สัมมาทิฏฐิและบุญจากการให้ในพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 161
หน้าที่ 161 / 270

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงความสำคัญของสัมมาทิฏฐิในพระพุทธศาสนาเป็นองค์มรรคหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุญและขันธ์ การให้ทานที่มีผลในเชิงบวก โดยอธิบายถึง 10 ประการของสัมมาทิฏฐิ เช่น อานิสงส์จากการให้ทาน ได้บุญจากการสงเคราะห์ การเซ่นสรวงที่มีผล และกฎแห่งกรรมที่ทำดีได้ดี โดยเน้นคุณค่าของการให้แก่ผู้ขาดแคลนและพระสงฆ์ เพื่อความสุขและความเจริญในชีวิตรวมถึงหลักคำสอนสำคัญที่มาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

หัวข้อประเด็น

-สัมมาทิฏฐิ
-บุญจากการให้
-การสงเคราะห์
-กฎแห่งกรรม
-ศาสนาพุทธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์อย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่างหนึ่ง” คำว่า “สาสวะ” เป็นชื่อของกิเลส (1) โลกิยมรรคคือมรรคฝ่ายโลกิยะ สัมมาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นชอบ มี 10 ประการคือ “ทานที่ให้แล้วมีผล, ยัญที่บูชาแล้ว มีผล, การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วมีผล, ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี, โลกนี้มี, โลกหน้ามี, มารดา มีคุณ, บิดามีคุณ, สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี, สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้า ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก” สัมมาทิฏฐิทั้ง 10 ประการดังกล่าวได้อธิบายปูพื้นมาเป็นลำดับ ๆ แล้ว โดยเนื้อหาแทรก อยู่ในบทที่ 2, 3, 4 และ 5 ในที่นี้ถือเป็นการสรุปใจความโดยย่อดังนี้ -ทานที่ให้แล้วมีผล หมายถึง อานิสงส์ของการให้ทานมีจริง เช่น ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก และผู้ ให้จะได้กุศลผลบุญติดตัวไปซึ่งจะบันดาลความสุขความสำเร็จให้เกิดขึ้นอีกด้วย -ยัญที่บูชาแล้วมีผล คำว่า “ยัญ” ในที่นี้คือ การสงเคราะห์ด้วยการให้ทาน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สังคมสงเคราะห์ คือ ให้ทานแก่บุคคลทั่วไป และ ศาสนสงเคราะห์ คือ ให้ทานแก่นักบวช ได้แก่ ภิกษุ สามเณร การสงเคราะห์ต่างจากการให้ทานในข้อแรกคือ ทานในข้อแรกให้เพื่อแสดงน้ำใจไมตรีต่อกัน เช่น ให้ของขวัญวันเกิด เป็นต้น ส่วนการสงเคราะห์เป็นการช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลน เช่น คนประสบภัย ธรรมชาติต่าง ๆ หรือ ปกตินักบวชเป็นผู้ขาดแคลนปัจจัย 4 เพราะท่านไม่ได้ทำมาหากินอย่างคนทั่วไป หาก ไม่ให้ทานแก่ท่าน ๆ ก็ไม่อาจดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตได้ การสงเคราะห์ด้วยการให้ทานนี้ก็มีผลคือได้บุญโดยเฉพาะการสงเคราะห์แก่นักบวชผู้มีศีล จะส่งผลให้ผู้ทำการสงเคราะห์ได้บุญมาก บุญนี้จะทำให้ถึงพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นต้น -การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วมีผล คำว่า “เซ่นสรวง” ในที่นี้หมายถึง การบูชา ได้แก่ การ บูชาบุคคลหรือสิ่งของที่ควรบูชา เช่น พระรัตนตรัย เป็นต้น การบูชาโดยเฉพาะการบูชาพระรัตนตรัยนี้มี ผลคือ ได้บุญกุศลที่จะทำให้ผู้บูชามีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป -ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี หมายถึง กฎแห่งกรรมมีจริง ทำดีได้ดีจริง ทำชั่วได้ ชั่วจริง การกระทำมีผล ไม่สูญเปล่า 3 5 -โลกนี้มี หมายถึง โลกนี้มีสำหรับคนที่อยู่โลกอื่น” หมายความว่า การที่มนุษย์แต่ละคนมา 1 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ มก., เล่ม 22 ข้อ 256 หน้า 342. - พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มหาจัตตารีสกสูตร, มจร., เล่ม 14 ข้อ 136 หน้า 176. *พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว) (2551), ศรัทธารุ่งอรุณแห่งสันติภาพโลก, หน้า 82-85 อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี อรรถกถานิกเขปกัณฑ์ มก., เล่ม 76 หน้า 473. *สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, อรรถกถาสามัญญผลสูตร, มก., เล่ม 11 หน้า 387. บ ท ที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 151
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More