ความสำคัญของพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 83
หน้าที่ 83 / 270

สรุปเนื้อหา

พระรัตนตรัย ได้แก่ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ เป็นแก่นของพระพุทธศาสนาที่ทุกคนควรได้รู้จักและเข้าถึง รัตนตรัยนี้ช่วยดับทุกข์ในชีวิต และเป็นเครื่องยืนยันถึงความมีอยู่ของพุทธธรรมในตัวมนุษย์ มีความสำคัญในการปฏิบัติและการเข้าถึงธรรมเพื่อหาความสงบ สติและปัญญา โดยผ่านการฟังพระธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของพระรัตนตรัย
-การเข้าถึงธรรม
-พระสงฆ์สาวกและการบวช
-พุทธบริษัทและการฟังธรรม
-การดับทุกข์ในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศาสนิกชนหญิงก็ดีชายก็ดี เป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม ต้องรู้จักพระรัตนตรัยนี้ถ้าไม่รู้จักรัตนะทั้งสามนี้แล้ว การนับถือศาสนาปฏิบัติในศาสนาเอาตัวรอดไม่ได้” ส่วนพระรัตนตรัยภายนอกคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมคือคำสอนของพระองค์ และพระ สงฆ์สาวกของพระองค์นั้น เป็นเพียงเนมิตกนามเท่านั้น ตัวจริงของพระรัตนตรัยคือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะซึ่งอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน กล่าวคือ อยู่ในตัวของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า อยู่ในตัวของพุทธบริษัท 4 และอยู่ในตัวของชาวโลกทั้งมวล และมนุษย์ทุกคนก็สามารถเข้าถึงได้โดย ไม่จำกัดเพศ อายุ ภาษา ศาสนา และเผ่าพันธุ์ ถ้าเจ้าชายสิทธัตถโพธิสัตว์ยังไม่ตรัสรู้ธรรมคือเข้าถึง พระรัตนตรัยในตัวก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ยังเป็นเพียงพระโพธิสัตว์เท่านั้น และมีข้อ สังเกตว่าสังฆรัตนะนั้นหมายเอาเฉพาะพระอริยสงฆ์ ซึ่งความเป็นอริยสงฆ์นั้นเป็นคุณที่เกิดขึ้นภายในของ แต่ละคน อันนี้ก็เป็นเครื่องยืนยันถึงความมีอยู่ของพระรัตนตรัยภายในได้เป็นอย่างดี 4.3 ความสำคัญของพระรัตนตรัย พระรัตนตรัยทั้งภายนอกและภายในมีความสำคัญมาก เป็นแก่นของพระพุทธศาสนา เป็นสรณะ ที่ช่วยดับทุกข์ได้อย่างถาวร ส่วนสรณะอื่นนอกนี้ไม่อาจดับทุกข์ได้ พระรัตนตรัยภายนอกนั้นเป็นสื่อให้ มนุษย์ทุกคนได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว กล่าวคือ เมื่อพุทธบริษัทได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี จากพระสงฆ์สาวกของพระองค์ก็ดี และได้น้อมนำธรรมนั้นมาปฏิบัติก็จะเป็นเหตุให้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว อันเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่ช่วยให้พ้นทุกข์ได้ ชาวพุทธจำนวนมากในอดีตยอมสละสมบัติอันมหาศาลเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาเพื่อให้ได้เข้าถึง พระรัตนตรัยในตัว พระเถระองค์สำคัญ ๆ ในสมัยพุทธกาล ได้แก่ พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระ มหากัสสปะ พระอนุรุทธะ เป็นต้น ต่างออกบวชจากตระกูลที่ร่ำรวยทั้งสิ้น เจ้าชายอนุรุทธะนั้นเป็นเจ้าชาย ที่มีทรัพย์มากถึงกับไม่รู้จักคำว่า “ไม่มี” เลยตลอดชีวิต แต่ก็ยอมสละทรัพย์ที่อยู่นั้นแล้วแสวงหาสิ่งที่เลิศ ยิ่งกว่าคือพระรัตนตรัย บางคนมีสมบัติตักไม่พร่องซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวโลกทั้งหลายปรารถนากันนักหนา แต่ท่านเหล่านั้น กลับเห็นว่า รัตนะที่เลิศกว่าทรัพย์สินเงินทองยังมีอยู่นั่นคือ พระรัตนตรัย จึงสละสมบัตินั้นออกบวชโดย ไม่ใยดี เช่น ชฎิลเศรษฐี และ โชติกเศรษฐี เป็นต้น ชฎิลเศรษฐีนั้นมีภูเขาทองตักไม่พร่อง ส่วนโชติกเศรษฐี มีสมบัติมากมาย ได้แก่ ปราสาทแก้ว 7 ชั้น ขุมทรัพย์ตักไม่พร่อง 4 ขุม เป็นต้น แม้แต่พระราชามหา กษัตริย์ที่สละราชสมบัติออกบวชก็มี ได้แก่ พระราชามหากัปปินะ และพระนางอโนชาเทวี เป็นต้น พระราชามหากัปปินะและพระนางอโนชาเทวีเป็นกษัตริย์แห่งกุกกุฏวดีนครซึ่งพรั่งพร้อมด้วย ทรัพย์สมบัติเป็นอันมาก วันหนึ่ง พระองค์ได้สดับข่าวจากพ่อค้าว่า พระรัตนตรัยอุบัติขึ้นแล้ว ทรงปีติ 1 พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) (2538), พระธรรมเทศนา 69 กัณฑ์, กัณฑ์ 30 ภัตตานุโมทนากถา หน้า 359. บ ท ที่ 4 4 พ ร ะ รั ต น ต ร ย : แ ก่ น ข อ ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 73
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More