ข้อความต้นฉบับในหน้า
สาเหตุการให้ทานที่กล่าวมานี้เป็นเพียงสาเหตุที่พบและวิเคราะห์ได้ในปัจจุบันชาติเท่านั้น ส่วน
สาเหตุสำคัญที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นคือ อุปนิสัยรักการให้ทานที่ติดตัวมาข้ามชาติ ส่งผลให้มหาเศรษฐีเหล่านี้
ดำเนินชีวิตเช่นเดิมอีกในชาตินี้ แม้ในชาตินี้พวกเขาจะไม่ค่อยได้ให้ทานแก่เนื้อนาบุญ เพราะเกิดในประเทศ
ที่มีความเชื่อต่างไปจากคำสอนในพระพุทธศาสนา แต่ประเด็นที่กล่าวมานี้ต้องการชี้ให้เห็นอุปนิสัยที่ติดตัว
ข้ามชาติเป็นหลัก
6.7.5 กฎแห่งกรรมกับหลักวิทยาศาสตร์
ความสอดคล้องกันของกฎแห่งกรรมกับวิทยาศาสตร์คือเรื่อง “เหตุและผล” ทั้งเหตุผลคือกฎที่มี
อยู่แล้วในธรรมชาติ และเหตุผลที่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายสร้างขึ้นซึ่งในที่นี้คือ “กรรม” หมายถึง การ
กระทำโดยเจตนา กล่าวคือ เมื่อประกอบเหตุคือทำกรรมอย่างนี้ย่อมได้รับผลอย่างนี้ เมื่อประกอบเหตุคือ
ทำกรรมอย่างนั้น ย่อมได้รับผลอย่างนั้น ดังข้อความที่ว่า “บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
คนทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วก็ย่อมได้ชั่ว”
เรื่องของกรรมในพระไตรปิฎกนั้นมีอยู่ 2 ส่วนคือ กรรมในปัจจุบันชาติ และกรรมในอดีตชาติ สำหรับ
กรรมในปัจจุบันชาตินั้นวงการทางวิทยาศาสตร์ค่อนข้างจะยอมรับ เพราะพบเห็นกันได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
เช่น ลูกจ้างที่ขยันทำงานและซื่อสัตย์สุจริต จะได้รับความเมตตาและความไว้วางใจจากนายจ้าง คนที่
ฆ่าคนอื่นตายจะถูกตำรวจตามจับขังคุกเพราะกรรมนั้น ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้รับ เป็นต้น
ส่วนกรรมในอดีตชาติที่มาส่งผลในปัจจุบันนั้นวงการวิทยาศาสตร์ไม่ค่อยยอมรับเพราะคิดว่า
พิสูจน์ไม่ได้บ้าง แต่จะพยายามค้นหาสาเหตุในปัจจุบันเพื่ออธิบายผลที่เกิดขึ้นนั้น เช่น พระพุทธศาสนา
อธิบายว่า ไอน์สไตน์ฉลาดเพราะบุญด้านปัญญาบารมีที่เขาได้สั่งสมมาจากอดีตชาติเป็นหลัก บุญด้าน
ปัญญานี้จะกลั่นตัวเป็นดวงปัญญาที่สว่างไสวอยู่ ณ ศูนย์กลางกายของไอน์สไตน์เอง ซึ่งจะเห็นได้ด้วยการ
ทำใจให้ละเอียดด้วยการฝึกสัมมาสมาธิ เมื่อไอน์สไตน์ละโลกไปแล้วดวงปัญญานี้ก็ตามติดกายละเอียด
ของเขาไปสู่ปรโลกด้วย ไม่ได้หลงเหลืออะไรไว้เลยนอกจากซากร่างกายที่เปื่อยเน่า
แต่ในวงการวิทยาศาสตร์ไม่เชื่ออย่างนั้น นักวิทยาศาสตร์โดยมากเชื่อว่าความฉลาดของ
ไอน์สไตน์อยู่ที่สมอง จึงผ่าตัดนำสมองของเขามาศึกษาเปรียบเทียบกับสมองของคนทั่วไปเพื่อหาความ
แตกต่างอันจะนำไปสู่ข้อสรุปถึงสาเหตุแห่งความฉลาดของไอน์สไตน์ เมื่อได้ข้อสรุปแล้วก็หาวิธีการทำให้
สมองของคนทั่วไปเป็นเหมือนอย่างสมองของไอน์สไตน์ หากทำได้คนทั่วไปก็มีโอกาสฉลาดเหมือนอย่าง
อัจฉริยะผู้นี้หรือจะกล่าวว่าเป็นการโคลนนิ่งไอน์สไตน์ออกเป็นร้อยเป็นพันคน ซึ่งในความเป็นจริง ๆ ไม่อาจ
จะทำได้ เพราะว่าปัจจัยหลักของความฉลาดไม่ได้อยู่ที่สมอง
หากมีเด็กเกิดมาพิการนักชีววิทยาก็จะค้นหาสาเหตุในปัจจุบันว่าทำไมเขาจึงพิการ เช่นการพิการ
เกิดจากการผิดพลาดบางประการของสารพันธุกรรม แต่สิ่งหนึ่งที่วิทยาศาสตร์อธิบายไม่ได้คือ ทำไมเด็ก
- พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, สมุททกสูตร, มก., เล่ม 25 ข้อ 903 หน้า 487.
บ ท ที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า
DOU 173