การอุปสมบทในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 203
หน้าที่ 203 / 270

สรุปเนื้อหา

การอุปสมบทในพระพุทธศาสนามีข้อกำหนดและข้อจำกัดหลายประการ เช่น ผู้ประสงค์จะบวชต้องมีพระอุปัชฌาย์และบริขารครบถ้วน นอกจากนี้ยังมีบุคคลบางประเภทที่ไม่สามารถบวชได้ เช่น ผู้ที่ทำอนันตริยกรรม หรือมีปัญหาเกี่ยวกับพระอุปัชฌาย์ ในกรณีของสตรีในนิกายเถรวาทไม่สามารถบวชได้ เพราะไม่มีภิกษุณีสงฆ์เพียงพอ การอยู่ปริวาสก็เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับผู้ที่เคยเป็นเดียรถีย์และต้องการเข้ามาในพระพุทธศาสนาโดยต้องผ่านการเตรียมตัวก่อน

หัวข้อประเด็น

-การอุปสมบทในพระพุทธศาสนา
-ผู้ประสงค์จะบวช
-ข้อจำกัดในการบวช
-พระภิกษุและพระภิกษุณี
-อนันตริยกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ด้วยเหตุนี้ในขั้นตอนการอุปสมบทจึงมีการถามก่อนว่า ผู้ประสงค์จะบวชเป็นมนุษย์หรือไม่ ดังคำว่า “มนุสโสสี” และคำเรียกผู้ประสงค์จะบวชว่า “นาค” นั้นก็มีเหตุมาจากเรื่องนี้ และในปัจจุบันสตรีก็ไม่อาจบวชเป็นสามเณรีหรือเป็นภิกษุณีในนิกายเถรวาทได้ เพราะการบวช สตรีตามพุทธบัญญัตินั้น ต้องบวชด้วยสงฆ์ 2 ฝ่ายคือ ภิกษุสงฆ์ และ ภิกษุณีสงฆ์ เมื่อภิกษุณีสงฆ์ในนิกาย เถรวาทไม่มีแล้ว สตรีจึงไม่อาจจะบวชได้อีก ประเภทที่ 2 ผู้ที่เคยทำอนันตริยกรรม 1) ผู้ที่ฆ่าบิดา 2) ผู้ที่ฆ่ามารดา 3) ผู้ที่ฆ่าพระอรหันต์ 4) ผู้ที่ทำร้ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนถึง ห้อพระโลหิต 5) ผู้ที่ทำสังฆเภทคือทำสงฆ์ให้แตกกัน ประเภทที่ 3 ผู้ที่ทำผิดต่อพระพุทธศาสนา 1) ผู้ที่เคยต้องอาบัติปาราชิก หมายถึง ผู้ที่เคยบวชแล้วแต่ทำผิดร้ายแรงถึงระดับที่ขาดจาก ความเป็นพระภิกษุ บุคคลประเภทนี้จะกลับมาบวชอีกไม่ได้ 2) ผู้ที่ทำร้ายภิกษุณี 3) คนลักเพศ หมายถึง ปลอมบวชคือเอาผ้าเหลืองมาห่มเองโดยไม่มีพระอุปัชฌาย์ 4) ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ หมายถึง พระภิกษุสามเณรที่เปลี่ยนไปเป็นนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ส่วนผู้ที่เคยเป็นเดียรถีย์มาก่อนแต่ต้องการจะบวชในพระพุทธศาสนา สามารถทำได้โดยจะต้องอยู่ปริวาส 4 เดือนก่อนแล้วจึงบวชได้ ปริวาสเป็นพิธีกรรมสงฆ์อย่างหนึ่งปกติพระภิกษุจะอยู่ปริวาสเพื่อแก้ไขและทบทวนความผิดพลาด ในเรื่องศีลของตน จะได้สำรวมระวังต่อไป แต่ในที่นี้เป็นการอยู่ปริวาสเพื่อเตรียมตัวเตรียมใจสำหรับละ วัตรปฏิบัติเดิมและหันมาปฏิบัติตามกิจของนักบวชในพระพุทธศาสนา 2) ผู้ที่ไม่ควรได้รับการอุปสมบท พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงผู้ที่ไม่ควรได้รับการอุปสมบทไว้ 20 ประการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทแรก ได้แก่ ผู้ที่ไม่มีพระอุปัชฌาย์ หรือ ผู้ที่พระอุปัชฌาย์มีปัญหา เช่น พระอุปัชฌาย์เป็นกะเทย, ไปเข้ารีตเดียรถีย์, พระอุปัชฌาย์เป็นปาราชิก เป็นอุภโตพยัญชนก เป็นลักเพศ ประเภทที่สอง ได้แก่ ผู้ที่ ไม่มีบริขารเป็นของตนเอง คือ ไม่มีบาตรและจีวร บุคคลเหล่านี้ไม่ควรให้บวช หากภิกษุรูปใดบวชให้จะ ต้องอาบัติทุกกฏ แต่เมื่อใดบุคคลเหล่านี้สามารถหาพระอุปัชฌาย์ที่เหมาะสมได้และหาบริขารได้แล้วก็ สามารถอุปสมบทได้ 3) ผู้ที่ไม่ควรได้รับการบรรพชา ผู้ที่ไม่ควรได้รับการบรรพชานั้นถือว่าเป็นผู้ไม่ควรได้รับการอุปสมบทด้วย เพราะอุปสมบทกรรม เป็นพิธีที่ต้องผ่านการบรรพชามาก่อน บุคคลที่ไม่ควรได้รับการบรรพชาแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ ผู้ที่มี พระวินัยปิฎก มหาวรรค, ภาค 1 มก. เล่ม 6 ข้อ 133 หน้า 335-336. บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 193
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More