การเข้าถึงนิพพานและอริยมรรค GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 160
หน้าที่ 160 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับการเข้าถึงอนุปาทิเสสนิพพาน ซึ่งเกิดจากการหลุดพ้นจากกิเลสและตัณหา รวมถึงการปฏิบัติในแนวทางอริยมรรคมีองค์ 8 ที่นำไปสู่ความดับทุกข์อย่างแท้จริง การปฏิบัตินี้มีลักษณะเป็นทางสายกลางที่หลีกเลี่ยงการหลงเข้าไปในความสุขจากการมีเพศสัมพันธ์หรือการทรมานตนเพื่อหวังจะดับกิเลส รวมถึงการอธิบายถึงจุดหมายปลายทางที่เป็นนิพพานในมุมมองของพระอริยเจ้าทั้งหลาย การเข้าใจธรรมะนี้ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงความสงบและความบรมนิพพานมากขึ้น โดยอ้างอิงหลักธรรมที่สำคัญจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

หัวข้อประเด็น

-นิพพาน
-อริยมรรค
-การหลุดพ้นจากกิเลส
-ธรรมกาย
-ทุกขนิโรธ
-ทางสายกลาง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ยังมีขันธ์ 5 อยู่ มีธรรมกายปรากฏอยู่ในตัว ทำให้รู้สึกเป็นสุขเหมือนอยู่ในอายตนนิพพานอย่างแท้จริง เพียงแต่ยังอาศัยกายมนุษย์อยู่เท่านั้น (2) อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้ของภิกษุนั้นเป็นสภาพที่กิเลส มีตัณหา เป็นต้น ครอบงำ ไม่ได้อีก พระเดชพระคุณภาวนาวิริยคุณ อธิบายอนุปาทิเสสนิพพานไว้ว่า เป็นนิพพานที่อยู่นอกตัว บางครั้งก็เรียกว่า “นิพพานตาย” หมายความว่าเมื่อขันธ์ 5 แตกดับสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษแล้ว ธรรมกายที่ อยู่ในสอุปาทิเสสนิพพานจึงตกศูนย์เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ จุดนี้เองที่เรียกว่า “อายตนนิพพาน” ที่ พระอริยเจ้าทั้งหลายตั้งจิตปรารถนาจะไปถึง 4) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คำว่า ปฏิปทา แปลว่า ทางดำเนิน ความประพฤติ หรือ ข้อปฏิบัติ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ จึงแปลได้ว่า “ข้อปฏิบัติอันประเสริฐให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์” นั่นคือ “อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมา วายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ”3 คำว่า อริยมรรค แปลว่า ทางอันประเสริฐ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรว่า อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็น “มัชฌิมาปฏิปทา” คือ “ทางสายกลาง” เป็นทางที่ไม่เข้าใกล้ปฏิปทา 2 อย่างซึ่งไม่ใช่ทางตรัสรู้คือ กามสุขัลลิกายุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค กามสุขัลลิกายุโยค หมายถึง การประพฤติตนให้พัวพันด้วยกามสุข เช่น ปุถุชนทั่ว ๆ ไป อัตตกิลมถานุโยค หมายถึง การทรมานตนเพื่อหวังเผากิเลสของนักบวชบางลัทธิ เช่น การอดอาหาร การนอนบนหนาม การกลั้นลมหายใจ การไม่นุ่งห่มผ้า เป็นต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้นนั่นตถาคต ได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน” มรรคมีองค์ 8 แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทโลกิยะหรือโลกิยมรรค และประเภทโลกุตระ หรือโลกุตรมรรค ดังพุทธดำรัสที่ตรัสถึงสัมมาทิฏฐิว่า “เรากล่าวสัมมาทิฏฐิไว้ 2 อย่าง คือ สัมมาทิฏฐิที่ พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว) (2537), ธัมมจักกัปปวัตนสูตร, หน้า 146. พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว). (2537), ธัมมจักกัปปวัตนสูตร, หน้า 146. *พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ มก., เล่ม 77 ข้อ 162 หน้า 290. 4 พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1 มก., เล่ม 6 ข้อ 13 หน้า 44. *พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว). (2537), ธัมมจักกัปปวัตนสูตร, หน้า 146. 150 DOU บ ท ที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More