พระสงฆ์: สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 189
หน้าที่ 189 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงประเภทของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาแบ่งเป็นพระอริยสงฆ์และพระสมมติสงฆ์ รวมถึงคุณสมบัติของพระอริยสงฆ์ 9 ประการ และความสำคัญของพระสมมติสงฆ์ในการรักษาพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังพูดถึงวิธีการบวชทั้งบรรพชาและอุปสมบท รวมถึงหลักอปริหานิยธรรมที่สำคัญในการบริหารองค์กรสงฆ์ซึ่งทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาเป็นเวลานานกว่า 2,500 ปี รวมถึงวันสำคัญสำหรับพระสงฆ์ เช่น วันพระ และวันสำคัญต่างๆ ตามพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-ประเภทพระสงฆ์
-คุณสมบัติพระอริยสงฆ์
-ความสำคัญของพระสมมติสงฆ์
-การบวชในพระพุทธศาสนา
-หลักอปริหานิยธรรม
-วันสำคัญของพระสงฆ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. พระสงฆ์ คือ สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ พระอริยสงฆ์ ได้แก่ พระโสดาบัน - พระอรหันต์ และ พระสมมติสงฆ์ ได้แก่ พระภิกษุปุถุชนทั่วไป 2. พระอริยสงฆ์มีคุณ 9 ประการคือ ปฏิบัติตามทางสายกลาง, ปฏิบัติตรงต่อพระนิพพาน, ปฏิบัติ เพื่อออกจากภพ 3, ปฏิบัติอย่างดีเลิศ, เป็นผู้ควรเคารพสักการะ, เป็นผู้ควรต้อนรับ, เป็นผู้ควรรับของที่ เขาทำบุญ, สมควรกราบไหว้ และเป็นเนื้อนาบุญที่เลิศที่สุด 3.พระสมมติสงฆ์มีความสำคัญในการรักษาพระพุทธศาสนาในปัจจุบันเพราะยุคนี้หาพระอริยสงฆ์ ได้ยาก และพระสมมติสงฆ์ทั้งหลายคือผู้ที่จะเป็นพระอริยสงฆ์ในอนาคต โดยจะต้องสร้างบารมีตามแบบ อย่างพระอริยสงฆ์ในอดีต 4. การบวชในพระพุทธศาสนามี 2 ประเภท ได้แก่ บรรพชา คือ บวชเป็นสามเณร และ อุปสมบท คือ บวชเป็นพระภิกษุ แต่ทั้งนี้การอุปสมบทจะต้องผ่านการบรรพชามาก่อน วิธีการบรรพชา ได้แก่ การขอถึงไตรสรณคมน์ คือ ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง วิธีการอุปสมบทหลัก ๆ มี 3 วิธีแต่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ญัตติจตุตถกรรมวาจา คือการบวช โดยการอนุมัติของคณะสงฆ์ พระพุทธองค์บัญญัติเกณฑ์การคัดคนเข้ามาบวชไว้อย่างละเอียด เพื่อให้ได้คนที่มีคุณภาพมาเป็น อายุพระศาสนา โดยย่อคือต้องพร้อมทั้งเพศภาวะ, อายุ, บุคลิกภาพและความประพฤติ ผู้บวชเป็น สามเณรจะต้องถือศีล 10 ส่วนพระภิกษุต้องถือศีล 227 ข้อ ศีลนี้เป็นฐานในการปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระ รัตนตรัยในตัวอันเป็นอานิสงส์สูงสุดของการบวช 5. หลักอปริหานิยธรรมเป็นธรรมสำคัญในการบริหารองค์กรสงฆ์ ทำให้องค์กรสงฆ์เจริญรุ่งเรือง สืบมาได้กว่า 2,500 ปี 6. วันสำคัญของพระสงฆ์ ได้แก่ วันพระ วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออก พรรษา วันทอดกฐิน เป็นต้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเรื่องพระสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 2. สามารถนำความรู้มาสร้างบารมีและดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความสำเร็จได้ 3. สามารถอธิบายถึงลักษณะของความรู้ที่สมบูรณ์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 179
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More