ข้อความต้นฉบับในหน้า
ล่วงหน้าแล้วจึงกระทำ เจตนาจึงจัดเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการกระทำ
กรรมนี้สามารถแสดงออกมาได้ 3 ทาง ได้แก่ การกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ และ
กรรมนั้นแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายกุศลกรรม และฝ่ายอกุศลกรรม โดยกุศลกรรมนั้นหากบุคคลใด
สั่งสมเพิ่มพูนจนถึงที่สุดแล้วก็จะหลุดพ้นจากไตรวัฏและสังสารวัฏได้ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
ส่วนอกุศลกรรมเป็นกรรมที่ส่งผลให้มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายติดอยู่ในวังวนแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
อยู่ร่ำไป
(1) ฝ่ายกุศลกรรม หมายถึง กรรมฝ่ายดี เป็นการกระทำที่บุคคลทำด้วยอโลภะ อโทสะ
อโมหะ คือ กระทำโดยไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นเหตุ จึงเป็นการกระทำที่ไม่มีโทษ ไม่เดือดร้อน
ในภายหลัง มีจิตแช่มชื่นเบิกบาน มีสุขเป็นผล
พฤติกรรมที่จัดเป็นกุศลกรรม คือกุศลกรรมบถ 10 สามารถแบ่งออก 3 ทาง ตามการกระทำ
ที่เกิดขึ้นทางกาย วาจาและใจ ดังนี้คือ
-กายสุจริต หมายถึง การกระทำดีทางกาย มี 3 ประการ คือ ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้น
จากการฆ่าสัตว์ที่ยังมีชีวิต, อทินนาทานา เวรมณี งดเว้นจากการลักขโมยของที่ผู้อื่นไม่ให้ และกาเมสุมิจฉาจารา
เวรมณี งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
-วจีสุจริต หมายถึง การกระทำดีทางวาจา มี 4 ประการ คือ มุสาวาทา เวรมณี งดเว้น
จากการพูดเท็จ, ปิสุณาย วาจาย เวรมณี งดเว้นจากการพูดส่อเสียด, ผรุสาย วาจาย เวรมณี งดเว้นจาก
การพูดคำหยาบ, และสัมผัปปลาปา เวรมณี งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
-มโนสุจริต หมายถึง การกระทำดีทางใจ มี 3 ประการ คือ อนภิชฌา ไม่คิดเพ่งเล็งอยาก
ได้สิ่งของผู้อื่น, อัพยาบาท ไม่คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น, และสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก
กุศลกรรมบถ 10 นี้ท่านเรียกว่า มนุษยธรรม หมายถึง ธรรมของมนุษย์ เป็นธรรมพื้นฐาน
ประจำตัวที่มนุษย์ทั่วไปต้องมี หากคนใดไม่มีธรรมทั้ง 10 ประการนี้ได้ชื่อว่า เป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์
เนื่องจากมีความประพฤติคล้ายสัตว์คือ ฆ่ากัน ลักขโมยกัน มั่วสุมทางเพศกัน เป็นต้น เมื่อละโลกไปแล้วก็
ต้องไปรับผลกรรมชั่วในมหานรก พ้นจากนรกแล้วก็ต้องมาเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานต่าง ๆ ไม่อาจจะเกิดเป็น
มนุษย์ได้ เพราะตอนเป็นมนุษย์เขาไม่มีมนุษยธรรม
กุศลกรรมหมวดบุญกิริยาวัตถุ
กุศลกรรมอีกหมวดธรรมหนึ่งซึ่งนักศึกษาคุ้นเคยกันดีคือ “บุญกิริยาวัตถุ” โดยเฉพาะ
บุญกิริยาวัตถุ 3 อันได้แก่ ทาน ศีล และภาวนา” หรือมีชื่อเต็มดังนี้
* ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, อรรถกถามหาสีหนาทสูตร, มก. เล่ม 18 หน้า 67,
มโนรถบูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต มก. เล่ม 32 หน้า 100-101.
- พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค มก. เล่ม 16 ข้อ 228 หน้า 172.
54 DOU บ ท ที่ 3
บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า