ข้อความต้นฉบับในหน้า
สุเมธดาบสนั่งสมาธิค้นหาพุทธการกธรรมอย่างนี้เรื่อยไปจนครบทั้ง 10 ประการ แล้วตั้งใจมั่น
สร้างบารมีเรื่อยมาอีก 4 อสงไขยแสนกัป จึงได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด จริง ๆ แล้วชาตินี้
ไม่ได้เป็นชาติแรกที่ท่านเริ่มสร้างบารมีทั้ง 10 ทัศ แต่ท่านสร้างบารมีอย่างนี้มาถึง 16 อสงไขยกัปแล้ว การ
ที่ต้องนั่งสมาธิค้นพุทธการกธรรมอีกครั้งเพราะว่า เมื่อเกิดใหม่ในแต่ละชาติก็จะลืมเรื่องราวในอดีตจนหมด
จึงจำเป็นต้องระลึกชาติใหม่ทุกชาติไป
5.4.6 เส้นทางการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์
1) หน่วยเวลาในการสร้างบารมี
หน่วยเวลาในการสร้างบารมีคือ “กัป” เช่น แสนกัป หรือ อสงไขยแสนกัป
ได้กล่าวแล้วว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี 3 ประเภท คือ พระปัญญาธิกพุทธเจ้า พระสัทธาธิกพุทธ
เจ้า และพระวิริยาธิกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละประเภทใช้เวลาสร้างบารมีไม่เท่ากัน ดังนี้
พระปัญญาธิกพุทธเจ้า ใช้เวลาสร้างบารมี 20 อสงไขยแสนกัป
พระสัทธาธิกพุทธเจ้า ใช้เวลาสร้างบารมี 40 อสงไขยแสนกัป
พระวิริยาธิกพุทธเจ้า ใช้เวลาสร้างบารมี 80 อสงไขยแสนกัป
คำว่า “อสงไขยแสนกัป” หมายถึง อสงไขยกัป + แสนกัป ดังที่บันทึกไว้ว่า “พระองค์ไม่สามารถ
บำเพ็ญทานบารมี 1 อสงไขย 2 อสงไขย 3 อสงไขยแห่งกัป แล้วเป็นพระพุทธเจ้าได้” หรือ ดังที่
อรรถกถากล่าวถึงเวลาการสร้างบารมีของพระสารีบุตรหนึ่งอสงไขยแสนกัปไว้ว่า “ในที่สุดอสงไขยกัปยิ่ง
ด้วยแสนกัป นับแต่กัปนี้ ท่านพระสารีบุตรบังเกิดในครอบครัวพราหมณ์มหาศาล ชื่อสรทมาณพ
คำว่า “กัป” เป็น “ชื่อหน่วยเวลา” ที่มีความยาวนานมาก ส่วนคำว่า “อสงไขย” เป็น “ชื่อ
ตัวเลขที่นับไม่ได้หรือจำนวนที่นับไม่ได้”
ชื่อหน่วยเวลาที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ วัน, สัปดาห์, เดือน และ ปี
ส่วนกัปนั้นก็เป็นหน่วยเวลาเหมือนกัน แต่เป็นหน่วยที่ยาวนานมาก จนไม่อาจกำหนดได้ว่าเป็น
เวลาเท่าไร่ดังพุทธดำรัสว่า “ดูก่อนภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ 100 ปี เท่า
นี้ 1,000 ปี หรือว่าเท่านี้ 100,000 ปี... เหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูง
โยชน์หนึ่ง ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น 100 ปีต่อครั้ง ภูเขา
หินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป สิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไป
สิ้นไป กัปนานอย่างนี้แล...”
* มโนรถบูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, มก. เล่ม 32 หน้า 209.
* มโนรถบูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, มก. เล่ม 32 หน้า 259.
3โยชน์หนึ่ง คือ ความยาว 16 กิโลเมตร
- พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, ปัพพตสูตร, มก. เล่ม 26 ข้อ 429-430 หน้า 514.
บทที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 123