ข้อความต้นฉบับในหน้า
2.3.2 เพื่อประโยชน์สุขของตนเองและเพื่อนร่วมโลก
เป้าหมายการศึกษาพระพุทธศาสนาข้อนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากข้อที่หนึ่ง กล่าวคือ เมื่อศึกษาจน
รู้ความจริงของชีวิตและได้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องแล้ว ตนเองก็จะได้รับประโยชน์สุขต่าง ๆ อีกทั้งเพื่อน
ร่วมโลกก็จะได้รับประโยชน์สุขเหล่านั้นจากเราด้วย
ประโยชน์ตามคำสอนในพระพุทธศาสนามีอยู่ 3 ประการคือ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์คือ
ประโยชน์ในปัจจุบันชาติ สัมปรายิกัตถประโยชน์คือประโยชน์ในภพชาติหน้า และปรมัตถประโยชน์คือ
ประโยชน์สูงสุดในชีวิต
1) ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในปัจจุบันชาติ
เป็นการตั้งเป้าหมายชีวิตเพื่อประโยชน์คือความสุขความสำเร็จในชาตินี้ นั่นคือ ต้องสร้างตัว
สร้างฐานะให้มั่นคง ประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรมเพราะจะทำให้ชีวิตตกต่ำ จะเป็น
อาชีพอะไรก็ตามความถนัดของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ แพทย์ ครู พ่อค้า ชาวนา ชาวไร่ เมื่อตั้ง
เป้าหมายชีวิตแล้ว ก็มุ่งมั่นฝึกฝนตนเองสร้างตัวสร้างฐานะให้บรรลุเป้าหมายชีวิตให้ได้ โดยมีหลักการว่า
ต้องสร้างตัวสร้างฐานะไปพร้อมกับการสร้างศีลธรรมในตน? หากทำอย่างนี้ได้ตนก็จะเป็นสุขและประสบ
ความสำเร็จตามความสามารถของตน อีกทั้งการมีศีลธรรมจะทำให้เราไม่เป็นภัยแก่ใคร แต่จะเป็นต้นแบบ
ที่ดีและเป็นประโยชน์แก่สังคมในด้านต่างๆ อีกด้วย
2) สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในภพชาติหน้า
เป็นการตั้งเป้าหมายชีวิตเพื่อประโยชน์คือความสุขความสำเร็จในชาติหน้า เพราะพระพุทธศาสนา
สอนไว้อย่างชัดเจนว่า ตายแล้วไม่สูญ ตราบใดที่ยังไม่หมดกิเลสก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อย ๆ คำสอน
ในพระพุทธศาสนาระบุชัดว่า นรกสวรรค์มีจริง หากต้องการไปเกิดเสวยสุขบนสวรรค์ต้องสั่งสม “บุญ” ไว้
มาก ๆ มีการให้ทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา เป็นต้น ผู้ที่สั่งสมบุญไว้มากเมื่อได้กลับมาเกิดเป็น
มนุษย์อีก ก็จะสมบูรณ์พร้อมมาก ทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ และคุณสมบัติ เรียกว่า หล่อสวย รวย ฉลาด
สมปรารถนาในสิ่งต่าง ๆ เมื่อสมบูรณ์พร้อมแล้วก็จะสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้มากอีกด้วย และการสั่งสม
บุญมาก ๆ นี้ยังเป็นปัจจัยสำคัญให้บรรลุประโยชน์สูงสุดได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน
3) ปรมัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์สูงสุดในชีวิต
เป็นการตั้งเป้าหมายชีวิตเพื่อประโยชน์สูงสุดคือ การบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสอันเป็นต้นเหตุ
แห่งทุกข์นั่นคือการเป็นพระอรหันต์นั่นเอง แต่จะก้าวขึ้นสู่ภูมินี้ได้จะต้องสั่งสมบุญและเจริญสมาธิภาวนา
อย่างยิ่งยวด เพื่อให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในซึ่งเป็นสรณะที่ช่วยกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไปจากใจได้ เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส มก. เล่ม 67 ข้อ 122 หน้า 72.
16 DOU บ ท ที่ 2 ค ว า ม รู้ ทั่ ว ไ ป ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า