สติปัฏฐาน 4 และ สัมมาสมาธิ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 92
หน้าที่ 92 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับสติปัฏฐาน 4 และความสำคัญของสัมมาสมาธิในอริยมรรคมีองค์ 8 ว่าการเจริญภาวนาและทำสมาธิสามารถช่วยให้จิตบริสุทธิ์จากกิเลส ส่งผลให้บรรลุถึงนิพพาน เมื่อปฏิบัติสัมมาสมาธิไปพร้อม ๆ กับองค์มรรคอื่น ๆ โดยมีการสอนจากหลวงปู่วัดปากน้ำในการนำใจมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 และการเข้าถึงดวงธรรมที่สำคัญ ได้แก่ ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ผลจากการปฏิบัตินี้จะช่วยให้เกิดการบริสุทธิ์หลุดพ้นในที่สุด รวมถึงการเจริญสมาธิภาวนาผ่านกายมนุษย์ละเอียดและกายทิพย์หยาบ

หัวข้อประเด็น

-สัมมาสมาธิ
-อริยมรรคมีองค์ 8
-การเจริญภาวนา
-หลวงปู่วัดปากน้ำ
-ดวงธรรม
-ความบริสุทธิ์ของจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สติปัฏฐาน 4 คือ สัมมาสติในอริยมรรคมีองค์ 8 จากพุทธดำรัสนี้จะเห็นว่า การเจริญภาวนา ก็คือ การได้ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง อีกนัยหนึ่ง การเจริญภาวนาคืออะไร การเจริญภาวนาก็คือ การทำสมาธิ ดังในอรรถกถาที่ว่า “ธรรมชาติใด อันพระโยคีบุคคลอบรมอยู่ เจริญอยู่ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ภาวนา, ภาวนาคือสมาธิ ชื่อว่า สมาธิภาวนา” สมาธิในที่นี้ คือ สัมมาสมาธิในอริยมรรคมีองค์ 8 จึงกล่าวได้ว่าเมื่อปฏิบัติสัมมาสมาธิแล้ว ก็ เท่ากับได้ปฏิบัติมรรคองค์อื่น ๆ ไปด้วย สัมมาสมาธิจึงเป็นศูนย์กลางขององค์มรรคทั้งปวง ดังพระดำรัส ที่ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ “สัมมาสมาธิ” ที่เป็นอริยะอันมีเหตุ มีองค์ประกอบคือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความที่ จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งประกอบแล้วด้วยองค์ 7 เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ อันมีเหตุบ้าง มี องค์ประกอบบ้าง” พระดำรัสนี้ขยายความได้ว่า องค์มรรคทั้ง 7 ตั้งแต่สัมมาทิฏฐิ สัมมาสติ จะเป็นองค์ประกอบ ของสัมมาสมาธิ เมื่อปฏิบัติสัมมาสมาธิก็เท่ากับได้ปฏิบัติมรรคอีก 7 องค์ที่เหลือไปด้วย กล่าวคือ เมื่อจิต เป็นสมาธิเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้มีสัมมาทิฏฐิเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีสัมมาสังกัปปะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีสัมมาวาจาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีสัมมากัมมันตะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีสัมมาอาชีวะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีสัมมาวายามะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มี สัมมาสติเพิ่มขึ้นด้วย เมื่อปฏิบัติสัมมาสมาธิมากเข้า ๆ จะทำให้จิตบริสุทธิ์จากกิเลสยิ่ง ๆ ขึ้นไปจนบริสุทธิ์ หลุดพ้นในที่สุด หลวงปู่วัดปากน้ำสอนไว้ว่า ในเวลาทำสมาธินั้นให้เรานำใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อย่างสบาย ๆ และต่อเนื่อง จนถูกส่วนก็จะตกศูนย์คือ ใจหยุด เมื่อตกศูนย์แล้วก็จะเข้าถึง “ดวงปฐมมรรค เป็นดวงธรรมเบื้องต้นที่จะนำไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพาน เมื่อเข้าถึงดวงปฐมมรรคแล้วก็หยุดใจไว้ใน กลางดวงปฐมมรรคนั้นอย่างสบาย ๆ และต่อเนื่อง จนถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงธรรมอื่น ๆ อีก 5 ดวงคือ ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ รวมทั้งหมดเป็น 6 ดวง จากนั้นก็เอาใจ หยุดนิ่งไว้กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น พอถูกส่วนก็จะเข้าถึง “กายมนุษย์ละเอียด” หรือกายฝัน ขั้นต่อไปก็เจริญสมาธิภาวนาด้วยเอาใจหยุดนิ่งไปที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ของกายมนุษย์ละเอียด พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงธรรม 6 ดวงดังกล่าวคือ ดวงปฐมมรรค ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ จากนั้นก็เอาใจหยุดนิ่งไว้กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น พอถูกส่วนก็จะเข้าถึง “กายทิพย์หยาบ” ขั้นต่อไปก็เจริญสมาธิภาวนาด้วยเอาใจหยุดนิ่งไปที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ของกายทิพย์หยาบ - สัทธัมมปกาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มก., เล่ม 68 หน้า 46. พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มหาจัตตารีสกสูตร, มก., เล่ม 22 ข้อ 253 หน้า 341. 82 DOU บ ท ที่ 4 พระรัตนตรัย : แก่ น ข อ ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More