ข้อความต้นฉบับในหน้า
กายทุจริต หมายถึง การกระทำชั่วทางกาย มี 3 ประการ คือ ปาณาติบาต การจงใจ
ฆ่าสัตว์ที่ยังมีชีวิต, อทินนาทาน การจงใจลักขโมยของที่ผู้อื่นไม่ให้, และกาเมสุมิจฉาจาร การจงใจ
ประพฤติผิดในกาม
- วจีทุจริต หมายถึง การกระทำชั่วทางวาจา มี 4 ประการ คือ มุสาวาท การจงใจพูดเท็จ,
ปิสุณายวาจา การจงใจพูดส่อเสียด, ผรุสวาจา การจงใจพูดคำหยาบ, และ สัมผัปปลาปะ การจงใจพูดเพ้อเจ้อ
- มโนทุจริต หมายถึง การกระทำชั่วทางใจ มี 3 ประการ คือ อภิชฌา คิดเพ่งเล็งอยากได้
สิ่งของของผู้อื่น, พยาบาท คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น, และมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด
3) ความหมายและประเภทของวิบาก
คำว่า วิบาก แปลว่า ผลที่เกิดขึ้น หมายถึง ผลแห่งกรรม
ผลแห่งกรรมนั้นมี 2 ระดับคือ เบื้องต้นนั้นจะเกิดเป็นบุญและบาปขึ้นก่อน กล่าวคือ ขณะที่เรา
ทำกุศลกรรมก็จะเกิดบุญขึ้น แต่เมื่อทำอกุศลกรรมก็จะเกิดบาปขึ้น และเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมบุญและ
บาปเหล่านั้นก็จะส่งผลให้ผู้เป็นเจ้าของมีวิถีชีวิตไปตามกรรมต่าง ๆ ที่ทำเอาไว้
บุญและบาปเมื่อเกิดขึ้นแล้วมีที่ตั้งอยู่ที่ใด หลวงปู่วัดปากน้ำกล่าวไว้ว่า บุญก็ดี บาปก็ดี จะเก็บ
อยู่ในกลาง “ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์” หรือดวงมนุษยธรรม เป็นดวงที่ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่
ดวงธรรมนี้ตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 6 ซึ่งฐานนี้ตั้งอยู่กลางท้องในระดับสะดือของแต่ละคน ดวง
ธรรมดวงนี้จึงเปรียบประดุจห้องสำหรับเก็บบุญและบาป เป็นห้องที่มีความพิเศษคือเก็บบุญและบาปได้มาก
ใส่เข้าไปเท่าไร ๆ ก็ไม่เต็ม
(1) ความหมายของบุญ
“สภาวะที่ชื่อว่า บุญ เพราะชำระกรรมอันเป็นการกระทำของตน และยังภพอันน่าบูชาให้
เกิดขึ้น” ชำระกรรมในที่นี้คือการชำระล้างบาปอันเกิดจากอกุศลกรรมที่มีอยู่ในจิตใจนั่นเอง ส่วนภพอัน
น่าบูชา ได้แก่ สุคติภูมิ เช่น สวรรค์ ซึ่งบุคคลจะได้เข้าถึงก็เพราะบุญที่ทำไว้แล้ว
นอกจากนี้ บุญ “ยังเป็นเครื่องปรากฏแห่งตระกูล รูป มหาโภคะและความเป็นใหญ่”
หมายความว่า บุญที่เกิดขึ้นจากกุศลกรรมนั้นจะส่งผลให้บุคคลที่เป็นเจ้าของบุญได้เกิดในตระกูลที่ดี มีรูป
สมบัติที่ดี มีโภคทรัพย์มาก และได้เป็นใหญ่ เช่น หากมีบุญมากก็จะได้เป็นผู้นำประเทศ หรือ ผู้นำในระดับ
โลก เป็นต้น
หลวงปู่วัดปากน้ำกล่าวไว้ว่า บุญนั้นมีลักษณะเป็นดวงกลมรอบตัว ใส สว่าง
บุญเป็นธาตุละเอียดเรียกว่า “บุญธาตุ” มองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ แต่จะเห็นได้ก็ต่อเมื่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)(2538), พระธรรมเทศนา 69 กัณฑ์, กัณฑ์ 6 สังคหวัตถุ หน้า 96-97, กัณฑ์ 32
รัตนสูตร หน้า 385-386.
2 สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาพระวิภังค์, มก. เล่ม 77 หน้า 466.
3
มธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย พุทธวงศ์, มก. เล่ม 73 หน้า 167.
56 DOU บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า
บ