ข้อความต้นฉบับในหน้า
ขั้นตอนการบรรพชากุลบุตรเป็นสามเณรในสมัยพุทธกาลมีเพียงเท่านี้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมี
การเพิ่มพิธีกรรมย่อยต่างๆ เข้ามา เพื่อให้ผู้ขอบวชได้บุญกุศลเพิ่มขึ้น และเพื่อให้การบรรพชามีความศักดิ์สิทธิ์
มากขึ้น แต่รูปแบบพิธีกรรมจะต่างกันไปตามประเพณีท้องถิ่นหรือตามแต่วัดต่าง ๆ จะเห็นเหมาะสม
ตัวอย่างเช่นขั้นตอนการบรรพชาของวัดพระธรรมกาย จะมีพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นลำดับดังนี้คือ
พิธีเวียนประทักษิณรอบพระอุโบสถ, พิธีวันทาสีมา, พิธีวันทาพระประธาน, พิธีขอขมาและรับผ้าไตร, พิธี
ขอบรรพชา จากนั้นก็จะถึงพิธีขอถึงไตรสรณคมน์และขอศีล สุดท้ายก็จะเป็นพิธีรับบาตร หากเป็นการ
อุปสมบทคือ “บวชเป็นพระภิกษุ” ก็จะมีพิธีขอนิสสัย ขออุปสมบท และพิธีรับอนุศาสน์เป็นลำดับต่อไป
7.5.2 วิธีการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
การอุปสมบทเป็นพระภิกษุนั้นมีวิธีการหลัก ๆ 3 วิธีคือ เอหิภิกขุอุปสัมปทา, ติสรณคมนูปสัมปทา
และ ญัตติจตุตถกรรมวาจา ดังนี้
1) เอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นการอุปสมบทโดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอุปัชฌาย์ ผู้ที่ได้
รับการอุปสมบทด้วยวิธีนี้รูปแรกคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ กล่าวคือ เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรอันเป็นปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์หรือนักบวช 5 รูป ได้แก่ ท่านโกณฑัญญะ เป็นต้น
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี ในครั้งนั้นท่านโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน
เมื่อท่านได้บรรลุธรรมแล้วก็ได้ทูลต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ขอข้าพระองค์จึงได้บรรพชา จึงได้อุปสมบท
ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าพระพุทธเจ้าข้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรม
อันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”
ด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ท่านโกณฑัญญะก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์
ในกรณีที่ผู้ขออุปสมบทได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว เช่น ยสกุลบุตร เป็นต้น พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าก็จะไม่ตรัสประโยคที่ว่า “เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด” แต่ตรัสเพียงว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด
ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด”
2) ติสรณคมนูปสัมปทา คือ การอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์นั่นเอง เป็นการบวชที่มีพระสาวก
เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งมีวิธีการเดียวกันกับการบวชเป็นสามเณร แต่ผู้บวชจะต้องถือศีลของพระภิกษุ การ
อุปสมบทวิธีนี้สืบเนื่องมาจากมีกุลบุตรผู้ปรารถนาจะบวชแต่อยู่ในชนบทอันห่างไกล พระภิกษุที่อยู่ในถิ่น
นั้น ๆ ต้องพากุลบุตรเหล่านั้นเดินทางรอนแรมมาเพื่อให้พระพุทธองค์บวชให้ จึงได้รับความลำบากมาก ด้วย
เหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้พระสาวกในท้องถิ่นนั้น ๆ ทำหน้าที่เป็นพระอุปัชฌาย์ให้การบรรพชา
และอุปสมบทแก่กุลบุตรได้
3
พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1, มก. เล่ม 6 ข้อ 18 หน้า 50.
2 พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1, มก. เล่ม 6 ข้อ 28 หน้า 67.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1, มก. เล่ม 6 ข้อ 34 หน้า 73
190 DOU บ ท ที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า