ความหมายของคำว่า ภิกฺขุ และ สมณะ ในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 192
หน้าที่ 192 / 270

สรุปเนื้อหา

ภิกฺขุ เป็นคำที่มีรากศัพท์จาก 'ภยะ + อิกขะ + รู' แปลว่า ผู้เห็นภัยในสังสารวัฏ ส่วนคำว่า พระภิกษุ แสดงถึงการยกย่องพระสงฆ์ที่เลอเลิศ ภิกษุณีก็คือฝ่ายหญิงที่บวช คำว่าบรรพชิตแปลว่า นักบวชในพระพุทธศาสนา ในขณะที่คำว่า สมณะ หมายถึงพระอริยสงฆ์ หรือผู้ตรัสรู้เท่านั้น คำนี้มีความสำคัญในธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติถึงคุณของพระอริยสงฆ์ในวัตถุปมสูตร นอกจากนี้ยังมีการระบุถึงสมณะ 4 ขั้น เช่น พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นตัวอย่างของพระอริยสงฆ์ในพระพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-ภิกฺขุ
-สมณะ
-บรรพชิต
-พระอริยสงฆ์
-ธรรมวินัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภิกฺขุ มีรากศัพท์มาจากคำว่า “ภยะ + อิกขะ + รู ปัจจัย” ภยะ แปลว่า ภัยอันตราย หมายถึง ภัย ในสังสารวัฏ อิกขะ แปลว่า มองเห็น ดังนั้น ภิกฺขุ จึงแปลว่า เห็นภัยในสังสารวัฏ หรือ ผู้เห็นภัยใน สังสารวัฏนั่นเอง คำว่า พระภิกษุ นั้นเติมคำว่า “พระ” เข้ามาข้างหน้าคำว่า “ภิกษุ” เพื่อแสดงความยกย่องว่า ภิกษุ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้วิเศษ หากฝ่ายหญิงก็จะเรียกว่าภิกษุณี คำว่า บรรพชิต มาจากบทว่า “ปพฺพชิโต ในภาษาบาลี แปลว่า เข้าถึงบรรพชา อธิบายว่า เป็นผู้ บวชแล้ว” ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า บรรพชิต หมายถึง นักบวชในพระพุทธศาสนา ส่วน นักบวชนอกพระพุทธศาสนาเรียกว่า “เดียรถีย์” คำว่า สมณะ มาจากบทว่า “สมโณ ในภาษาบาลี แปลว่า เป็นผู้สงบบาป” คำว่า สมณะ นั้น หมายเอาเฉพาะพระอริยสงฆ์ดังบทว่า “สมโณ ได้แก่ สมณะผู้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่ พระโสดาบัน เป็นต้น” หรือ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับสุภัททปริพาชกว่า “ดูก่อนสุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 หาไม่ได้ในธรรมวินัยใด แม้สมณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น สุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 หาได้ในธรรมวินัยใด แม้สมณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 หาได้ในธรรมวินัยนั้น สุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 หาได้ในธรรมวินัยนี้ สมณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่น ๆ ว่างจากสมณะผู้รู้ สุภัททะ ก็ภิกษุเหล่านี้จึงอยู่ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย” โดยชอบ อรรถกถาอธิบายไว้ว่า “สมณะที่ 1 คือพระโสดาบัน สมณะที่ 2 คือพระสกทาคามี สมณะที่ 3 คือ พระอนาคามี สมณะที่ 4 คือพระอรหันต์” ดังนั้นคำว่าสมณะจึงหมายเอาพระอริยสงฆ์เท่านั้น และสมณะ ดังกล่าวมีเฉพาะในธรรมวินัยนี้คือมีเฉพาะในพระพุทธศาสนานั่นเอง 7.2 พระสังฆคุณ พระสังฆคุณในที่นี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหมายเอาคุณของพระอริยสงฆ์เท่านั้นซึ่งพระองค์ตรัสไว้ ในวัตถุปมสูตรว่า “สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสังโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสังโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสังโฆ, ยทิท จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อัฏฐ ปริสปุคฺคลา เอส ภควโต 4 - ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา อรรถกถาสุคันธเถรคาถา, มก. เล่ม 50 หน้า 170. 2 ราชบัณฑิตยสถาน (2525), พจนานุกรม, (ฉบับอิเล็กทรอนิกส์). * ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย เปตวัตถุ, มก.เล่ม 49 หน้า 374. ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 19 หน้า 200. ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, อรรถกถาจุลลสีหนาทสูตร, มก. เล่ม 18 หน้า 15. พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 13 ข้อ 138 หน้า 318 5 สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 13 หน้า 436. 182 DOU บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เ จ้ า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More