ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในสมัยนั้นยังไม่มีการจารึกพระไตรปิฎกเป็นลายลักษณ์อักษร อาศัยความจำเป็นหลัก โดย
อาจารย์จะท่องจำแล้วบอกปากเปล่าแก่ศิษย์ผู้จะต้องรับภาระท่องจำกันต่อ ๆ ไป และเมื่อท่องจำได้ก็มา
สวดซักซ้อมพร้อมกัน เพื่อตรวจเช็คความถูกต้องระหว่างกันและเพื่อตอกย้ำให้เกิดความแม่นยำมากขึ้น
ทำให้เกิดประเพณีสวดมนต์ การท่องจำ และการบอกเล่าต่อ ๆ กันเรื่อยมา เรียกว่าการศึกษาระบบนี้ว่า
“มุขปาฐะ” คือ การเรียนจากคำบอกเล่าจากปากของอาจารย์
พระไตรปิฎกถูกเก็บรักษาและถ่ายทอดมาด้วยมุขปาฐะนี้จนกระทั่งมีจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร
ลงในใบลานครั้งแรกในการสังคายนาครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศศรีลังกาใน พ.ศ.433 ในรัชสมัยของ
พระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย โดยจารึกด้วยภาษามคธดังหลักฐานว่า “ในพุทธศตวรรษที่ 5 พระสงฆ์ใน
ศรีลังกาได้ปรารภกันว่า ความทรงจำของบุคคลได้เสื่อมลง การที่จะทำให้จำพระธรรมวินัยได้หมดเป็น
เรื่องยาก จึงได้มีการประชุมสังคายนาครั้งที่ 5 ขึ้น แล้วจารึกพระไตรปิฎกเป็นตัวอักษรโดยใช้ภาษามคธ ซึ่ง
เป็นภาษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์สอน”
ภาษามคธนั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “บาลี” แปลว่า “เป็นต้นแบบ” หรือ เป็นแบบอย่าง คำนี้
ใช้เรียกเป็นชื่อคันนา ซึ่งเป็นแนวบอกเขตของนา เป็นเครื่องกั้นน้ำหรือขังน้ำสำหรับใช้ในนา จึงนำคำนี้มา
ใช้เรียกพระไตรปิฎกที่จารึกไว้เป็นต้นแบบนั้นว่า บาลี คือ เป็นแนวเขตสำหรับที่จะแสดงว่านี้เป็นพุทธวจนะ
และในขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้สัทธรรมปฏิรูป คือ คำสอนที่เป็นของแปลก
ปลอมเข้ามา คือว่า ถ้านอกจากนี้แล้วไม่ใช่ ถ้าเป็นในนี้แล้วจึงใช่ แต่ก็พึงทราบว่า ภาษาบาลี นั้นไม่ได้เป็น
ชื่อของภาษาโดยตรง ชื่อของภาษาโดยตรงคือภาษามคธ หรือ มาคธี คือ ภาษาของชาวมคธ
แต่ทั้งนี้คำว่า ภาษาบาลี เป็นคำที่บุคคลทั่วไปคุ้นเคยมากกว่า คำว่า ภาษามคธ ดังนั้นเมื่อจะ
กล่าวถึงภาษาที่บันทึกพระไตรปิฎกก็จะใช้คำว่า ภาษาบาลี เป็นหลัก
ธรรมเนียมของสงฆ์นั้นถือกันว่า สังฆกรรมทั้งปวงให้ใช้ภาษาบาลี เช่น การอุปสมบท หรือ บท
สวดมนต์ทั้งหลาย ภาษาไทยของเราก็นำเอาภาษาบาลีมาใช้จำนวนมาก เช่น คำว่า พระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ ก็เป็นภาษาบาลีทั้งนั้น เอามาใช้เป็นคำไทย เพราะว่าการจะเอาคำไทยแท้ๆ มาใช้นั้นเป็นเรื่อง
ยากมากหรือว่าหาไม่ได้ ที่จะให้มีความหมายครอบคลุมคำเดิมได้ เช่น คำว่า พระพุทธ จะใช้คำไทยว่าอะไร
จึงจะให้ความหมายครอบคลุมทั้งหมด เป็นเรื่องยาก เพราะฉะนั้นจึงต้องนำภาษาบาลีมาใช้
ในการจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลานครั้งแรกนั้น ท่านใช้อักษรสิงหลเขียนภาษาบาลี เพราะบาลี
ที่เก็บพุทธวจนะไว้นั้นเป็นเพียงเสียงสวดมนต์ที่ท่องสืบต่อกันมา ต่อมาประเทศอื่น ๆ ก็ได้จารึกภาษาบาลี
ลงใบลานโดยใช้อักษรของประเทศนั้น ๆ ในปัจจุบันเมื่อมีการพิมพ์หนังสือเจริญขึ้น ทำให้มีพระไตรปิฎก
ฉบับอักษรต่าง ๆ เช่น ฉบับอักษรสิงหลของลักกา ฉบับอักษรเทวนาครีของอินเดีย ฉบับอักษรขอม ฉบับ
อักษรพม่า ฉบับอักษรไทย และฉบับอักษรโรมันของสมาคมบาลีปกรณ์แห่งอังกฤษ
1
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2539), พระไตรปิฎกภาษาไทย, เล่มที่ 4 หน้า [1]
- สมเด็จพระสังฆราช (2539), ธรรมดุษฎี, หน้า 25.
142 DOU บ ท ที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า