พระกายของพระพุทธเจ้าและองค์ประกอบของใจในธรรมะ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 55
หน้าที่ 55 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอความรู้เกี่ยวกับพระกายของพระพุทธเจ้า แบ่งออกเป็น 3 ประการ ได้แก่ รูปกาย นามกาย และธรรมกาย โดยพระรูปกายมีลักษณะเป็นมนุษย์ทั่วไป ส่วนพระนามกายมีความว่องไวสามารถเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ได้ง่าย พระธรรมกายถูกมองว่าเป็นพระจิตที่บริสุทธิ์พ้นจากกิเลส รวมถึงการอธิบายองค์ประกอบของใจซึ่งประกอบด้วยการเห็น การจำ การคิด และการรู้ โดยมีลักษณะเป็นดวงกลมซ้อนกัน ซึ่งทุกองค์ประกอบนี้มีรากฐานจากหลักพุทธศาสนาที่สามารถยืนยันได้จากคัมภีร์ต่าง ๆ การศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้สามารถช่วยให้เรามีชีวิตอย่างมีสติและสำนึกในธรรมได้มากขึ้น ตามที่กล่าวถึงในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ร่วมกับพระอริยคุณาธารและพระมงคลเทพมุนีที่ได้องค์มากมายในเรื่อง

หัวข้อประเด็น

-พระรูปกาย
-พระนามกาย
-พระธรรมกาย
-องค์ประกอบของใจ
-พุทธศาสนากับธรรมะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ที่ซ้อน ๆ กันอยู่ภายในของพระพุทธองค์และมนุษย์ทั่วไปไว้น่าสนใจคือ อรรถกถาโสณสูตรกล่าวไว้ว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าเราได้ฟังมาว่า เห็นปานนี้ ๆ คือ ทรงประกอบด้วย “นามกายสมบัติ” และ “รูปกายสมบัติ เห็นปานนี้ และประกอบด้วย “ธรรมกายสมบัติ” เห็นปานนี้” ในหนังสือทิพยอำนาจซึ่งเรียบเรียงโดยพระอริยคุณาธารผู้เชี่ยวชาญทั้งปริยัติและปฏิบัติแห่งวัด เขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ท่านกล่าวไว้ว่า ปกรณ์ของฝ่ายทักษิณนิกายหรือเถรวาท ท่านโบราณาจารย์ แบ่งพระกายของพระพุทธเจ้าเป็น 3 ภาคคือรูปกาย นามกาย ธรรมกายดังนี้ (1) พระรูปกาย เป็นพระกายซึ่งเอากำเนิดจากพระพุทธบิดาพระพุทธมารดา ที่เป็นมนุษย์ธรรมดา ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 เหมือนกายของสามัญมนุษย์ (2) พระนามกาย ได้แก่ กายชั้นใน ปราชญ์บางท่านเรียกว่า กายทิพย์ และว่าเป็นกายที่มีรูปร่าง สัณฐานเหมือนกายชั้นนอก เป็นแต่ว่องไวกว่าและสามารถกว่ากายชั้นนอกหลายร้อยเท่า สามารถออก จากร่างหยาบไปในที่ไหน ๆ ได้ตามต้องการ เมื่อกายหยาบสลายแล้ว กายชั้นนี้ยังไม่สลาย จึงออกจากร่าง ไปหาที่เกิดใหม่ต่อไป นามกายเป็นของที่มีทั่วไปแม้แต่สามัญมนุษย์ (3) พระธรรมกาย ได้แก่ พระกายธรรมอันบริสุทธิ์... หมายถึง พระจิตที่พ้นจากกิเลสอาสวะแล้ว เป็นพระจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง มีพระรัศมีแจ่มจ้า เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์อุทัยไขแสงในนภากาศฉะนั้น พระ ธรรมกายนี้เป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริง เป็นพระกายที่พ้นเกิด แก่ เจ็บ ตาย และทุกข์โศกทั้งหลายได้จริง เป็น พระกายที่เที่ยงแท้ถาวรไม่สูญสลายเป็นอยู่ชั่วนิรันดร เป็นที่รวมแห่งธรรมทั้งปวง จากที่ข้อมูลกล่าวมานี้จะเห็นว่ามีความสอดคล้องกับที่หลวงปู่วัดปากน้ำได้เทศน์สอนเอาไว้คือ ใน กายมนุษย์ของเรายังมีกายอื่น ๆ ซ้อนอยู่เป็นชั้น ๆ เรื่องธรรมกายนี้มีหลักฐานยืนยันอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาซึ่งจะกล่าวถึงในบทที่ 4 3) ทัศนะเรื่องใจทางธรรมปฏิบัติ 3.1) องค์ประกอบของใจ “ใจ” ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ เห็น จำ คิด และรู้ 4 อย่างนี้รวมซ้อนเข้าเป็นจุดเดียวกัน เรียกว่า ใจ ทั้งเห็น จำ คิด รู้ นั้นมีลักษณะหรือสัณฐานเป็น “ดวงกลมใส” โดยดวงรู้ซ้อนอยู่ข้างในดวงคิด ดวงคิดซ้อนอยู่ข้างในดวง ดวงจำซ้อนอยู่ข้างในดวงเห็น ดังภาพหน้าถัดไป องค์ประกอบของใจทั้ง 4 อย่างนี้ก็คือนามขันธ์ทั้ง 4 ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณนั่นเอง โดยเวทนา คือ เห็น หรือรู้สึก หรือรับ, สัญญา คือ จำ, สังขาร คือ คิด และวิญญาณ คือ รู้ - ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย อุทาน, อรรถกถาโสณสูตร, มก. เล่ม 44 หน้า 557. - พระอริยคุณาธาร (2527), ทิพยอำนาจ, หน้า 507-512. *พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)(2538), พระธรรมเทศนา 69 กัณฑ์, กัณฑ์ 46 มหาสติปัฏฐานสูตร หน้า 537-548. 4 พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)(2538), พระธรรมเทศนา 69 กัณฑ์, กัณฑ์ 19 มหาสติปัฏฐานสูตร หน้า 230-231. บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 45
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More