ข้อความต้นฉบับในหน้า
กิเลสหมดสิ้นแล้วความทุกข์อันเป็นผลงานของกิเลสก็จะดับอย่างถาวร เมื่อถึงคราวหลับตาลาโลกก็จะไป
เสวยสุขนิรันดร์อยู่ในอายตนนิพพาน ไม่ต้องทนทุกข์กับการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป หากการได้เกิดอยู่
เรื่อยไปเป็นสุขจริงคงไม่มีข่าวคนฆ่าตัวตายให้ได้ยินอยู่บ่อย ๆ ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนาจึงสอนว่า การ
เวียนว่ายตายเกิดเป็นทุกข์ เป้าหมายสูงสุดของทุกชีวิตคือการหยุดวงจรนี้เสียให้ได้
ผู้ที่เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในแล้วแม้จะอยู่ในระดับที่กิเลสยังไม่หมด ถึงกระนั้นก็จะได้รับความสุข
อันไพศาลกว่ากามสุขทั่วไป และสามารถเผื่อแผ่ความสุขนี้ไปสู่เพื่อนร่วมโลก ด้วยการทำหน้าที่
กัลยาณมิตรคือสอนให้เขาได้เข้าถึงสรณะภายใน เมื่อชาวโลกได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวกันมาก ๆ แล้ว
สันติสุขภายในที่แต่ละคนได้รับก็จะแผ่ขยายออกไปเป็นสันติภาพของโลก สงครามจะยุติ คนจะรักและ
สามัคคีกัน เพราะต้นเหตุแห่งสงครามคือกิเลสในใจได้รับการควบคุมและค่อย ๆ กำจัดออกไปด้วยพระ
รัตนตรัยในตัว
ปรมัตถประโยชน์นี้ คือ ประโยชน์สูงสุดที่สมควรได้จากความเป็นมนุษย์ คือ ความสุขสูงสุดที่
มวลมนุษยชาติควรจะได้รับ
หากจะมองความสุขแบบชาวโลกบ้าง บางคนนั่งชมทะเลอย่างเหม่อลอยก็เป็นสุขแล้ว ไม่ต้องคิด
อะไรเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์อีก หลายคนได้เสพกามไปวัน ๆ ก็เป็นสุขแล้ว หลายคนตั้งเป้าหมายและ
มุ่งมั่นบากบั่นไปจนถึงปลายทางสักครั้งเดียวก็เต็มอิ่มกับความเป็นมนุษย์แล้ว แต่มีคนน้อยเท่าน้อย ที่ตั้ง
คำถามกับตนเองอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันว่า อะไรคือประโยชน์สูงสุดที่สมควรได้จากความเป็นมนุษย์
แม้บางคนจะเคยตั้งคำถามนี้กับตัวเอง แต่ก็เพียงชั่วครั้งชั่วคราว แล้วก็ถูกกลบให้เลือนหายไป
ด้วยภารกิจเร่งด่วนประจำวัน โดยที่ยังไม่ได้รับคำตอบแต่อย่างใด จริง ๆ แล้วโชคดีเหลือเกินที่เราได้เกิด
มาเป็นมนุษย์ แต่มีน้อยคนนักที่ฉวยโอกาสสำคัญนี้ ทำความรู้จักกับความเป็นมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ด้วย
การศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้คนที่เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วตายฟรีจึงมีจำนวนมาก และมี
มากเหลือเกินที่ชีวิตติดลบ คือ ดำเนินชีวิตผิดพลาดจนต้องตกนรกหมกไหม้อย่างยาวนาน ทั้งนี้เพราะไม่ได้
ศึกษาความจริงของชีวิตนั่นเอง
2.4 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นจากการตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อ
2,500 กว่าปีที่ผ่านมา การบังเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนาเป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์อินเดีย
และประวัติศาสตร์โลก เพราะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อและวัฒนธรรมในสังคมอินเดียครั้งใหญ่
1
ดังตฤณ (2548), เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน, หน้า 27-28
บ ท ที่ 2 ค ว า ม
มรู้ทั่วไป ทาง พระ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 17