ข้อความต้นฉบับในหน้า
ทุกข์ทั้ง 12 ประการที่กล่าวมานี้สรุปเหลือประการเดียวคือ “อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์” กล่าวคือ
มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายประกอบด้วยขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ทั้ง 5 นี้
ยังมีกิเลสอยู่จึงยัง “เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน” อุปาทาน แปลว่า “ถือมั่น” กล่าวคือ การถือมั่นว่าขันธ์ 5 นี้
“เป็นของเรา” จึงทำให้ความทุกข์ทั้ง 12 ประการเกิดขึ้น
หากเราไม่ถือมั่นว่าขันธ์ 5 ที่ประกอบขึ้นนี้ “เป็นตัวของเรา” แต่คิดว่าเป็นเพียงบ้านเรือนที่เรา
อาศัยอยู่ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อมีเหตุต่าง ๆ เกิดขึ้นกับขันธ์ 5 นี้ ความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นกับเรา หรือแม้จะ
เกิดก็เกิดขึ้นน้อยกว่าเดิม เช่น เมื่อเรามองดูกระจกเห็นหน้าตาเหี่ยวเฉา เราก็จะไม่เป็นทุกข์หากเราคิดว่า
ร่างกายนี้ไม่ได้เป็นของเรา เราเพียงเข้ามาอาศัยอยู่ชั่วคราวเท่านั้น บ้านคนอื่นจะเก่าผุพังอย่างไรเราก็ไม่
ทุกข์ใจเพราะไม่ได้เป็นของเรา ฉันใด ขันธ์ 5 ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมดาสามีภรรยาที่หย่าขาดกันแล้ว
ย่อมไม่เดือดร้อนใจเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งไปแต่งงานใหม่ เพราะต่างคนก็คิดว่าอีกฝ่ายหนึ่ง “ไม่ได้เป็นของเรา” แล้ว
ดังนั้น สาเหตุแห่งความทุกข์ในเบื้องต้นคืออุปทานนั่นเอง ส่วนเหตุแห่งอุปาทานคือตัณหาซึ่งจะได้กล่าวใน
หัวข้อต่อไป
2) ทุกขสมุทัยอริยสัจ
ทุกขสมุทัยอริยสัจ หมายถึง ความจริงอันประเสริฐในเรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ในที่นี้คือ
“ตัณหา” ซึ่งแปลว่า ความทะยานอยาก ตัณหาเป็นสาเหตุให้เกิดอุปาทานคือความยึดมั่นในขันธ์ 5 คือ
ยึดมั่นว่าขันธ์ 5 นี้เป็นของเราและต้องการให้มันเป็นอย่างที่เราต้องการ เมื่อมันไม่เป็นอย่างใจจึงทำให้เกิด
ความทุกข์ตามมา
(1) ประเภทของตัณหา
ตัณหาแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
กามตัณหา แปลว่า ความอยากในกาม นั่นคือ กามคุณ 5 อันเป็นความอยากของมนุษย์
และสัตว์ที่อยู่กามภพ ได้แก่ ความอยากได้รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสที่น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ เช่น
อยากได้แฟนสวย ๆ หล่อ ๆ อยากฟังเพลงเพราะ ๆ อยากได้ยินแต่เสียงหวาน ๆ อยากดมกลิ่นหอม ๆ
อยากรับประทานอาหารที่อร่อยถูกปากถูกใจอยากได้บ้านที่สะดวกสบายมีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครัน
เป็นต้น
4
ภวตัณหา คำว่า ภว มาจาก ภู ธาตุ ในภาษาบาลี แปลว่า ความมี ความเป็น
ภวตัณหา จึงแปลว่า ความอยากในความมีความเป็น หมายถึง อยากให้สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, จูฬเวทัลลสูตร, มก., เล่ม 19 ข้อ 505 หน้า 324.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มก., เล่ม 14 ข้อ 296 หน้า 236.
* ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, อรรถกถาฉวิโสธนสูตร, มก., เล่ม 22 หน้า 227.
สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย มหาวรรค มก., เล่ม 14 หน้า 356.
โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย (2545), สูตรสำเร็จบาลีไวยากรณ์, หน้า 117.
บทที่ 6 พ ร ะ ธ ร ร ม : คำสั่ ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า
DOU 147