ความหมายและพระนามของพุทธะ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 107
หน้าที่ 107 / 270

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงความหมายของพุทธะ ซึ่งแปลว่า ตรัสรู้สัจจะ, ทรงปลุกสัตว์ให้ตื่น และผู้สิ้นกิเลส โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้เข้าถึงพระธรรมกายและตรัสรู้อริยสัจ 4 พระองค์มีพระนามหลายชื่อเช่น พระพุทธเจ้า, พระผู้มีพระภาคเจ้า และพระศาสดา โดยแต่ละพระนามมีความหมายที่เฉพาะเจาะจง

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของพุทธะ
-อริยสัจ 4
-พระนามของพุทธะ
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5.1.1 ความหมายของพุทธะ ในบทที่ผ่านมาเราทราบกันแล้วว่าแท้จริงแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ ธรรมกาย ซึ่งเป็นกาย ตรัสรู้ธรรม เป็นพุทธรัตนะที่อยู่ภายในพระวรกายของพระพุทธองค์ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะนั่งสมาธิจน เข้าถึงธรรมกายแล้วจึงได้ชื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สำหรับในหัวข้อนี้นักศึกษาจะได้เรียน ความหมายของ “พุทธะ” ในนัยอื่น ๆ ที่ปรากฏอยู่ในอรรถกถา ดังนี้ คำว่าพุทธะมีคำแปลไว้หลายนัยดังที่บันทึกไว้ในอรรถกถาว่า “ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ สัจจะทั้งหลาย, ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ทรงปลุกหมู่สัตว์ให้ตื่น, ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงรู้ทุกอย่าง ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงเห็นทุกอย่าง, ชื่อว่า พุทธะ เพราะตรัสรู้เองไม่ใช่ผู้อื่นทำให้รู้, ชื่อว่า พุทธะ เพราะ บานแล้ว, ชื่อว่า พุทธะเพราะนับกันว่าเป็นผู้สิ้นกิเลสแล้ว...” คำว่า “พุทธะ” จึงหมายถึง ผู้ตรัสรู้สัจจะทั้งหลายคืออริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เอง เป็นผู้หมดกิเลสแล้ว เป็นผู้รู้เห็นทุกอย่าง เป็นผู้ปลุกสัตว์ให้ตื่นคือสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตาม เป็นผู้บานแล้วด้วยพระคุณนานา ประการเหมือนดอกปทุมบาน แต่การจะตรัสรู้อริยสัจ 4 ได้จะต้องเข้าถึงพระธรรมกายก่อนดังได้กล่าวแล้วในบทที่ 4 จึงอาจจะ สรุปให้ง่ายเข้าได้ว่า พุทธะคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้เข้าถึงพระธรรมกาย แล้วตรัสรู้อริยสัจ 4 และได้สอนให้ชาวโลกได้ตรัสรู้ตามพระองค์ 5.1.2 พระนามของพุทธะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระนามต่าง ๆ มากมายดังนี้ พระพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระศาสดา, ตถาคต, ธรรมกาย, พรหมกาย, ธรรมภูต, พรหมภูต, พระพิชิตมาร พระอรหันตอนันตชินะ, พระชินเจ้า, พระชินสีห์, พระสัพพัญญูพุทธเจ้า, และพระพุทธองค์ เป็นต้น แต่ละ พระนามมีความหมายหลายนัย ในที่นี้จะกล่าวเพียงโดยย่อดังนี้ (1) พระพุทธเจ้า มาจากคำว่า พระ + พุทธ + เจ้า คำว่า “พระ” ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดง ความยกย่อง คำว่า “พุทธ” ก็มีความหมายดังกล่าวมาแล้ว ส่วนคำว่า “เจ้า” ใช้เติมท้ายคำเรียกผู้ที่นับถือ ดังนั้นคำว่า พระพุทธเจ้า จึงมีความหมายเหมือนกับคำว่า “พุทธะ” เพียงแต่เติมคำว่า พระ และ คำว่า เจ้า เข้ามาเพื่อแสดงความยกย่องนับถือเท่านั้น (2) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำนี้เติมคำว่า “สัมมาสัม” เข้ามา คำว่า “สัมมา” แปลว่า โดยชอบ หรือ โดยถูกต้อง คำว่า “ส้ม” คำหลัง แปลว่า ด้วยพระองค์เอง คือ ไม่ต้องมีผู้สั่งสอน ดังนั้น คำว่า พระ สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเป็นชื่อที่เน้นย้ำว่า พระองค์ตรัสรู้โดยถูกต้องด้วยตนเอง (3) พระผู้มีพระภาคเจ้า คำนี้ไม่มีคำว่า “พุทธะ” แต่มีคำว่า “ผู้มีพระภาค” แทนคำว่า พุทธะ - ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ, มก. เล่ม 39 หน้า 8. บทที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 97
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More