การบวชแบบญัตติจตุตถกรรมวาจา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 201
หน้าที่ 201 / 270

สรุปเนื้อหา

ญัตติจตุตถกรรมวาจาเป็นวิธีการบวชโดยคณะสงฆ์ที่มีระเบียบการให้ผู้ที่มีคุณสมบัติได้รับการบวชเพื่อรักษาคุณภาพของพระภิกษุ โดยมีขั้นตอนการอุปสมบท 3 ขั้นตอน คือ บรรพชาเป็นสามเณร, ขออุปสมบท, และรับอนุศาสน์ ซึ่งเป็นการถือปฏิบัติที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน. อายุที่เหมาะสมในการบวชสามารถต่ำตั้งแต่ 5 ปี เหล่านี้ช่วยสร้างแนวทางในการดำรงชีวิตตามพระธรรมวินัย และลดโอกาสการเข้าใจผิดในศาสนา ปัจจุบันมีการรับสมัครที่ช่วยในกระบวนการคัดกรองพระภิกษุที่ต้องการบวช. เนื้อหายังมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการประพฤติปฏิบัติ และกิจที่ไม่เหมาะสมสำหรับพระภิกษุ.

หัวข้อประเด็น

-ญัตติจตุตถกรรมวาจา
-วิธีการบวช
-ขั้นตอนอุปสมบท
-การคัดกรองพระภิกษุ
-ระเบียบการบวช

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3) ญัตติจตุตถกรรมวาจา เป็นการบวชโดยคณะสงฆ์ หากเป็นชนบทที่หาพระภิกษุได้ยากก็ใช้ พระสงฆ์ 5 รูป รวมทั้งพระอุปัชฌาย์ หากเป็นเมืองหลวงซึ่งมีพระภิกษุอยู่มากต้องใช้พระภิกษุอย่างน้อย 10 รูป รวมทั้งพระอุปัชฌาย์ เหตุที่ต้องใช้พระภิกษุถึง 5 รูป หรือ 10 รูป ในการอุปสมบทนั้นก็เพื่อให้ช่วยกันพิจารณาให้รอบคอบ จะได้ไม่พลาดรับคนไม่ดีเข้าบวชอันจะเป็นเหตุให้พระศาสนาเสื่อมเสีย แต่ในปัจจุบันการคัดคนจะอยู่ใน ขั้นตอนการรับสมัครเพราะมีความสะดวกมากกว่า ญัตติจตุตถกรรมวาจาเป็นวิธีการอุปสมบทที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนติสรณคมนูปสัมปทา นั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ยกเลิกไป ผู้ได้รับการบวชแบบญัตติจตุตถกรรมวาจารูปแรกคือ ราชพราหมณ์ สำหรับการอุปสมบทด้วยวิธีนี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) บรรพชาเป็นสามเณร 2) ขอนิสัยและขออุปสมบท 3) รับอนุศาสน์ การขอนิสัย คือ การกล่าวคำข้อร้องต่อพระอุปัชฌาย์ เพื่อขอให้ท่านเป็นที่พึ่ง ที่อาศัยของตน ทำหน้าที่ปกครองอบรมสั่งสอนและให้การศึกษาต่อไป ขออุปสมบท คือ การกล่าวคำขออุปสมบทต่อคณะสงฆ์ เพื่อให้คณะสงฆ์รับตนเข้าหมู่ และยกตน ขึ้นเป็นพระภิกษุ อนุศาสน์ คือ คำสอนที่พระอุปัชฌาย์บอกแก่ภิกษุใหม่ในเวลาอุปสมบทเสร็จ ประกอบด้วยนิสสัย 4 และอกรณียกิจ 4 เพื่อให้ภิกษุใหม่ได้ทราบถึงสิ่งที่ทำได้และสิ่งที่ทำไม่ได้อย่างเด็ดขาดตามพระธรรมวินัย นิสสัย มาจากบทว่า นิสสย ในภาษาบาลี แปลว่า นิสัย ดังในอรรถกถาที่ว่า “นิสสยกรณีโย มีความว่า เราเป็นผู้มีการถือนิสัยเป็นกิจควรทำ อธิบายว่า นิสัยอันเราพึงทำ คือ พึงถือ นิสสัย คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยหลักของพระภิกษุ 4 อย่าง ได้แก่ เที่ยวบิณฑบาต นุ่งห่มผ้าบังสุกุล อยู่โคนไม้ และฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าคือน้ำปัสสาวะ อกรณียกิจ คือ กิจที่พระภิกษุทำไม่ได้เด็ดขาด ถ้าทำแล้วจะขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที ได้แก่ เสพเมถุน ลักทรัพย์ ฆ่ามนุษย์ และพูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน รายละเอียดการอุปสมบทแบบนี้ยังมีอีกมากแต่จะไม่กล่าวถึงในที่นี้ หัวใจหลักของการอุปสมบท วิธีนี้คือ ผู้ขออุปสมบทต้องได้รับความเห็นชอบจากพระสงฆ์ทุกรูปที่ให้การอุปสมบทหากมีรูปใดรูปหนึ่งคัดค้าน ก็ไม่อาจจะอุปสมบทได้ 7.5.3 อายุของผู้ควรบรรพชาและอุปสมบท ตอนที่พระโอรสราหุลได้บรรพชาเป็นสามเณรนั้นท่านมีพระชนม์ 7 พรรษา ผู้ที่มีอายุน้อยที่สุด และได้รับการบรรพชาตามที่บันทึกไว้ในอรรถกถาคือ พระปทุมเถระ ท่านบรรพชาขณะที่อายุได้ 5 ขวบ 2 3 สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยปิฎก มหาวรรค มก.เล่ม 6 หน้า 373. ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ มก. เล่ม 20 หน้า 272. วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน ปทุมเถราปทาน มก. เล่ม 71 หน้า 235 บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 191
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More