ข้อความต้นฉบับในหน้า
คลุมกะอฺบะฮฺด้วยผ้าจากเมืองเยเมน
ตรงมุมด้านหนึ่งภายในกะอฺบะฮฺเป็นที่ตั้งของ “หินดำ” เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นและจุดครบรอบของ
การเวียนรอบกะอฺบะฮฺในขณะประกอบพิธีฮัจญ์
หินดำ แปลมาจากคำว่า “หะญัร อัสวัด” ในภาษาอาหรับ มุสลิมถือว่าหินดำนี้ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์
บุคคลสำคัญในศาสนาอิสลามท่านหนึ่งชื่อ “เคาะลีฟะฮฺ อุมัร บินคอฏฏอบ” เคยกล่าวไว้ว่า “ฉันรู้ดีว่า เธอ
เป็นเพียงก้อนหิน ไม่ให้โทษและไม่ให้คุณแก่ใคร....”
ปัจจุบันรัฐบาลซาอุดีอาระเบียได้ทำหน้าที่ดูแลกะอฺบะฮฺ และจัดเตรียมความสะดวกให้แก่ผู้ที่มา
ทำฮัจญ์ รัฐบาลได้สั่งทำผ้ากำมะหยี่สีดำปักดิ้นทองด้วยตัวอักษรอาหรับมาคลุมกะอฺบะฮฺไว้ คนส่วนใหญ่จึง
เข้าใจว่า กะอฺบะฮฺ คือหินศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวมุสลิมเคารพบูชา ความจริงกะอฺบะฮฺเป็นเพียงจุดศูนย์กลางในการ
ประกอบศาสนกิจของมุสลิมทั่วโลกเท่านั้น
ในแต่ละปีมุสลิมนับล้านคนต่างไปชุมนุมกันที่นครเมกกะ แม้ว่านครแห่งนี้จะคลาคล่ำไปด้วยผู้มา
เยือนอยู่ตลอดเวลา แต่พิธีฮัจญ์จัดให้มีขึ้นในเดือน 12 ตามปฏิทินอิสลาม ซึ่งอยู่ในช่วงปลายเดือน
พฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมของแต่ละปี
นอกจากนครเมกกะอันเป็นศูนย์กลางทางศาสนาแล้ว ประเทศอิสลามนานาชาติยังจัดตั้ง “องค์การ
การประชุมอิสลาม” ขึ้นเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพของมุสลิมทั่วโลกอีกด้วย
องค์การการประชุมอิสลาม (Organisation of the Islamic Conference หรือ OIC) เป็น
องค์การระหว่างประเทศของชาติมุสลิม มีสมาชิกราว 56 ประเทศ มีประชากรรวมกันกว่า 1.2 พันล้านคน
ทั้งในตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ อเมริกาใต้ โดยใช้ภาษา
กลางคือ ภาษาอาราบิก ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส มีวัตถุประสงค์โดยรวมคือ เพื่อระดมสรรพกำลัง
ปกป้องผลประโยชน์ของชาติสมาชิก รวมถึงการพูดเป็นเสียงเดียวกันในเรื่องสำคัญ ๆ ในเวทีสากล
โอไอซี (OIC) ตั้งขึ้นครั้งแรกจากการประชุมผู้นำประเทศอิสลามที่เมืองราบัต ประเทศโมร็อกโก
เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2512 จากกรณีที่อิสราเอลเข้าไปยึดครองมัสยิดอัล-อักชาร์ (Al-Aqsa) ใน
กรุงเยรูซาเลมที่ซึ่งมุสลิมทั่วโลกถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญอันดับ 3
ต่อมาที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสมาชิกโอไอซีซึ่งประชุมที่กรุงเจดดาห์เมื่อ วันที่ 19 มีนาคม
พ.ศ. 2513 มีมติให้ตั้งสำนักเลขาธิการเป็นการถาวรขึ้นที่กรุงเจดดาห์ (JEDDAH) ประเทศซาอุดิอาระเบีย
เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับประเทศสมาชิก และอนุมัติ “กฎบัตรขององค์การ” เมื่อเดือน
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515
วัตถุประสงค์ของโอไอซีที่กำหนดไว้ในกฎบัตรมีอยู่ 3 ข้อ คือ
1
2
อับดุลเลาะห์ ลออแมน (ม.ป.ป.), สถานที่และสิ่งสำคัญในประวัติศาสตร์อิสลาม, หน้า 22.
* กฎบัตร หมายถึง ตราสารที่จัดตั้ง จัดระเบียบและกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์การ
248 DOU บ ท ที่ 9 ศูนย์ ก ล า ง พระ พุ ท ธ ศ า ส น า ข อ ง โ ล ก