ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาในอดีตและปัจจุบัน GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 262
หน้าที่ 262 / 270

สรุปเนื้อหา

ในอดีต เศรษฐีหลายคนได้สร้างวัดเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยใช้ทรัพย์สินล้ำค่า เช่น ทองคำ เพื่อสร้างศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีจำนวนสาวกมากมายในแต่ละยุคสมัย เช่น การประชุมสาวกครั้งแรกในสมัยพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนี้ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้รับการยกย่องเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลกสำรวจจากประชุมทางวิชาการในปี 2548 ข้อตกลงร่วมกันที่เกิดขึ้นในงานนี้ได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธนานาชาติและมุ่งเน้นการส่งเสริมพระศาสนาในระดับโลก โดยมีพุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางสำคัญในการสั่งสมบุญของมหาชน

หัวข้อประเด็น

-การสร้างวัดในอดีต
-ศูนย์กลางพระพุทธศาสนา
-การรับรองประเทศไทย
-จำนวนสาวกในแต่ละยุค
-อริยทรัพย์และความสุข

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในสมัยพระโกนาคมนสัมมาสัมพุทธเจ้า เศรษฐีชื่ออุคคะได้ให้ช่างทำ “เต่าทองคำ” แล้วนำมาปู บนที่ดินเพื่อซื้อที่สร้างวัด ในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เศรษฐีชื่อสุมนะได้ปูที่ดินด้วย “ทองแท่ง” เพื่อซื้อที่สร้างวัด เมื่อมีวัดเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระศาสนาแล้ว ยังมีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกว่า พระสัมมา สัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ได้ประชุมสาวกเพื่อแสดงโอวาทปาฏิโมกข์อันเป็นอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการ เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย เช่น การประชุมสาวกครั้งที่ 1 ในสมัยพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระภิกษุ อรหันต์มาประชุมกันมากถึง “หกโกฏิแปดแสน” หรือ 60,800,000 รูป จะเห็นว่าเฉพาะแค่พระอรหันต์ที่ประชุมครั้งแรกในสมัยพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมีมากถึง 60,800,000 รูป หากรวมกับพุทธบริษัททั้งหมดแล้วก็จะมีจำนวนมากมายมหาศาล ดังนั้น วัดที่สร้างเพื่อ รองรับพุทธบริษัทเหล่านี้จึงต้องใหญ่โตมาก และจะเห็นว่า เป็นการสร้างเพราะความจำเป็นเนื่องจากสาวก มีมาก การสร้างวัดใหญ่ ๆ เพื่อเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาจึงเป็นพุทธประเพณีที่สืบต่อกันเรื่อยมา ทุกพุทธันดร จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าเศรษฐีในแต่ละยุคนั้นทุ่มเทกับการสร้างวัดอันเป็นศูนย์กลางทาง พระพุทธศาสนามาก แม้จะต้องใช้ทองคำหรือเงินซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่าจำนวนมากนำไปปูเรียงเคียงกันเพื่อซื้อ ที่ดินก็ยอม เพราะเห็นว่าทองก็ดีเงินก็ดีเป็นเพียงโลกียทรัพย์ที่ยังไม่อาจยังความสุขที่แท้จริงให้เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าได้นำทรัพย์เหล่านี้มาสร้างวัด เพื่อเป็นศูนย์กลางของพระศาสนาแล้ว ตนเองจะได้อริยทรัพย์คือบุญ ติดตัวไป และวัดที่สร้างไว้นี้จะเป็นแหล่งแห่งการสั่งสมอริยทรัพย์คือบุญของมหาชนทั้งหลาย บุญนี้จะเป็น หลักประกันให้ตนและคนทั้งหลายที่ได้สั่งสมไว้ดีแล้ว เข้าถึงสันติสุขอันเที่ยงแท้คือพระรัตนตรัยภายในได้ อย่างแน่นอน 9.3.2 ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาในสมัยปัจจุบัน ถามว่าเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดียไปแล้ว ในปัจจุบันประเทศใดควรจะเป็นศูนย์กลาง ของพระพุทธศาสนา หากนักศึกษาท่านใดเป็นชาวไทยก็ขอให้ดีใจได้ว่า ชาวพุทธนานาชาติได้ยกให้ไทยเป็น ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก สืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการของผู้นำทางพระพุทธศาสนา ทั้งมหายานและเถรวาทจาก 41 ประเทศทั่วโลก ในเทศกาลวันวิสาขบูชาระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ณ หอประชุมพุทธมณฑล และที่ศูนย์ประชุมองค์การสหประชาชาติแห่งประเทศไทย โดยมีผู้ เข้าร่วมประชุมประมาณ 1,600 รูป/คน ผลของการประชุมครั้งนั้นได้มีมติเป็นข้อตกลงร่วมกัน 7 ประการ หนึ่งในนั้นคือ “ให้จัดพิธีฉลองวันวิสาขบูชาโลกในประเทศไทย โดยให้มีพุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนา ของโลก”3 1 3 สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย มหาวรรค, อรรถกถามหาปทานสูตร, มก. เล่ม 13 หน้า 89-90. *พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 2 มก. เล่ม 33 หน้า 351. ASTV ผู้จัดการ (2548), พุทธนานาชาติ ยก “พุทธมณฑล” เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาแห่งโลก (ออนไลน์) 252 DOU บ ท ที่ 9 ศูนย์ ก ล า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า ข อ ง โ ล ก ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More