ข้อความต้นฉบับในหน้า
2) บุญสามารถสั่งสมไว้ในใจได้ไม่จำกัด ยิ่งมีมากเท่าไร่ ยิ่งนำความสุขและความเจริญทั้ง
มนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ บริวารสมบัติ และนิพพานสมบัติมาให้แก่เราได้มากเท่านั้น
3) บุญสามารถนำติดตัวเป็นเสบียงข้ามภพชาติไปได้ จึงมีอานุภาพในการดลบันดาลให้ไป
เกิดในภพภูมิ และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่การทำความดี และเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ
คุณสมบัติ ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความสุขและความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
4) บุญสามารถใช้ในการออกแบบชีวิตได้ เราอยากมีความสุขและความเจริญในชีวิตแบบใด
เราก็ต้องสร้างบุญที่มีอานิสงส์อย่างนั้น คนที่มีบุญมากก็จะประสบความสุขมาก คนที่มีบุญน้อยก็จะประสบ
ความสําเร็จน้อย
เมื่อเราลองตอบคำถามนี้ในแง่มุมอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้าไปอีกสัก 40-50 ครั้ง เดี๋ยวก็เจาะลึกเข้าไป
ถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงได้ชัดเจน และเราก็จะเห็นภาพรวมที่สรุปใจความสำคัญได้ว่า
วัตถุประสงค์หลักของการทำบุญ ก็คือ เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดจากวิบากกรรมในอดีต เพื่อสั่งสม
ความสุขและความเจริญในปัจจุบัน และเพื่อการขจัดอาสวะกิเลสอันเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งมวลให้
หมดสิ้นไป
นี้เป็นตัวอย่างของวิธีการตรองคำครูให้ลึก ที่ทำให้เรามีความเข้าใจถูกในเรื่องครูสอนได้อย่าง
ถูกต้อง ชัดเจน ลึกซึ้ง ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และนั่นคือทางมาแห่งปัญญาที่จะคิดถูก พูดถูก และทำถูกได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป
นักเรียนที่หมั่นไตร่ตรองคำสอนของครูจนเข้าใจอย่างลึกซึ้งอยู่เป็นนิตย์ จะทำให้มองอะไรได้ลึก
กว่าคนอื่น ๆ แม้ว่าจะเรียนจบหลักสูตรมาเหมือนกัน แต่ความรู้ความสามารถในการมองโลกจะไม่เท่ากัน
ดังเรื่องเล่าที่ว่า มีชาย 3 คนเพิ่งเรียนจบหลักสูตรมาจากสำนักอาจารย์เดียวกัน และได้เดินทางกลับบ้าน
พร้อมกัน ระหว่างทางเดินไปเจอกองอุจจาระกองใหญ่ ชายคนแรกบอกว่าเป็น “อุจจาระของช้าง” ชาย
คนที่สองเห็นอะไรที่ลึกกว่านั้นคือเขาบอกว่า “ช้างตัวนี้เป็นช้างตัวเมีย” เพราะสังเกตเห็นกองปัสสาวะ
เป็นกองกลมๆ อยู่ข้างๆอุจจาระ หากเป็นช้างตัวผู้ลักษณะของปัสสาวะที่ปรากฏจะไม่เป็นกองกลม ๆ แต่
จะพุ่งเป็นเรียว ๆ ไปข้างหน้า ส่วนชายคนที่สาม มองได้ลึกไปกว่านั้นอีกชั้นหนึ่งคือ เขาบอกว่าช้างตัวนี้
นอกจากจะเป็นตัวเมียแล้ว ยังเป็นช้างที่ตาบอดข้างหนึ่งด้วย เพราะสังเกตเห็นร่องรอยของกิ่งไม้ที่ช้างกิน
ระหว่างทางพบว่า ช้างกินฝั่งเดียวอีกฝั่งหนึ่งไม่ได้กิน จึงสรุปว่าช้างตัวนี้ตาบอดข้างหนึ่ง
ชายคนแรกเห็นแค่ไหนก็รู้แค่นั้นโดยไม่ได้ตั้งคำถามต่อว่า ทำไมกองปัสสาวะที่กองอยู่ใกล้ ๆ
อุจจาระจึงเป็นกองกลม ๆ ไม่มีลักษณะเป็นเรียว ๆ พุ่งไปข้างหน้า จึงไม่รู้ว่าช้างตัวนี้เป็นตัวเมียเหมือน
ๆ
*พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว) (2550), ชีวิตนี้มีไว้ทุ่มเดิมพัน, หน้า 21-23
30 DOU บ ท ที่ 2 ค ว า ม รู้ ทั่ ว ไ ป ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า
ท