ความเป็นมาของพระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 151
หน้าที่ 151 / 270

สรุปเนื้อหา

พระไตรปิฎกเกิดจากการสืบทอดพระธรรมวินัยหลังพุทธปรินิพพาน โดยการสังคายนาเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยรักษาความถูกต้องของคำสอน ซึ่งได้มีการจัดทำขึ้นหลายครั้ง โดยเฉพาะครั้งที่ 1 ใกล้กรุงราชคฤห์ และครั้งที่ 3 ในกรุงปาฏลีบุตร ซึ่งมีการจัดระเบียบเป็นสามหมวดหมู่คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาและรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า.

หัวข้อประเด็น

-ที่มาของพระไตรปิฎก
-การสังคายนาครั้งที่ 1
-การแบ่งพระธรรมวินัย
-เนื้อหาในพระไตรปิฎก
-ความสำคัญของการรักษาคำสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในเมื่อพุทธวจนะมีเพียง 2 ส่วนหรือ 2 ปิฎกดังกล่าว แล้วคำว่าพระไตรปิฎกที่ชาวพุทธรู้จักกันใน ปัจจุบันมาจากไหน หลังพุทธปรินิพพานชาวพุทธได้ถือเอาพระธรรมวินัยเป็นหลักในการดำเนินชีวิตสืบต่อกันเรื่อยมา แต่เนื่องจากพระธรรมวินัยดังกล่าวยังไม่ได้รับการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าไม่มีมาตรการเก็บรักษา ที่ดี จึงเป็นไปได้ที่จะมีคำสั่งสอนบางส่วนสูญหายไป ด้วยเหตุนี้การสังคายนาจึงเกิดขึ้น คำว่า สังคายนา แปลว่า การซักซ้อม, การสวดพร้อมกัน, การร้อยกรอง หมายถึง การที่พระสงฆ์ ประชุมกันแล้วสอบทานชำระสะสางและซักซ้อมทำความเข้าใจพระธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าเพื่อรักษาความถูกต้องไว้แล้วจัดเป็นหมวดหมู่พร้อมทั้งจดจำสาธยายกันไว้ การสังคายนาพระธรรมวินัยมีขึ้นหลายครั้ง แต่ที่ทุกฝ่ายทุกประเทศยอมรับ คือ การสังคายนา 3 ครั้งแรกในประเทศอินเดีย การสังคายนาครั้งที่ 1 จัดขึ้นใกล้กรุงราชคฤห์ภายหลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือน มีพระอรหันต์ ประชุมกัน 500 องค์ พระมหากัสสปะเป็นประธานและเป็นผู้สอบถาม พระอุบาลีตอบข้อซักถามเกี่ยวกับ พระวินัย พระอานนท์ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับพระธรรมคำตอบของพระอานนท์เริ่มต้นด้วยประโยคว่า “เอวัมเม สุตัง : ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้” หมายถึง ได้สดับมาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ ได้สดับมาจาก พระสาวกเช่นพระสารีบุตร เป็นต้น การสังคายนาครั้งที่ 2 จัดขึ้นใน พ.ศ.100 ครั้งนี้ก็ยังไม่มีการแบ่งพุทธวจนะเป็นพระไตรปิฎก อย่างชัดเจน การจัดพระธรรมวินัยเป็นรูปพระไตรปิฎก มีขึ้นในการสังคายนาครั้งที่ 3 พ.ศ. 236 ณ กรุง ปาฏลีบุตรแห่งอินเดีย ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ไตรปิฎก มาจากคำบาลีว่า ติปิฎก ประกอบด้วย วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก ๆ คำว่า “ปิฎก” แปลว่า “ตะกร้า” หมายถึง ภาชนะสำหรับใส่สิ่งของ คำว่าปิฎกนี้ได้นำมาใช้เป็น ชื่อหมวดหมู่พระธรรมวินัยคือ แยกออกเป็นสามตะกร้า หรือ 3 หมวดใหญ่ ๆ นั่นเอง โดยวินัยคือคำสั่งนั้น แยกไว้หมวดหนึ่งเรียกว่า พระวินัยปิฎก ส่วนธรรมคือคำสอนแยกออกเป็น 2 หมวด ได้แก่ พระสุตตันตปิฎก หรือ หมวดพระสูตร คือคำสอนที่ทรงแสดงแก่บุคคลต่าง ๆ ในแต่ละโอกาส ส่วนคำสอนที่แสดงแต่ข้อธรรม ไม่กล่าวว่าแสดงแก่ใคร ที่ไหน ได้แก่ เรื่องจิต เจตสิก รูป นิพพาน อันนี้เรียกว่า พระอภิธรรมปิฎก ทั้งนี้พระสูตรและพระอภิธรรมก็ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ที่เพิ่มมาภายหลัง แต่เป็นพุทธพจน์ดั้งเดิมดังที่ บันทึกไว้ในเรื่องการจัดเสนาสนะของพระทัพพมัลลบุตรว่า “ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระสูตร ท่านก็จัด เสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้ซักซ้อมพระสูตรกัน ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระวินัย ท่านก็ จัดเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้วินิจฉัยพระวินัยกัน ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระอภิธรรม ท่านก็จัดเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้สนทนาพระอภิธรรมกัน” - พระธรรมกิตติวงศ์ (2548) คำวัดพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์, หน้า 1041. 2 พระวินัยปิฎก มหาวรรค มก., เล่ม 3 ข้อ 541 หน้า 448 บทที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 141
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More