้งหลายจึงเป็นกองเสบียงสำคัญที่ช่วยสนับสนุนปัจจัย 4 แก่พระภิกษุสามเณร 4) วรรณะศูทร เป็นพวกกรรมกรหรือคนใช้ซึ่งทำงานหนัก ได้แก่พวกทาส 4 จำพวก คือ ทาสที่ เกิดภายในเรือน, ทาสที่ซื้อมาด้วยทรัพย์, ผู้ที่สมัครเข้ามาเป็นทาส, เชลยที่เข้าถึงความเป็นทาส พวกนี้จัด เป็นชนชั้นต่ำ คนในวรรณะศูทรเหล่านี้จะทำงานให้แก่กษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง เศรษฐีบ้าง เมื่อเจ้านายเลื่อม ใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก็เป็นเหตุให้ตนศรัทธาไปด้วย เช่น นายปุณณะทาสของเมณฑกเศรษฐี และ นายปุณณะทาสของราชคหเศรษฐี คนหลังนี้ชาวพุทธรู้จักกันในนามชายผู้ไถนาเป็นทองคำ เพราะบุญที่ตน และภรรยาได้ถวายน้ำและภัตตาหารแก่พระสารีบุตรเถระซึ่งเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ 8.5.2 อุบาสก อุบาสิกาคนสำคัญในสมัยพุทธกาล อุบาสก อุบาสิกาที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลมีหลายท่านทั้งที่เป็นพระราชา พราหมณ์ และเศรษฐี ได้แก่ พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าอชาตศัตรู โชติกเศรษฐี ชฎิล เศรษฐี เมณฑกเศรษฐี อนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาอุบาสิกาวิสาขา เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียง 2 ท่านคือ อนาถบิณฑิกเศรษฐี และมหาอุบาสิกาวิสาขา 1) อนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นเอตทัคคะคือเลิศกว่าอุบาสกทั้งหลายผู้ถวายทาน อรรถกถาบันทึก ไว้ว่า ท่านตั้งความปรารถนาเพื่อเป็นเอตทัคคะด้านนี้ในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ในชาตินั้นท่านเกิดใน กรุงฟังสวดี ได้ฟังธรรมจากพระศาสดา เห็นพระพุทธองค์ทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่งในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ถวายทาน ท่านปรารถนาตำแหน่งนั้นบ้าง จึงสร้างบุญบารมีอย่างยิ่งยวดแล้ว 8 230 DOU บ ท ที่ 8 อุ บ า ส ก อุบาสิกา : ผู้นั่ง ใกล้ พระรัตนตรัย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More