ข้อความต้นฉบับในหน้า
ภิกษุใดต้องอาบัติสังฆาทิเสสจะแก้ไขด้วยการอยู่ปริวาส กล่าวคือ จะให้อยู่ในสถานที่ที่แยกไว้
สำหรับผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสโดยเฉพาะไม่อยู่ปะปนกับภิกษุทั่วไป เพื่อให้ผู้ต้องอาบัติได้สำนึกผิดและ
สำรวมระวังต่อไป เมื่ออยู่ปริวาสจนครบกำหนดเวลาและผ่านขั้นตอนของการอยู่ปริวาสทุกอย่างแล้วก็
สามารถกลับมาอยู่รวมกับภิกษุทั่วไปได้
ในปัจจุบันพระภิกษุจำนวนมากนิยมอยู่ปริวาสแม้ไม่ได้อาบัติสังฆาทิเสส หรือบางรูปเพียงแค่
สงสัยก็ขออยู่ปริวาสแล้วทั้งนี้เพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์แห่งศีลของตน นอกจากนี้จะได้มีเวลาศึกษาและ
ปฏิบัติธรรมมาก ๆ ด้วย เพราะในระหว่างอยู่ปริวาสพระภิกษุรูปอื่นจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปรบกวน
สำหรับผู้ต้องอาบัติอื่น ๆ นอกเหนือจากปาราชิกและสังฆาทิเสสนั้น จะแก้ไขได้ด้วยการ “ปลงอาบัติ”
ซึ่งหมายถึง การเปิดเผยอาบัติของตนต่อภิกษุอื่นหรือต่อสงฆ์
3) อนิยต แปลว่า ไม่แน่นอน หมายถึง สิกขาบทที่ไม่แน่นอนว่าภิกษุผู้ถูกกล่าวหาจะถูกปรับว่าได้
ทําผิดสิกขาบทข้อไหนในระหว่าง “ปาราชิก สังฆาทิเสส และ ปาจิตตีย์” หากเป็นทางโลกอนิยตเปรียบ
เหมือนกับคดีที่มีทางตัดสินลงโทษได้หลายระดับขึ้นอยู่กับพยานบุคคลผู้เห็นเหตุการณ์ที่เชื่อถือได้
4) นิสสัคคิยปาจิตตีย์ คำว่า “นิสสัคคิยะ” แปลว่า “ทำให้สละสิ่งของ” ส่วนคำว่า “ปาจิตตีย์”
แปลว่า “การล่วงละเมิดอันทำให้กุศลธรรมคือความดีตกไป” นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จึงหมายถึง สิกขาบทที่
ภิกษุใดล่วงละเมิดเข้าแล้วจะต้องสละสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับสิกขาบทข้อนั้น ๆ เช่น ไตรจีวร เป็นต้น เมื่อสละแล้ว
จึงสามารถแก้ไขได้ด้วยการปลงอาบัติได้
5) ปาจิตตีย์ เป็นสิกขาบทที่ไม่มีเงื่อนไขให้ต้องสละสิ่งของ เมื่อล่วงละเมิดแล้วสามารถแก้ไขด้วย
การปลงอาบัติได้เลย
6) ปาฏิเทสนียะ แปลว่า จะพึงแสดงคืน เป็นสิกขาบทที่ภิกษุรูปใดต้องอาบัติแล้วจะแก้ไขด้วย
การแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือ ปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิไม่เป็นสัปปายะ กระผม
ขอแสดงคืนธรรมนั้น” การแสดงคืนนี้เป็นการปลงอาบัติอย่างหนึ่ง
7) เสขิยวัตร แปลว่า วัตรที่พระภิกษุพึงศึกษา ซึ่งเป็นวัตรปฏิบัติเกี่ยวกับมารยาทอันดีงามต่างๆ
ได้แก่ นุ่งห่มจีวรให้เรียบร้อย การฉันให้เรียบร้อย การแสดงธรรม และเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ภิกษุที่กระทำ
ผิดพลาดเมื่อตั้งใจว่าจะศึกษาปรับปรุงให้ดีขึ้นก็ถือว่าพ้นจากอาบัตินั้น
8) อธิกรณสมถะ แปลว่า ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ เป็นวิธีการระงับอธิกรณ์หรือคดีความที่
เกิดขึ้นให้สงบเรียบร้อย
ตัวอย่างสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์
สิกขาบทในพระปาฏิโมกข์มีทั้งหมด 8 หมวด 227 สิกขาบท ในที่นี้จะยกตัวอย่าง เฉพาะหมวด
ปาราชิกและหมวดสังฆาทิเสสเท่านั้น เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบพอสังเขปว่า สิกขาบทแต่ละข้อของพระ
ภิกษุนั้นมีเนื้อหาเป็นอย่างไร
196 DOU
บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เ จ้ า