ข้อความต้นฉบับในหน้า
อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ชาวอินเดียจำนวนมากจากทุกชั้นวรรณะ ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และ
ศูทร ละทิ้งความเชื่อดั้งเดิมในศาสนาพราหมณ์ที่หยั่งรากลึกอยู่ในสังคมมาหลายพันปีแล้วหันมานับถือ
พระพุทธศาสนา
หลังพุทธปรินิพพานแล้วพระพุทธศาสนาในอินเดียก็เจริญรุ่งเรืองอยู่ยาวนาน โดยเฉพาะในยุค
พระเจ้าอโศกมหาราชถือว่าเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงส่งสมณทูต 9 สายไปประกาศ
พระศาสนายังดินแดนต่าง ๆ นอกอินเดีย ทำให้พระพุทธศาสนาแผ่ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ อย่างกว้าง
ขวาง และส่งผลสะเทือนไปทั้งเอเชียและยุโรป
แม้พระสัทธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้จะเป็นสัจธรรมที่ไม่เสื่อมไปตามกาลเวลา บุคคลที่
ปฏิบัติตามคำสอนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ก็จะยังให้เกิดปฏิเวธ คือการบรรลุธรรมในระดับ
ต่าง ๆ ได้อย่างแน่นอน แต่พุทธบริษัทในอินเดียยุคต่อมาเน้นปริยัติใช้จินตามยปัญญา (ความรู้คิด) ในการ
ศึกษาพระธรรมวินัยหย่อนการปฏิบัติธรรม (ขาดความรู้แจ้ง) ทำให้ความรู้ในพระธรรมวินัยไม่ถูกต้องสมบูรณ์
มีความเห็นในพระธรรมวินัยต่างกันตามความคิดและประสบการณ์ของแต่ละคน ทำให้ศาสนาพุทธ
แตกออกเป็นนิกายต่าง ๆ มากมาย เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาอ่อนแอลง จนไม่อาจจะต้านทานการ
รุกรานจากต่างศาสนาคือฮินดูและอิสลามได้ ประมาณ 1700 ปีหลังพุทธปรินิพพานพระพุทธศาสนาจึง
สูญสิ้นไปจากอินเดีย
ถึงแม้พระพุทธศาสนาจะสูญสิ้นไปจากอินเดียแล้ว แต่ก็ยังไม่สูญหายไปจากโลก เพราะผลจาก
การเผยแผ่ของสมณทูต 9 สายในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช และการเผยแผ่ของชาวพุทธในยุคต่อมา ได้ทำให้
พระพุทธศาสนาไปเจริญรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนอื่น ๆ แทนทั้งเถรวาททางสายใต้ เช่น ศรีลังกา ไทย พม่า กัมพูชา
ลาว และมหายานทางสายเหนือ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น ชาวพุทธในประเทศเหล่านี้ได้
กลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียขึ้นใหม่ ปัจจุบันจำนวนพุทธศาสนิกชนในอินเดียเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
นอกจากนี้เมื่อประเทศใดมีทีท่าว่าพระพุทธศาสนาจะเสื่อมสูญด้วยภัยต่าง ๆ ก็จะได้รับความช่วยเหลือ
จากชาวพุทธประเทศต่างๆ หมุนเวียนกันไปด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนาจึงคงอยู่คู่โลกมาได้ตราบกระทั่งปัจจุบัน
2.5 ลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนามีลักษณะพิเศษมากมาย แต่ในที่นี้จะกล่าวเพียง 4 ประการซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวโลก
สัมผัสได้ทั่วไป ยังไม่เจาะลึกถึงธรรมขั้นสูงที่จะพิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติธรรม ลักษณะพิเศษเหล่านี้จะกล่าว
เปรียบเทียบกับศาสนาอื่น ๆ โดยเฉพาะศาสนาเทวนิยมซึ่งนับถือเทวดาหรือพระเจ้าเป็นที่พึ่ง โดยจะนำ
ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงมาอ้างอิง บางประเด็นก็จะเปรียบเทียบกับความรู้ทางโลก การเปรียบเทียบนี้ไม่มี
วัตถุประสงค์ในการว่าร้ายศาสนาอื่นแล้วสรรเสริญศาสนาของตน แต่เป็นเพียงการนำสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมา
18 DOU บ ท ที่ 2 ค ว า ม รู้ ทั่วไป ทาง พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
บ ท