ข้อความต้นฉบับในหน้า
นอกจากนี้ นิสสัย 4 นี้ยังเป็นเครื่องคัดคนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ผู้ใดที่ปฏิบัติตามหลักนี้ไม่ได้ เช่น
ติดในลาภสักการะไม่มักน้อยสันโดษก็จะอยู่ในหมู่คณะไม่ได้ จะต้องมีเหตุให้ต้องออกจากหมู่คณะไปในที่สุด
ด้วยเหตุนี้นักบวชในพระพุทธศาสนาโดยมากจึงมีเฉพาะผู้ที่มีเป้าหมายเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง นักบวช
เหล่านี้จะช่วยกันรักษาและสืบทอดแบบแผนหรือวัฒนธรรมที่ดีเอาไว้ได้
จุดประสงค์หลักที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัตินิสสัย 4 ขึ้น เพื่อให้ภิกษุมีความมักน้อยสันโดษใน
ปัจจัย 4 ในยุคต้นพุทธกาลภิกษุได้ดำรงชีวิตด้วยนิสสัย 4 นี้เรื่อยมา ภายหลังอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาได้
กราบขออนุญาตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ขอถวายคหบดีจีวรบ้าง นิมนต์พระสงฆ์ไปฉันที่บ้านบ้าง สร้างวัด
สร้างวิหารให้ภิกษุอยู่บ้าง ถวายยารักษาโรคบ้าง หมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นผู้กราบขออนุญาตพระพุทธองค์
เพื่อถวายคหบดีจีวร เพื่อไม่ให้พระภิกษุมีความกังวลเรื่องการแสวงหาผ้าที่เขาทิ้งแล้วมาทำจีวรราชคหเศรษฐี
เป็นผู้ขอสร้างวิหารถวายพระสงฆ์เป็นคนแรกนางวิสาขาเป็นผู้ขออนุญาตถวายภัตต่างๆ มีอาคันตุกภัตเป็นต้น
แต่ทั้งนี้พระพุทธองค์ก็ยังสรรเสริญการยินดีปัจจัยตามมีตามได้ดังพุทธานุญาตคหบดีจีวรว่า “ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคหบดีจีวร รูปใดปรารถนา จงถือผ้าบังสุกุล รูปใดปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร
แต่เราสรรเสริญการยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้”
7.5.7 อานิสงส์การออกบวชเป็นบรรพชิต
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอานิสงส์การออกบวชเป็นบรรพชิตไว้ในสามัญญผลสูตรซึ่งว่าด้วยผล
ของความเป็นสมณะ หรืออานิสงส์ที่ได้จากการบวชนั่นเอง สามัญญผลนั้นจะอธิบายอย่างละเอียดใน “วิชา
SB 304 ชีวิตสมณะ” ในที่นี้จะกล่าวโดยย่อซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับคือ สามัญญผลเบื้องต้น สามัญญผลเบื้อง
กลาง และสามัญญผลเบื้องสูง
1) สามัญญผลเบื้องต้น
(1) เป็นการยกสถานภาพของผู้บวชให้สูงขึ้นจากฐานะเดิม กล่าวคือ แม้จะเคยเป็นเพียง
ทาสหรือกรรมกร แต่เมื่อออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ก็จะได้รับการเคารพกราบไหว้จากคนทุกระดับในสังคม
แม้แต่กษัตริย์ก็ยังต้องให้ความเคารพกราบไหว้
(2) ได้รับความเคารพ ยกย่อง บูชา กราบไหว้ และบำรุงด้วยปัจจัย 4 กล่าวคือ แม้จะเคย
เป็นชาวนาต้องทำงานเสียภาษีให้รัฐ แต่เมื่อออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ก็ไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐอีกต่อไป
แต่จะได้รับการบำรุงด้วยปัจจัย 4 จากหมู่ชนรวมทั้งผู้ปกครองบ้านเมืองด้วย
2) สามัญญผลเบื้องกลาง
เป็นอานิสงส์หรือผลดีที่ภิกษุได้รับจากการเจริญสมาธิภาวนา กล่าวคือ เมื่อภิกษุรักษาศีลได้
บริสุทธิ์บริบูรณ์และหมั่นเจริญสมาธิภาวนาก็จะบรรลุฌานไปตามลำดับ ๆ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติย
ฌาน และจตุตถฌาน จะได้รับความสุขที่เลอเลิศกว่าสุขใดในทางโลกมากนัก
1 พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 2, มก. เล่ม 7 ข้อ 135 หน้า 262.
บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า
DOU 199