ข้อความต้นฉบับในหน้า
สังคายนาจึงเสนอว่า ให้ถือปฏิบัติในสิกขาบทอันเป็นพุทธบัญญัติทั้งหมด ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหมดก็เห็นชอบ
ด้วย จึงถือเป็นข้อปฏิบัติของชาวพุทธมาจนปัจจุบัน
การประชุมสังคายนาทุกครั้งมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษา “พระธรรมวินัยดั้งเดิม” เอาไว้เพราะเป็นสิ่ง
ที่สมบูรณ์แล้ว ไม่ต้องปรับปรุงหรือวิจัยพัฒนาอย่างงานวิชาการทางโลก เนื่องจากความรู้ทางโลกเป็น
ความรู้ที่ยังไม่สมบูรณ์ เพราะมาจากสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญาเป็นหลัก ไม่ได้เกิดจากความรู้แจ้ง
ด้วยภาวนามยปัญญาอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ส่วนการสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้วนั้นมีความหมายที่
ฉะนั้น
ชัดเจนอยู่แล้วคือ หากภิกษุเพียงท่องจำพุทธบัญญัติและคำสอนต่างๆไว้เฉยๆ แต่ไม่ปฏิบัติก็จะไม่เกิดประโยชน์
ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้เปรียบเสมือนคนเลี้ยงโคที่ไม่รู้รสชาติของน้ำนมโคเพราะไม่ได้ดื่ม
สำหรับกฎหมายทางโลกนั้นผู้ร่างกฎหมายยังไม่หมดกิเลสและความรู้ยังไม่สมบูรณ์ จึงต้องอาศัย
การระดมความคิด ตัดสินด้วยเสียงส่วนใหญ่ และมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะๆ แต่ก็ต้องทำใจว่า กฎหมาย
และรัฐธรรมนูญในทางโลกไม่ศักดิ์สิทธิ์ อยู่ได้ไม่นาน เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามสถานการณ์การเมือง ต่าง
กับพุทธบัญญัติที่คงอยู่มาได้กว่า 2,500 ปีแล้ว
7.7.4 เคารพพระภิกษุผู้เป็นปริณายกของสงฆ์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ยังจักสักการะและเคารพนับถือ บูชา พระภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นพระเถระผู้รู้กาลนาน ผู้บวชมาแล้วนาน ผู้เป็นบิดาของสงฆ์ เป็นปริณายกของสงฆ์ และยังจักเชื่อถือ
โอวาทที่พึงฟังของท่านด้วย ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อม
มิได้
ในข้อนี้พระพุทธองค์ทรงเน้นให้ภิกษุเคารพ “ปริณายกของสงฆ์” คือผู้นำสงฆ์นั่นเอง หลังพุทธ
ปรินิพพานได้ไม่นาน ปริณายกของสงฆ์ในครั้งนั้นก็คือ พระมหากัสสปเถระ ท่านเป็น “สังฆเถระของภิกษุ
ประมาณเจ็ดแสนรูปที่ประชุมกันในวันแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า” คำว่า “สังฆเถระ”
หมายถึง “ภิกษุผู้เป็นเถระในสงฆ์ คือเป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์, ภิกษุผู้มีพรรษามากกว่าภิกษุอื่นในชุมชน
นั้นทั้งหมด” จะเห็นว่ามีความหมายอย่างเดียวกันกับการเป็นปริณายกของสงฆ์ และพระมหากัสสปะเอง
ก็เป็นผู้นำในการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 1 ด้วย
เหตุที่พระองค์ทรงย้ำให้ภิกษุเคารพในภิกษุผู้เป็นปริณายกของสงฆ์นั้น นอกจากเพื่อประโยชน์
ต่อการได้รับฟังโอวาทจากท่านแล้ว ยังเพื่อประโยชน์ต่อความสามัคคีของหมู่สงฆ์ด้วย เพราะมีตัวอย่าง
เกิดขึ้น ช่วงหลังจากที่พระมหากัสสปะนำภิกษุ 500 รูปสังคายนาเสร็จแล้ว พระปุราณะพร้อมภิกษุบริวาร
อีก 500 รูปมาภายหลัง มีความเห็นไม่ตรงกับพระมหากัสสปะและไม่มีความเคารพในมหากัสสปะผู้เป็น
1 สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, มก. เล่ม 11 หน้า 70.
* พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (2549), พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์, (ออนไลน์)
212 DOU
บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เ จ้ า