ข้อความต้นฉบับในหน้า
ที่มาของบัญญัติ 10 ประการในศาสนายิว ได้แก่ อย่ามีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากเรา และเรื่องระเบียบ
วินัยสำหรับอยู่ร่วมกันในหมู่คณะ
3) อธิบายพุทธคุณบทว่า วิชชาจรณสมฺปนฺโน
คำว่า วิชชาจรณสมฺปนฺโน แปลว่า ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
คำว่า วิชชา แปลว่า ความรู้แจ้ง ได้แก่ วิชชา 8 ความรู้แจ้งนั้นเป็นความรู้ที่เกิดจากการ
เจริญสมาธิภาวนา ต่างจากความรู้ทั่วไปที่เกิดจากการฟัง การอ่าน หรือ การคิด
คำว่า จรณะ แปลว่า ความประพฤติ จรณะนั้นมี 15 ประการ
วิชชา 8 ได้แก่
(1) วิปัสสนาญาณ ความเห็นแจ้ง เห็นวิเศษ หมายถึง พระพุทธองค์ทรงเห็นแจ้งในสภาว
ธรรมตรงตามความเป็นจริง เช่น เห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา และยังทำให้
สรรพสัตว์ ทั้งหลายต้องติดอยู่ในวัฏสงสาร ต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จักจบสิ้น การเห็นแจ้งนั้น
ไม่ใช่จะมองเห็นได้ด้วยตามนุษย์ แต่พระพุทธองค์ทรงรู้เห็นได้ด้วยตาของพระธรรมกาย
(2) มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ คือ จะนึกให้เป็นอย่างไร ก็เป็นไปตามที่นึกได้
(3) อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่น เนรมิตกายคนเดียวเป็นหลายคนได้
(4) ทิพพโสต มีหูทิพย์ ฟังเสียงต่าง ๆ ได้หลากหลายและได้ยินเสียงจากที่ห่างไกลได้
(5) เจโตปริยญาณ คือ รู้วาระจิตของผู้อื่น
(6) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ความรู้ที่สามารถระลึกชาติหนหลังได้
(7) ทิพพจักษุ คือ ตาทิพย์ สามารถมองเห็นทุกสิ่งได้หมด ไม่ว่าจะอยู่ใกล้ไกลอย่างไร และ
ระลึกชาติหนหลังของสัตว์อื่นได้
(8) อาสวักขยญาณ คือ ความรู้แจ้งที่ทำลายอาสวะให้หมดสิ้น
จรณะ 15 ได้แก่
(1) ศีลสังวร คือ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ (2) อินทรีย์สังวร คือ ความสำรวมอินทรีย์ทั้ง
6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (3) โภชเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณในการบริโภค (4) ชาคริยานุโยค คือ
การประกอบความเพียรที่ทำให้เป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ ข้อ (5) - (15) โดยสรุปคือ พระพุทธองค์ทรงมีสติปัญญา
และศีลาจารวัตรที่งดงาม ทรงประพฤติปฏิบัติจรณะทั้ง 15 ประการมามากมายหลายภพหลายชาติ จรณะ
เหล่านี้เป็นพื้นฐานที่ทำให้พระองค์มีความหนักแน่น มั่นคงอย่างต่อเนื่องในการสร้างบารมี จนกระทั่งบรรลุ
พระสัมมาสัมโพธิญาณตามความปรารถนาที่ตั้งใจไว้
โดยสรุปแล้ว วิชชาจรณสมฺปนฺโน คือ ถึงพร้อมทั้งความรู้ดีและความประพฤติดีนั่นเอง ครู
1 รศ.ฟื้น ดอกบัว.(2539), ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 56-57.
บ ท ที่ 5
5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 103