ความสำคัญของการศึกษาและปฏิบัติพุทธธรรม GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 270
หน้าที่ 270 / 270

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาและการปฏิบัติพุทธธรรม โดยย้ำว่าการศึกษาที่เพียงพอเป็นเครื่องมือในการหลีกเลี่ยงภัยในสังสารวัฏ ทั้งยังต้องพิสูจน์พุทธธรรมด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อให้รู้และเข้าถึงได้ด้วยตัวเอง เนื้อหาจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าการเรียนรู้ไม่เพียงพอในการทำให้พ้นทุกข์ แต่ต้องมีการปฏิบัติตามอย่างจริงจังเพื่อให้บรรลุธรรมอย่างแท้จริง

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการศึกษาในพุทธศาสนา
-การปฏิบัติพุทธธรรม
-การหลีกเลี่ยงกับดักในสังสารวัฏ
-การเจริญสมาธิภาวนา
-ประสบการณ์ของพระโสดาบัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อีกไม่นานเราก็จะได้เกิดใหม่กันแล้ว อยากจะเกิดเป็นอะไร ก็ให้วิจิตรบรรจงกันเอาเอง เพราะ กรรมที่ได้สั่งสมไว้นั่นแหละ เป็นผู้สร้างรหัสการเกิดใหม่ให้กับเรา 3) ศึกษาความจริงของชีวิตให้มากขึ้น นักศึกษาบางท่านอาจจะคิดว่า วิชาความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนาที่ได้เรียนมาแล้วนี้ เพียงพอแล้วสำหรับชีวิตในสังสารวัฏนี้ ข้อคิดที่ต้องการย้ำในที่นี้คือ สิ่งที่ศึกษามานั้นเป็นเพียงแผนที่ชีวิตในสังสารวัฏอย่างคร่าวๆ เท่านั้น ยังมีอะไรอีกมากมายที่ควรจะต้องรู้ และที่สำคัญสังสารวัฏนี้เปรียบประดุจประเทศที่เต็มไปด้วยกับดัก ระเบิดมากมาย หากเราไม่ได้ศึกษาแผนที่ประเทศอย่างละเอียด จะทำให้พลาดเดินไปเหยียบระเบิดเข้าได้ แม้แต่พระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์แล้วยังพลาดมานับครั้งไม่ถ้วน แล้วเราได้รับพุทธพยากรณ์หรือยัง หากยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์ จงอย่าประมาทเป็นอันขาด ขอให้ทราบว่ายิ่งเราศึกษามากยิ่งดี ยิ่งรู้มากยิ่งดี เพราะเป็นความปลอดภัยในชีวิตของเราเอง ไม่ใช่เพื่อใครที่ไหน 4) พิสูจน์พุทธธรรมด้วยการลงมือปฏิบัติ ความรู้ทั้งหมดที่เรียนมานั้นเป็นทฤษฎี ขั้นต่อไปคือการนำมาปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ให้รู้ชัดด้วยตนเอง ได้แก่ การนำหลักธรรมมาใช้ในการปฏิบัติงาน ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และการเจริญสมาธิภาวนา เพื่อให้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว อย่าเพียงแต่เชื่อ หรือ อย่าเพียงแต่คัดค้าน เพราะมันไม่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตของเราเท่าที่ควร พุทธธรรมคำสอนทั้งหมดจะให้ผลสูงสุดเมื่อได้ปฏิบัติ เราไม่อาจจะว่ายน้ำเป็นเพียงเพราะได้อ่านคู่มือ แต่ต้องลงสระแล้วทำตามที่หนังสือได้บอกไว้ เราไม่อาจพ้นทุกข์ได้เพราะการอ่าน การคิด และการท่องจำ แต่จะหลุดพ้นได้ด้วยการเจริญสมาธิ ภาวนาอย่างยิ่งยวด เมื่อปฏิบัติจนถึงที่สุดแล้วก็จะรู้แจ้งได้ด้วยตัวของเราเอง โดยไม่ต้องเชื่อใครต่อใคร อีกต่อไป เหมือนเมื่อครั้งที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันแล้ว ท่าน “ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นใน คำสอนของพระศาสดา” อีกต่อไป กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 10 บทสรุป จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 10 ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 10 - พระวินัยปิฎก จุลวรรค ทุติยภาค, มก. เล่ม 9 ข้อ 251 หน้า 126. 260 DOU บ ท ที่ 10 บ ท ส รุ ป
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More