บารมีและความหมายของสัจจะในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 127
หน้าที่ 127 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจความหมายของบารมีในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะสัจจะซึ่งหมายถึงความมีจริงในการพูดและการกระทำ รวมไปถึงอธิษฐานที่คือความตั้งมั่นในความดี และเมตตาที่เป็นความรักที่มีต่อผู้อื่น โดยการปฏิบัติตามหลักพรหมวิหาร 4 นั้นจะนำพาไปสู่การเกิดใหม่ในพรหมโลก สัจจะยังรวบรวมถึงการรักษาคำพูดและการทำตามที่ตั้งใจไว้ เมตตานั้นเกิดจากความปรารถนาดีและต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข ซึ่งสามารถเจริญได้ในช่วงท้ายก่อนการทำสมาธิ

หัวข้อประเด็น

-บาบารมีในพระพุทธศาสนา
-ความหมายของสัจจะ
-อธิษฐานบารมี
-เมตตาและหลักพรหมวิหาร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไม่แช่มชื่นอันเป็นลักษณะของบาปอกุศลที่เกิดขึ้นในใจ ความอดทนชนิดนี้จึงไม่จัดเป็นขันติบารมี สัจจบารมี คำว่า “สัจจะ” มาจาก บทว่า “สัจจ์” คือ “จริง, เป็นเนื้อความอันจริง, แท้, ไม่ผิด ไม่คลาดเคลื่อน” สัจจะในบางประเด็นคืออย่างเดียวกับศีล เช่น การไม่พูดเท็จ พูดแต่คำที่เป็นจริง ไม่ว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับตนก็จะไม่พูดไม่คลาดเคลื่อนจากความจริง สัจจะยังมีความหมายครอบคลุมไปถึงการที่ตั้งใจจะทำอะไรแล้ว ก็ทำตามความตั้งใจนั้นจนสำเร็จ ไม่ว่าจะมีอุปสรรคมากมายเพียงใดก็พยายามทำจนสำเร็จ หรือพูดอย่างไรทำตามนั้น ทำอย่างไรพูด อย่างนั้นก็เรียกว่ามีสัจจะ หรือเคยสัญญาอะไรกับใครไว้ ก็ไม่ลืมสัญญา รักษาคำพูด รักษาสัญญา เมื่อถึง เวลา ก็ทำตามที่พูดไว้โดยไม่ขาดตกบกพร่อง นี้คือสัจจะ อธิษฐานบารมี คำว่า “อธิษฐาน” มาจากบทว่า อธิฏฐาน ในภาษาบาลี ได้แก่ “ความตั้งมั่นใน การทำความดี ความตั้งใจ คือมีความตั้งมั่นในการทำกุศล” วิธีการอธิษฐานจะต้องยึดเอาบุญหรือบารมีที่สั่งสมในขณะนั้นหรือในอดีต มาเป็นฐานในการ อธิษฐาน เช่น เมื่อได้ให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญสมาธิภาวนา ก็ให้นึกในใจว่าด้วยบุญที่ได้ทำไว้ดีแล้วนี้ รวมทั้งบุญและบารมีในอดีตที่ได้สั่งสมมาทั้งหมด ขอให้ส่งผลดลบันดาลให้ข้าพเจ้าสมความปรารถนาใน สิ่งที่ต้องการโดยเร็วพลันคือ หากปรารถนาจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ให้อธิษฐานทุกครั้งที่สั่งสมบุญว่า ขอให้ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังที่ตั้งใจไว้ การอธิษฐานนั้นอาจจะเปล่งวาจาก็ได้หรือเพียงแต่นึกอธิษฐานในใจก็ได้ เมตตาบารมี คำว่า “เมตตา” มาจากบทว่า “เมตตา” ในภาษาบาลี ชื่อว่า เมตตา “เพราะมี ความเยื่อใย ... ชื่อว่าเมตตา เพราะมีความรัก หรือความเป็นไปแห่งความรัก” กล่าวคือ มีความรักความ เอ็นดู มีความปรารถนาดีต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข นักศึกษาอาจจะคุ้นเคยกับหลักพรหมวิหาร 4 ซึ่งประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา สำหรับเมตตาและอุเบกขาในบารมี 10 ทัศนั้นคือ อย่างเดียวกันกับหลักในพรหมวิหารซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่ ทำให้เป็นพรหม กล่าวคือ ผู้ที่ปฏิบัติตามหลักทั้ง 4 ประการนี้จนตลอดชีวิตแล้วได้ชื่อว่าประพฤติเยี่ยงพรหม เมื่อละโลกแล้วหากปรารถนาก็จะได้ไปเกิดยังพรหมโลก พระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้นมักได้ไปเกิดในพรหมโลก อยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้เพราะได้ประพฤติตามหลักพรหมวิหารดังกล่าวนี้จนตลอดชีวิต 2 3 การเจริญเมตตานั้นสามารถทำได้ 2 ช่วงคือ เจริญเมตตาในช่วงท้ายก่อนเลิกนั่งสมาธิ ทุกครั้ง โดย - ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย สุตตนิบาต อรรถกถามหาวรรค, มก. เล่ม 47 หน้า 593. ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 43 หน้า 492 วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน อรรถกถาวิชนีวรรค, มก. เล่ม 71 หน้า 235. สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส คุหัฏฐกสุตตนิทเทส, มก. เล่ม 65 หน้า 409, สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส, มก. เล่ม 66 หน้า 418. สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย จูฬนิทเทส, มก. เล่ม 67 หน้า 670-671. บทที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุทธเจ้า DOU 117
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More