การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและศูนย์กลางพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 259
หน้าที่ 259 / 270

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างรัฐสมาชิกอิสลามในด้านต่าง ๆ เพื่อปกป้องเกียรติภูมิและสิทธิ โดยมีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศทุกปี และการประชุมระดับผู้นำทุก 3 ปี นอกจากนี้ยังพูดถึงศูนย์กลางพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลที่กรุงสาวัตถี ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่เป็นเวลานาน เพื่อประกาศพระธรรมและขยายพระพุทธศาสนาไปสู่ผู้คนทั่วไป.

หัวข้อประเด็น

-การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
-การปกป้องสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
-การประสานการต่อสู้
-ศูนย์กลางพระพุทธศาสนา
-การแพร่หลายของพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1) เสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างรัฐสมาชิกอิสลามในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ สังคมและการต่อสู้ของประชาชนมุสลิมเพื่อปกป้องเกียรติภูมิ เอกราชและสิทธิ แห่งความเป็นชาติ 2) ประสานการปฏิบัติเพื่อปกป้องสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา สนับสนุนการต่อสู้ของประชาชน ปาเลสไตน์ ช่วยเหลือในการฟื้นฟูสิทธิ และการปลดปล่อยดินแดนที่ถูกยึดครอง 3) ทำงานเพื่อขจัดการดูถูกเหยียดหยามทางเชื้อชาติและลัทธิล่าอาณานิคมทุกรูปแบบ สร้าง บรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมความร่วมมือ ประเทศอื่น ๆ และความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิกกับ โอไอซีมีการประชุมในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทุกปี ส่วนการประชุมระดับ ผู้นำจะจัดขึ้นในทุก 3 ปี โดยหมุนเวียนเปลี่ยนสถานที่ไปตามประเทศสมาชิก รวมถึงผลัดเปลี่ยนให้ผู้นำ ชาติโอไอซีขึ้นเป็นประธานที่ประชุมด้วย สำหรับรายละเอียดคำสอนความเป็นมาของศาสนาต่าง ๆ นักศึกษาจะได้เรียนเพิ่มเติมในวิชา DF 404 ศาสนศึกษา โดยเริ่มต้นศึกษาความรู้พื้นฐานทางศาสนา ความเชื่อของกลุ่มชนที่มีความล้าหลัง ทางวัฒนธรรม และศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีศาสนิกนับถืออยู่ในปัจจุบัน 9.3 ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก 9.3.1 ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล ในสมัยพุทธกาลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้กรุงสาวัตถีเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา เป็น ศูนย์รวมของสงฆ์และพุทธบริษัททั้งหลาย ทั้งนี้สังเกตได้จากระยะเวลาการจำพรรษาของพระพุทธองค์ กล่าว คือ ตลอด 45 พรรษานั้นพระองค์ทรงประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถีถึง 25 พรรษา โดยประทับอยู่ ณ วัดพระ เชตวัน 19 พรรษา และประทับอยู่ ณ วัดบุพพาราม 6 พรรษา ส่วน 20 พรรษาที่เหลืออันเป็นช่วง ปฐมโพธิกาลนั้นพระพุทธองค์ทรงประทับจำพรรษาที่ละ 1 พรรษาบ้าง 2 พรรษาบ้างสลับกันไป ไม่ได้ประทับ ที่ใดนานเหมือนกรุงสาวัตถี สาเหตุที่ช่วงปฐมโพธิกาลพระพุทธองค์ประทับอยู่ในที่หนึ่ง ๆ ไม่นาน อาจเป็นเพราะในช่วงต้น นั้นมีผู้คนจำนวนมากยังไม่รู้จักพระพุทธศาสนา การที่พระองค์ประทับอยู่ที่ใดนานเกินไปนั้น จะทำให้ ประชาชนในเมืองอื่น ๆ ไม่มีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระองค์ ทำให้พระพุทธศาสนาไม่แพร่หลาย พระองค์ และพระสาวกจึงจำเป็นต้องจาริกไปหลาย ๆ ที่เพื่อประกาศให้ชาวโลกได้ทราบว่า พระพุทธศาสนาได้อุบัติ ขึ้นแล้ว ผู้คนที่พบเห็นและได้ฟังธรรมก็จะได้บอกต่อ ๆ กันไปในวงกว้าง ทำให้ข่าวการบังเกิดขึ้นของ พระรัตนตรัยขจรกระจายไปรวดเร็ว 2 1 http://www.the-thainews.com (2552), องค์การการประชุมอิสลาม 2, (ออนไลน์). *ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 40 หน้า 10. บทที่ 9 ศูนย์ ก ล า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า ข อ ง โ ล ก DOU 249
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More