ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในสมัยพุทธกาลมีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้คือ กรณีสาวกนิครณฐ์แตกกันหลังจาก
นิคัณฐนาฏบุตรผู้เป็นเจ้าลัทธิถึงแก่กรรมในครั้งนั้นพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนี้แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
“นิคัณฐนาฏบุตรถึงแก่กรรมแล้ว..... พวกนิครณฐ์ก็แตกกัน ฯลฯ โดยเหตุที่ธรรมวินัยที่นิคัณฐนาฏบุตร
กล่าวไว้ไม่ดี ... ไม่ใช่ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้... พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรับรองว่า....
ข้อนี้ย่อมเป็นอย่างนั้น....1
ธรรมวินัยที่ผู้ไม่ได้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้จะเป็นธรรมวินัยที่ไม่สมบูรณ์ เพราะศาสดามี
ความรู้ไม่สมบูรณ์เนื่องจากไม่ได้เป็นสัมมาสัมพุทธะ ดังนั้นธรรมวินัยนั้นจึงมีถูกบ้างผิดบ้าง เมื่อสาวกนำไป
ปฏิบัติจึงไม่สามารถพ้นทุกข์ได้ เมื่อไม่พ้นทุกข์ ไม่ได้เข้าถึงสัจจะที่แท้จริงภายใน สาวกแต่ละคนก็จะตีความ
ประสบการณ์ที่ตนปฏิบัติได้ไปต่าง ๆ กัน ซึ่งยากที่จะตรงกันเพราะต่างคนต่างทำและวิธีการที่ศาสดาสอน
ก็ไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้จึงแตกกันเพราะต่างคนก็คิดว่าตนเองถูก แต่พระธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประกาศไว้ เป็นพระธรรมวินัยที่สมบูรณ์ถูกต้อง เพราะพระองค์เป็นสัมมาสัมพุทธะมีความรู้ที่สมบูรณ์แล้ว
เมื่อสาวกสาวิกานำคำสอนไปปฏิบัติจนถึงที่สุดแล้วก็จะตรัสรู้ธรรมเหมือนกันตรงกัน
และเหตุที่สิกขาบททุกข้อเป็นพุทธบัญญัติล้วนทำให้มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นเสมือนหนึ่งรัฐธรรมนูญ
ของคณะสงฆ์ ส่วนกติกาย่อยที่หมู่สงฆ์ในที่ใดที่หนึ่งกำหนดขึ้นนั้น ก็สามารถมีได้ตามความเหมาะสม
ของยุคสมัยและสถานการณ์ แต่จะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับพุทธบัญญัติเหมือนกฎหมายที่ต้องไม่ขัดต่อ
รัฐธรรมนูญฉันนั้น นอกจากนี้ต้องแยกให้ชัดเจนระหว่างพุทธบัญญัติกับกติกาย่อยที่กำหนดขึ้น ทั้งนี้เพื่อ
รักษาความบริสุทธิ์ของพุทธบัญญัติเอาไว้
พระวินัยอันเป็นพุทธบัญญัติทำให้ได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์ทั้งหมดนี้มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการ
สร้างเอกภาพในคณะสงฆ์มายาวนาน ลองคิดดูว่า หากพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระสาวกบัญญัติ
พระวินัยได้ สาวกยุคหลังซึ่งยังมีกิเลสอยู่และมีสติปัญญาไม่พอ อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ บัญญัติสิกขาบทที่
ไม่ควรบัญญัติขึ้น สิกขาบทนั้นจะขาดความสมบูรณ์และศักดิ์สิทธิ์ คณะสงฆ์บางคณะที่ไม่ยอมรับจะทำให้
เกิดความแตกแยก ต่างกับพุทธบัญญัติซึ่งแม้กาลเวลาจะผ่านมา 2,500 กว่าปีแล้วแต่ก็ยังคงความสมบูรณ์
และศักดิ์สิทธิ์อยู่ พระสาวกยังช่วยกันรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน
ส่วนการเพิกถอนพุทธบัญญัตินั้น จะทำให้ภิกษุไม่มีหลักยึดไม่มีหลักในการปฏิบัติ เป็นเหตุให้
พระพุทธศาสนาเสื่อมโดยเร็ว เปรียบเสมือนดอกไม้ที่กองอยู่โดยไม่มีด้ายร้อย เมื่อลมพัดมากระทบก็จะ
กระจัดกระจายตามลมไปจนหมดสิ้น
ความจริงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้เหมือนกันว่า เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป หากสงฆ์
เห็นสมควรจะเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียก็ได้ แต่เนื่องจากพระอรหันต์ 500 รูปที่กระทำสังคายนา
ครั้งที่ 1 เห็นไม่ตรงกันว่าสิกขาบทใดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย พระมหากัสสปะผู้เป็นประธานในการ
- พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, ปาสาทิกสูตร, มก. เล่ม 15 ข้อ 95 หน้า 261.
บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 211